คำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์

หลักเกณฑ์และคำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์ (Instructions for the Authors)

  • วารสารการศึกษาและวิจัยการสาธารณสุข (Journal of Education and Research in Public Health) กำหนดตีพิมพ์ปีละ 3 ฉบับ (ฉบับที่ 1 : มกราคม - เมษายน ฉบับที่ 2 : พฤษภาคม – สิงหาคม ฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคม)
  • วารสารพิจารณาตีพิมพ์บทความประเภทนิพนธ์ต้นฉบับ (Research article) โดยต้องเป็นงานที่ไม่เคยถูกนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่นใดมาก่อนและไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาลงในวารสารใด ๆ
  • กองบรรณาธิการจะพิจารณาต้นฉบับ (Manuscript) ตามข้อกำหนดของรูปแบบวารสาร และส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Reviewers) ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องจากภายในและ/หรือภายนอกวิทยาลัยฯ จำนวน 3 ท่านต่อบทความ

ข้อกำหนดในการเตรียมต้นฉบับ

  • ให้ใช้รูปแบบเทมเพลตของวารสาร
  • ให้ผู้นิพนธ์ส่งไฟล์เอกสาร ดังนี้
     1. ไฟล์ชื่อเรื่องและข้อมูลผู้วิจัย
     2. ไฟล์เนื้อหา (ต้องไม่มีข้อมูลใดๆ เกี่ยวกับผู้วิจัยและข้อมูลต้นสังกัด)
     3. ไฟล์แบบยินยอมให้เผยแพร่บทความ (ส่งแบบฟอร์มนี้ เฉพาะบทความวิจัยที่มีนักวิจัยมากกว่า 1 คน)

    *ในกรณีที่ Submit ไฟล์เอกสารเข้าสู่ระบบ ThaiJo ให้เลือกไฟล์บทความเป็นประเภท "ไฟล์บทความหรือเอกสารข้อความ/Article Text" ไฟล์นอกเหนือจากนี้ให้เลือกเป็นประเภท "Other" ทั้งหมด*มด*

การเรียงลำดับเนื้อหานิพนธ์ต้นฉบับ
** สำหรับไฟล์ชื่อเรื่องและข้อมูลผู้นิพนธ์ **
ชื่อเรื่อง (Title)
    - ชื่อเรื่องภาษาไทย TH SarabunPSK ขนาด 16 pt. ตัวหนา จัดกึ่งกลาง
    - ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ TH SarabunPSK ขนาด 16 pt. ตัวหนา จัดกึ่งกลาง โดยชื่อบทความภาษาอังกฤษ อักษรตัวแรกของแต่ละคำใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ (ยกเว้น article, prep., conj. ใช้ตัวพิมพ์เล็ก)

ชื่อผู้เขียน (Authors)
     - ชื่อผู้เขียน (ทุกคน) ภาษาไทย - ภาษาอังกฤษ TH SarabunPSK ขนาด 14 pt. ตัวหนา จัดกึ่งกลาง
     - หน่วยงาน/สังกัด อำเภอ จังหวัด รหัสไปรษณีย์ ของผู้นิพนธ์ ภาษาไทย - ภาษาอังกฤษ TH SarabunPSK ขนาด 14 pt. ตัวหนา จัดชิดซ้าย(ให้ใช้คำว่า และ หรือ and ก่อนชื่อผู้เขียนคนสุดท้าย)
     - E-mail address ของผู้นิพนธ์หลัก (Corresponding author E-mail) TH SarabunPSK ขนาด 14 pt. ตัวหนา จัดชิดซ้าย

กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี)
     - สำหรับผู้ช่วยเหลืองานวิจัย (แต่มิได้เป็นผู้ร่วมวิจัย) TH SarabunPSK 15 pt. ปกติ

แหล่งสนับสนุนทุนวิจัย
     - ระบุแหล่งสนับสนุนทุนวิจัย โดยไม่ต้องระบุจำนวนเงิน TH SarabunPSK 15 pt. ปกติ

จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
     - ประเด็นจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์(ระบุเลขที่อ้างอิง) TH SarabunPSK 15 pt. ปกติ

** สำหรับไฟล์เนื้อหาบทความวิจัย **
ชื่อเรื่อง (Title)
    - ชื่อเรื่องภาษาไทย TH SarabunPSK ขนาด 16 pt. ตัวหนา จัดกึ่งกลาง
    - ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ TH SarabunPSK ขนาด 16 pt. ตัวหนา จัดกึ่งกลาง โดยชื่อบทความภาษาอังกฤษ อักษรตัวแรกของแต่ละคำใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ (ยกเว้น article, prep., conj. ใช้ตัวพิมพ์เล็ก)

บทคัดย่อ (Abstract)
     - หัวข้อ "บทคัดย่อ" และ "Abstract" TH SarabunPSK ขนาด 15 pt. ตัวหนา จัดกึ่งกลาง ส่วนข้อความบทคัดย่อภาษาไทย - ภาษาอังกฤษ TH SarabunPSK ขนาด 15 pt. ปกติ กำหนดชิดขอบ ความยาวภาษาไทย ไม่เกิน 300 คำ ความยาวภาษาอังกฤษไม่เกิน 250 คำ เขียนให้ครอบคลุมสาระสำคัญ คือ ความเป็นมาของงานวิจัย วัตถุประสงค์ วิธีการดำเนินการวิจัย ผลการศึกษา สรุปและอภิปรายผลการวิจัย

คำสำคัญ (Keyword)
     - หัวข้อคำสำคัญให้พิมพ์ต่อท้ายบทคัดย่อ (Abstract) TH SarabunPSK ขนาด 15 pt. ตัวหนา ส่วนข้อความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เรียงตามลำดับความสำคัญและไม่เกิน 5 คำ TH SarabunPSK ขนาด 15 pt. ปกติ

บทนำ (Introduction)
    - หัวข้อบทนำ TH SarabunPSK ขนาด 15 pt. ตัวหนา ส่วนการเขียนบทนำให้แสดงความสำคัญของปัญหา [1] เหตุผลในการทำวิจัยและระบุวัตถุประสงค์ของการวิจัยในส่วนท้ายของบทนำ [2] TH SarabunPSK ขนาด 15 pt. ปกติ
    - การเขียนคำภาษาอังกฤษในเนื้อหา คำเดี่ยวใช้ตัวพิมพ์ใหญ่อักษรแรก เช่น Love ส่วนกลุ่มคำภาษาอักษร เฉพาะอักษรตัวแรกของคำแรกเป็นอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ เช่น Content validity

วิธีดำเนินการวิจัย (Methods)
1. รูปแบบการวิจัย  อักษร TH SarabunPSK 15 pt. ปกติ

2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง หัวข้ออักษร TH SarabunPSK 15 pt. เอียง ส่วนเนื้อหา TH SarabunPSK 15 pt. ปกติ
     ประชากร อักษร TH SarabunPSK 15 pt. ปกติ
     กลุ่มตัวอย่าง (ขนาดกลุ่มตัวอย่าง การสุ่มตัวอย่าง การเข้าถึงกลุ่มตัวอย่าง) อักษร TH SarabunPSK 15 pt. ปกติ
     เกณฑ์การคัดเข้า อักษร TH SarabunPSK 15 pt. ปกติ
     เกณฑ์การคัดออก อักษร TH SarabunPSK 15 pt. ปกติ

3. เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล หัวข้ออักษร TH SarabunPSK 15 pt. เอียง ส่วนเนื้อหา TH SarabunPSK 15 pt. ปกติ

4. การรวบรวมข้อมูล หัวข้ออักษร TH SarabunPSK 15 pt. เอียง ส่วนเนื้อหา TH SarabunPSK 15 pt. ปกติ

5. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล หัวข้ออักษร TH SarabunPSK 15 pt. เอียง ส่วนเนื้อหา TH SarabunPSK 15 pt. ปกติ

