Publication ethics

บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Duties of Authors)

1. ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าบทความที่ส่งมานั้นเป็นผลงานใหม่และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
2. เนื้อหาของบทความจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวารสาร
3. ผู้นิพนธ์ต้องนำเสนอผลงานตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัย ไม่บิดเบือนข้อมูล และต้องไม่คัดลอกผลงานของบุคคลอื่น หรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
4. ผู้นิพนธ์ต้องเขียนบทความตามรูปแบบที่วารสารกำหนดไว้ใน “ข้อแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์”
5. ผู้นิพนธ์ที่มีชื่อปรากฏในบทความ ต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง
6. ผู้นิพนธ์ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น กรณีที่มีการนำมาใช้ในผลงานของตน รวมทั้งจัดทำรายการอ้างอิงท้ายบทความ
7. ผู้นิพนธ์ต้องตรวจสอบความถูกต้องของรายการเอกสารอ้างอิง ทั้งในแง่ของรูปแบบและเนื้อหา
8. ผู้นิพนธ์ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัย (หากมี) จะต้องระบุในบทความ และแจ้งให้บรรณาธิการทราบ
9. บทความของผู้นิพนธ์ จะต้องมีค่าดัชนีความคล้ายคลึง (Similarity index) ไม่เกิน 20% จากระบบการตรวจการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (Plagiarism) ที่ ThaiJo ใช้
10. ผู้นิพนธ์ที่ได้รับข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไข หลังจากการประเมินบทความแล้ว แต่ไม่ได้ปรับปรุงแก้ไขกลับ กองบรรณาธิการอาจจะไม่พิจารณารับดำเนินการเพื่อเผยแพร่บทความ สำหรับการส่งบทความในครั้งต่อไป


 บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมิน (Duties of Reviewers)

1. ผู้ประเมินบทความ ต้องรักษาความลับ โดยไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดของบทความที่อ่านต่อบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
2. ผู้ประเมินควรปฏิเสธการประเมินบทความที่ตนเองอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ เช่น เป็นผู้เข้าร่วมโครงการ รู้จักผู้นิพนธ์เป็นการส่วนตัว หรือเหตุผลอื่น ๆ ที่ทำให้ไม่สามารถให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอย่างอิสระได้ ควรแจ้งให้บรรณาธิการวารสารทราบเพื่อเปลี่ยนผู้ประเมิน
3. ผู้ประเมินบทความ ควรประเมินบทความในสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ ให้ข้อเสนอแนะตามหลักการทางวิชาการ ไม่ใช้ความคิดเห็นส่วนตัวที่ไม่มีข้อมูลรองรับมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินบทความ
4. หากผู้ประเมินพบความซ้ำซ้อนของบทความที่กำลังพิจารณา กับบทความแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ผู้ประเมินต้องแจ้งให้ บรรณาธิการของวารสารทราบทันที


บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการ (Duties of Editors)

1. บรรณาธิการวารสารมีหน้าที่พิจารณาคุณภาพของบทความ และคัดเลือกบทความที่เหมาะสมเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร และไม่รับตีพิมพ์บทความที่เคยตีพิมพ์ที่อื่นมาแล้ว
2. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง ในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
3. บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยที่มีระเบียบวิธีวิจัยที่ถูกต้อง มีความน่าเชื่อถือ มีความสำคัญ ความใหม่ ความชัดเจน และความสอดคล้องของเนื้อหากับนโยบายของวารสารเป็นสำคัญ
4. บรรณาธิการต้องไม่ปฏิเสธการตีพิมพ์บทความเพราะความสงสัยหรือไม่แน่ใจ แต่ต้องตรวจสอบหาหลักฐานให้แน่ชัดก่อน และแจ้งให้ผู้นิพนธ์ชี้แจงก่อนปฏิเสธบทความนั้น
5. บรรณาธิการต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์และผู้ประเมิน
6. หากตรวจพบการคัดลอกผลงานของผู้อื่น ในกระบวนการประเมินบทความ บรรณาธิการจะหยุดกระบวนการประเมินบทความนั้นและติดต่อผู้นิพนธ์ทันที เพื่อขอคำชี้แจงประกอบการพิจารณา “ตอบรับ” หรือ “ปฏิเสธ” การตีพิมพ์บทความนั้นๆ ซึ่งบรรณาธิการสามารถดำเนินการถอนบทความได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้เขียน ซึ่งถือเป็นสิทธิและความรับผิดชอบต่อบทความของบรรณาธิการ