ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • กฤษณะ พิมพ์ไทย โรงพยาบาลบ้านแหลม อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี 76110

คำสำคัญ:

การดำเนินงานป้องกันโรค , แบบจำลองการวางแผนส่งเสริมสุขภาพ, โรคไข้เลือดออก, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับปัจจัยนำ ระดับปัจจัยเอื้อ และระดับปัจจัยเสริมหรือปัจจัยสนับสนุน 2) ระดับการดำเนินงานป้องกันโรคไข้เลือดออก และ 3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) กลุ่มตัวอย่าง 208 คน สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม ตรวจสอบเครื่องมือด้วยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติถดถอยพหุคูณแบบหลายขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า ความรู้ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี มีทัศนคติอยู่ในระดับปรับปรุง ปัจจัยเอื้อด้านความพอเพียงของทรัพยากร อยู่ในระดับต้องปรับปรุง และด้านทักษะในการใช้ทรัพยากร อยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยเสริมหรือปัจจัยสนับสนุนด้านแรงสนับสนุนทางสังคม และแรงจูงใจ อยู่ในระดับต้องปรับปรุง การดำเนินงานการป้องกันโรคไข้เลือดออกของ อสม. ในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานป้องกันโรคไข้เลือดออก พบว่า แรงจูงใจ ทักษะในการใช้ทรัพยากร การได้รับการอบรมหรือประชุม (บางครั้ง) การไม่เคยได้รับการอบรมหรือประชุม และแรงสนับสนุนทางสังคม สามารถอธิบายการผันแปรของการดำเนินงานป้องกันโรคไข้เลือดออกของ อสม. ได้ร้อยละ 59.0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.01) ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขควรนำแบบจำลองการวางแผนส่งเสริมสุขภาพมาประยุกต์ใช้โดยสร้างแรงจูงใจ และแรงสนับสนุนทางสังคมให้กับ อสม. เพื่อการดำเนินงานป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ พยาบาลชุมชนควรเสริมทักษะการใช้ทรัพยากร และจัดโปรแกรมการอบรมให้กับ อสม. เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานพยากรณ์โรคไข้เลือดออก ปี 2565. นนทบุรี, กระทรวงสาธารณสุข. 2565.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบ้านแหลม. ทะเบียนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอำเภอบ้านแหลม.เพชรบุรี, สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบ้านแหลม. 2566.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. คู่มือ อสม. ยุคใหม่. กรุงเทพฯ, โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. 2564.

สิทธิพร ศิริไพรวัน. ถอดบทเรียน DHS South การขับเคลื่อนระบบสุขภาพระดับอำเภอประเด็นโรคไข้เลือดออก. สงขลา, มูลนิธิสุขภาพภาคใต้. 2560.

เชิดศักดิ์ ปรุงคำมา. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก บ้านลิ้นฟ้า หมู่ที่ 8 ตำบลแคนเหนือ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น. [วิทยานิพนธ์] ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2555.

Green L, and Kreuter M. Health program planning: An educational and ecological approach. 4th ed. New York, McGraw Hill. 2005.

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 ราชบุรี. รายงานโรคติดต่อ. ราชบุรี, สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 ราชบุรี. 2565.

อัมพร เจริญชัย, เปรื่องจิตร ฆารรัศมี, และอรสา กงตาล. การพยาบาลชุมชน 1. ขอนแก่น, โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา. 2551.

Bloom BS. What we are learning about teaching and learning: A summary of recent research. Principal. 1986; 66(2): 6-10.

Best JW. Research in education. 3rd ed. New Jersey, Prentice Hall Inc. 1977.

ไกรศิลป์ ศิริวิบูรณ์, และศิริรัตน์ กัญจา. การศึกษาระดับความรู้ การรับรู้ และพฤติกรรมการดำเนินงานควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. วารสารโรงพยาบาลแพร่. 2564; 29(1): 129-38.

สุรพล สิริปิยานนท์. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. 2563; 4(8): 85-103.

สุทธี พลรักษา. การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลวังม่วง อำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน. 2564; 3(1): 101-12.

อติเทพ จินดา. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดพังงา. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2560; 31(3): 555-68.

พนม นพพันธ์, และธรรมศักดิ์ สายแก้ว. การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเขตเทศบาลตำบลบางปรอก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. วารสารสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 2559; 1(1): 39-62.

ประเทือง ฉ่ำน้อย. การศึกษาระดับการความรู้ การรับรู้ และพฤติกรรมการดำเนินงานควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุข กรณีศึกษา: อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร. [รายงานวิจัย]. นครสวรรค์, สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์. 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

23-02-2024