ผลการการศึกษา (Results)
     - หัวข้อผลการวิจัย TH SarabunPSK ขนาด 15 pt. ตัวหนา ส่วนเนื้อหาให้นำเสนอผลการวิจัยเรียงตามลำดับให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามลำดับ ถ้ามีการนำเสนอในรูปแบบตาราง กราฟ หรือรูปภาพ ควรมีการอธิบายผลที่สอดคล้องกัน ตาราง กราฟ และรูปภาพรวมกันไม่เกิน 10 ตาราง/กราฟ/รูปภาพ TH SarabunPSK 15 pt. ปกติ

การนำเสนอผลการศึกษาที่เป็นตัวเลขและสัญลักษณ์ที่ใช้บ่อย
     - ร้อยละ ใช้ ทศนิยม 1 ตำแหน่ง เช่น ร้อยละ 8.7
     - ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ากลาง ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน และค่าตัวเลขต่อเนื่องอื่นๆ ใช้ ทศนิยม 2 ตำแหน่ง เช่น 6.43
     - p-value อักษร ใช้เป็นอักษรเอียง เช่น p ใช้ทศนิยม 2 หรือ 3 ตำแหน่ง และมีตัวเลขก่อนทศนิยม เช่น p-value < 0.001, p-value < 0.01, p-value < 0.05 เป็นต้น
     - จำนวนประชากร ใช้ N
     - จำนวน/ขนาดตัวอย่างใช้ n
     - ค่าเฉลี่ย ใช้สัญลักษณ์
     - ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้ S.D.
     - ไคสแควร์ ใช้สัญลักษณ์   
     - ความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน ใช้ S.E.
     - ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวแปรอิสระ ใช้ Beta หรือสัญลักษณ์ β (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง)

อภิปราย (Discussion)
     - หัวข้ออภิปราย TH SarabunPSK ขนาด 15 pt. ตัวหนา ส่วนเนื้อหาการเขียนอภิปรายผลควรมุ่งไปที่ประเด็นสำคัญๆ ของผลการวิจัย[3] TH SarabunPSK ขนาด 15 pt. ปกติ

สรุป (Conclusion)
     - หัวข้อสรุป TH SarabunPSK ขนาด 15 pt. ตัวหนา ส่วนเนื้อหาให้เขียนสรุปผลผลการวิจัย TH SarabunPSK ขนาด 15 pt. ปกติ

ข้อเสนอแนะ 
     - หัวข้อเสนอแนะ TH SarabunPSK ขนาด 15 pt. ตัวหนา ส่วนเนื้อหาข้อเสนอแนะเพื่อการศึกษาครั้งต่อไป เพื่อการนำผลไปใช้ หรือข้อเสนอเชิงนโยบาย TH SarabunPSK 15 pt. ปกติ 

เอกสารอ้างอิง (References)
     - หัวข้อเอกสารอ้างอิง TH SarabunPSK ขนาด 15 pt. ตัวหนา ส่วนเนื้อหาให้ใช้ระบบตัวเลขตามลำดับการอ้างอิง อักษร TH SarabunPSK ขนาด 15 pt. ปกติ ส่วนการอ้างอิงในเนื้อหา จะเป็นตัวเลขอยู่ในเครื่องหมาย [3] ตามลำดับของการอ้างอิง [1, 2] และอยู่ในบรรทัดเดียวกันกับเนื้อหา (ดังตัวอย่างในส่วนของบทนำ และอภิปราย)                             

** สำหรับไฟล์เนื้อหาบทความวิชาการ **
ชื่อเรื่อง (Title)
    - ชื่อเรื่องภาษาไทย TH SarabunPSK ขนาด 16 pt. ตัวหนา จัดกึ่งกลาง
    - ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ TH SarabunPSK ขนาด 16 pt. ตัวหนา จัดกึ่งกลาง โดยชื่อบทความภาษาอังกฤษ อักษรตัวแรกของแต่ละคำใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ (ยกเว้น article, prep., conj. ใช้ตัวพิมพ์เล็ก)

