เกี่ยวกับวารสาร



วารสารการศึกษาและวิจัยการสาธารณสุข
             วารสารการศึกษาและวิจัยการสาธารณสุข (Journal of Education and Research in Public Health : JERPH) หมายถึง การศึกษาทางสาธารณสุขและการวิจัยทางสาธารณสุข เป็นวารสารที่มีการเผยแพร่ความรู้จากการศึกษา ค้นคว้า วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ผ่านบทความประเภทต่างๆ สู่สาธารณะในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-journal) โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญสาขาที่เกี่ยวข้องประเมินบทความจำนวน 3 ท่าน/บทความ แบบปกปิด 2 ทาง (Double blind)

ISSN : 2985-0126 (Online)

กำหนดการออก : ราย 4 เดือน ออกปีละ 3 ฉบับ
                              ฉบับที่ 1 ประจำเดือน มกราคม - เมษายน 
                              ฉบับที่ 2 ประจำเดือน พฤษภาคม - สิงหาคม 
                              ฉบับที่ 3 ประจำเดือน กันยายน - ธันวาคม

การตีพิมพ์เผยแพร่ :
                             เผยแพร่ฉบับละ 5 - 7 บทความ

ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ : ไม่ได้มีการเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ใดๆ ในทุกขั้นตอน
                                            (วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา สนับสนุนงบประมาณดำเนินงานจัดทำวารสาร และได้รับความอนุเคราะห์จากคณะผู้ประเมินบทความ โดยไม่มีค่าตอบแทน)

*วารสารนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการเพื่อประเมินเข้าสู่ฐานข้อมูลดัชนีวารสารไทย (TCI)*


ขอบเขตการตีพิมพ์

            วารสารการศึกษาและวิจัยการสาธารณสุข มีนโยบายรับตีพิมพ์บทความด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม สังคมศาสตร์ (Education, Health) (ตามสาขาวิชาสำหรับวารสารในฐานข้อมูล TCI)  


นโยบายการตีพิมพ์

            วารสารการศึกษาและวิจัยการสาธารณสุข เป็นวารสารราย 4 เดือน ออกปีละ 3 ฉบับ (ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม - เมษายน ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม ฉบับที่ 3 ประจำเดือนกันยายน - ธันวาคม) จัดทำโดยวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา มีจุดมุ่งหมายในการตีพิมพ์และเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ในรูปแบบบทความภาษาไทย ทั้งจากภายในและภายนอกวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา โดยดำเนินการจัดทำและเผยแพร่เป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Online) หมายเลข ISSN : 2985-0126 (Online) จึงได้มีนโยบายในการจัดการวารสารการศึกษาและวิจัยการสาธารณสุข ดังนี้

        1. บทความที่จัดพิมพ์ในวารสารการศึกษาและวิจัยการสาธารณสุขได้รับการพิจารณากลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญสาขาที่เกี่ยวข้องประเมินบทความจำนวน 3 ท่าน/บทความ แบบปกปิด 2 ทาง (Double blind)
               บทความ
                     ภายในวิทยาลัย : ประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานภายนอก
                     หน่วยงานภายนอก : ประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องจากภายในวิทยาลัยฯ และ/หรือหน่วยงานภายนอก
       2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นบทความจากทั้งบุคลากรภายในและบุคลากรภายนอกวิทยาลัยฯ ที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารฉบับอื่นๆ หากตรวจสอบพบว่ามีการจัดพิมพ์ซ้ำซ้อนถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์แต่เพียงผู้เดียว
       3. บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางประกอบที่ลงพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้นิพนธ์ กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นตามเสมอไป และไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เพียงผู้เดียว
       4. บทความที่ตีพิมพ์ลงในวารสารจะต้องมีรูปแบบตามที่วารสารกำหนดเท่านั้น


ประเภทของบทความที่ตีพิมพ์

  1. บทความวิจัย (Research article) เป็นบทความทั้งวิจัยพื้นฐานและวิจัยประยุกต์
  2. บทความวิชาการ (Academic article) เป็นบทความที่วิเคราะห์ประเด็นตามหลักวิชาการ โดยมีการทบทวนวรรณกรรมและวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ
  3. บทบรรณาธิการ (Editorial)
  4. บทความปริทัศน์ (Review article) เป็นบทความที่รวบรวมความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งจากวารสารหรือหนังสือต่างๆ นำมาเรียบเรียง วิเคราะห์ วิจารณ์ให้เกิดความกระจ่างมากในประเด็นนั้นๆมากยิ่งขึ้น
  5. บทความพิเศษ (Special article) เป็นบทความที่แสดงข้อคิดเห็นเกี่ยวโยงกับเหตุการณ์ปัจจุบันที่อยู่ในความสนใจเป็นพิเศษ หรือเป็นบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นๆ
  6. รายงานเบื้องต้น (Short report or pilot study) เป็นการนำเสนอรายงานผลการศึกษาวิจัยที่ทำเสร็จยังไม่สมบูรณ์และต้องศึกษาต่อเพื่อเก็บข้อมูลเพิ่มเติมหรือเป็นการศึกษาเบื้องต้นที่ผลการศึกษาไม่พบความสัมพันธ์ในสิ่งที่ศึกษามีลำดับเนื้อเรื่องเหมือนนิพนธ์ต้นฉบับ
  7. กรณีศึกษา (Case study) เป็นการศึกษาสถานการณ์ที่น่าสนใจและมีผลกระทบกับสุขภาพ หรือเป็นการนำเสนอผู้ป่วยที่ไม่ธรรมดาหรือกลุ่มอาการโรคใหม่ที่ไม่เคยมีรายงานมาก่อน หรือพบไม่บ่อย

ภาษาที่รับตีพิมพ์บทความ

ภาษาไทย