บทคัดย่อ (Abstract)
     - หัวข้อ "บทคัดย่อ" และ "Abstract" TH SarabunPSK ขนาด 15 pt. ตัวหนา จัดกึ่งกลาง ส่วนข้อความบทคัดย่อภาษาไทย - ภาษาอังกฤษ TH SarabunPSK ขนาด 15 pt. ปกติ กำหนดชิดขอบ ความยาวภาษาไทย ไม่เกิน 300 คำ ความยาวภาษาอังกฤษไม่เกิน 250 คำ เขียนให้ครอบคลุมสาระสำคัญ คือ ความเป็นมาของงานวิจัย วัตถุประสงค์ วิธีการดำเนินการวิจัย ผลการศึกษา สรุปและอภิปรายผลการวิจัย

คำสำคัญ (Keyword)
     - หัวข้อคำสำคัญให้พิมพ์ต่อท้ายบทคัดย่อ (Abstract) TH SarabunPSK ขนาด 15 pt. ตัวหนา ส่วนข้อความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เรียงตามลำดับความสำคัญและไม่เกิน 5 คำ TH SarabunPSK ขนาด 15 pt. ปกติ

บทนำ (Introduction)
     - หัวข้อบทนำ TH SarabunPSK ขนาด 15 pt. ตัวหนา ในการเขียนบทนำควรมีความเป็นมา ภูมิหลัง หรือความสำคัญของเรื่องที่จะเขียน [1] ควรมีวัตถุประสงค์ในการเขียนบทความว่าต้องการนำเสนอขอบเขตเนื้อหาหรือเรื่องอะไรบ้าง [2] TH SarabunPSK 15 pt. ปกติ
     - การเขียนคำภาษาอังกฤษในเนื้อหา คำเดี่ยวใช้ตัวพิมพ์ใหญ่อักษรแรก เช่น Love ส่วนกลุ่มคำภาษาอักษร เฉพาะอักษรตัวแรกของคำแรกเป็นอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ เช่น Content validity

เนื้อเรื่อง (ระบุหัวข้อตามประเด็นที่ต้องการนำเสนอโดยจัดลำดับ เรียบเรียงเนื้อหา พร้อมทั้งวิเคราะห์/วิพากษ์/วิจารณ์ตามหลักวิชาการ)
     - ควรนำเสนอตามประเด็นที่ต้องการนำเสนอโดยจัดลำดับ เรียบเรียงเนื้อหา พร้อมทั้งวิเคราะห์/วิพากษ์/วิจารณ์ตามหลักวิชาการ อาจจัดทำตารางหรือมีภาพประกอบก็ได้ (ตาราง กราฟ และรูปภาพรวมกันไม่เกิน 10 ตาราง/กราฟ/รูปภาพ) TH SarabunPSK 15 pt. ปกติ

สรุป (Conclusion)
     - สรุปใจความสำคัญของเนื้อหาที่นำเสนอ และให้ข้อเสนอแนะเพื่อการใช้ประโยชน์ ใช้อักษร TH SarabunPSK 15 pt. ปกติ

เอกสารอ้างอิง (References)
     - หัวข้อเอกสารอ้างอิง TH SarabunPSK ขนาด 15 pt. ตัวหนา ส่วนเนื้อหาให้ใช้ระบบตัวเลขตามลำดับการอ้างอิง อักษร TH SarabunPSK ขนาด 15 pt. ปกติ ส่วนการอ้างอิงในเนื้อหา จะเป็นตัวเลขอยู่ในเครื่องหมาย [3] ตามลำดับของการอ้างอิง [1, 2] และอยู่ในบรรทัดเดียวกันกับเนื้อหา (ดังตัวอย่างในส่วนของบทนำ และอภิปราย)     

 

ตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิง
ผู้เขียนหนังสือ/ผู้วิจัย/ชื่อวารสาร

1. ผู้เขียนหรือผู้วิจัย มากกว่า 1 คน แต่ละคน ใช้เครื่องหมายจุลภาค (,) คั่น โดยให้ใช้คำว่า และ หรือ and
ก่อนชื่อผู้เขียนคนสุดท้าย
    1.1 บทความภาษาไทยให้เขียน: ชื่อ นามสกุล, ชื่อ นามสกุล, … เช่น สาวิตรี วิษณุโยธิน, ปฐมทรรศน์ ศรีสุข, …
    1.2 บทความภาษาอังกฤษให้เขียน: นามสกุล อักษรย่อชื่อต้น อักษรย่อชื่อกลาง (ถ้ามี), นามสกุล อักษรย่อชื่อต้น อักษรย่อชื่อกลาง (ถ้ามี), ... เช่น Vitsanuyothin S, Srisuk P, Somagutta MR, ...

2. กรณีผู้เขียนหรือผู้วิจัยมากกว่า 6 คน ให้เขียนชื่อ 6 คนแรก กรณีรายการอ้างอิง
     2.1 ภาษาไทยระบุ “, และคนอื่นๆ.”
     2.2 ภาษาอังกฤษระบุ “, and et al.”

3. วารสารออนไลน์ที่มีหมายเลข Digital Object Identifier : DOI ให้ระบุหมายเลข DOI ด้วย เช่น DOI: 10.33546/bnj.22.

4. ข้อมูลวิชาการจากอินเทอร์เน็ต ให้เขียนเช่นเดียวกับสื่อสิ่งพิมพ์ โดยระบุต่อท้ายรายการอ้างอิง
     4.1 ภาษาไทย “. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2564 จาก http//”
     4.2 ภาษาอังกฤษ “. Accessed 15 Aug 2021 from http//” 

5. ให้ปิดแต่ละรายการด้วยจุด (.)

6. ข้อมูลวิชาการจากอินเตอร์เน็ต ให้เขียนเช่นเดียวกับสื่อสิ่งพิมพ์ โดยระบุต่อท้ายรายการอ้างอิง
    6.1 สิ่งพิมพ์ภาษาไทย
          - หน้าเดียว เช่น 16.
          - หลายหน้า เช่น 18-32.
    6.2 สิ่งพิมพ์ภาษาอังกฤษ
          - หน้าเดียว เช่น 16.
          - หลายหน้าเมื่อเลขหลักไม่ซ้ำ เช่น 16-22.
          - หลายหน้าเมื่อมีเลขหลักซ้ำ เช่น หน้า 31 ถึง หน้า 39 ให้เขียน 31-9.
             หน้า 108 ถึง หน้า 117 ให้เขียน 108-17.
             หน้า 371 ถึง หน้า 375 ให้เขียน 371-5.

วารสาร


หนังสือ

อินเตอร์เน็ต

ประชุมวิชาการ


วิทยานิพนธ์

**กองจัดการวารสารแนะนำผู้นิพนธ์ปรับรูปแบบและขนาดตัวอักษรของบทความตามแบบฟอร์ม (Template) ของวารสารกำหนด โดยให้โหลดไฟล์เทมเพลต (Template) ด้านล่างนี้ โดยห้ามตั้งชื่อไฟล์ที่บ่งถึงผู้นิพนธ์และ/หรือหน่วยงาน** 

                               

                                            

                               

                             

หมายเหตุ : 
ผู้นิพนธ์ต้องส่งไฟล์เอกสารเข้าระบบ ดังนี้
1. ไฟล์เทมเพลต (Template) ชื่อเรื่องและข้อมูลผู้นิพนธ์
2. ไฟล์เทมเพลต (Template) เนื้อหาตามบทความของผู้นิพนธ์
3. แบบยินยอมให้เผยแพร่บทความ (ส่งแบบฟอร์มนี้ เฉพาะบทความวิจัยที่มีนักวิจัยมากกว่า 1 คน)

*ในกรณีที่ Submit ไฟล์เอกสารเข้าสู่ระบบ ThaiJo ให้เลือกไฟล์บทความเป็นประเภท "ไฟล์บทความหรือเอกสารข้อความ/Article Text" ไฟล์นอกเหนือจากนี้ให้เลือกเป็นประเภท "Other" ทั้งหมด*