วารสารการศึกษาและวิจัยการสาธารณสุข https://so12.tci-thaijo.org/index.php/JERPH_Yala <p><strong><a href="https://so12.tci-thaijo.org/index.php/JERPH_Yala/announcement/view/24"><img src="https://so12.tci-thaijo.org/public/site/images/sobreem/----.png" alt="" width="1579" height="395" /></a></strong></p> <p><strong>วารสารการศึกษาและวิจัยการสาธารณสุข</strong> (Journal of Education and Research in Public Health : JERPH) หมายถึง การศึกษาทางสาธารณสุขและการวิจัยทางสาธารณสุข เป็นวารสารที่มีการเผยแพร่ความรู้จากการศึกษา ค้นคว้า วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ผ่านบทความประเภทต่างๆ สู่สาธารณะในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-journal) <strong>โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญสาขาที่เกี่ยวข้องประเมินบทความจำนวน 3 ท่าน/บทความ แบบปกปิด 2 ทาง (Double blind)</strong></p> <p><strong>ISSN :</strong> 2985-0126 (Online)</p> <p><strong>กำหนดการออก :</strong> <strong>ราย 4 เดือน ออกปีละ 3 ฉบับ</strong><br /> ฉบับที่ 1 ประจำเดือน มกราคม - เมษายน <br /> ฉบับที่ 2 ประจำเดือน พฤษภาคม - สิงหาคม <br /> ฉบับที่ 3 ประจำเดือน กันยายน - ธันวาคม</p> <p><strong>การตีพิมพ์เผยแพร่ : <br /></strong> เผยแพร่ฉบับละ 5 - 7 บทความ </p> <p><strong>ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ :</strong> ไม่ได้มีการเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ใดๆ ในทุกขั้นตอน (วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา สนับสนุนงบประมาณดำเนินงานจัดทำวารสาร และได้รับความอนุเคราะห์จากคณะผู้ประเมินบทความ โดยไม่มีค่าตอบแทน)</p> <p><strong><em>*วารสารนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการเพื่อประเมินเข้าสู่ฐานข้อมูลดัชนีวารสารไทย (TCI)*</em></strong></p> Sirindhorn College of Public Health Yala th-TH วารสารการศึกษาและวิจัยการสาธารณสุข 2985-0126 ผลของการใช้โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากต่อความรู้ ทักษะ พฤติกรรมการดูแลฟันเทียม และปริมาณคราบจุลินทรีย์ในผู้ป่วยเบาหวานที่ใส่ฟันเทียมบางส่วน https://so12.tci-thaijo.org/index.php/JERPH_Yala/article/view/492 <p>การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลองนี้ เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากต่อความรู้ ทักษะ พฤติกรรมการดูแลฟันเทียม และปริมาณคราบจุลินทรีย์ในผู้ป่วยเบาหวานที่ใส่ฟันเทียมบางส่วนโรงพยาบาลควนเนียง จังหวัดสงขลา จำนวน 30 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างคำนวณโดยใช้โปรแกรม G*Power เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมบ้านควนเนียงร่วมใจลดภาวะแทรกซ้อนเบาหวาน เริ่มที่รักษ์ฟัน แบบสอบถามความรู้ แบบบันทึกดัชนีคราบจุลินทรีย์ แบบประเมินทักษะการแปรงฟัน และแบบบันทึกพฤติกรรมการดูแลฟันเทียม ได้ค่า IOC &gt; 0.5 สำหรับแบบประเมินความรู้ได้ค่า KR20 เท่ากับ 0.72 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป โดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ และสถิติ Paired t-test ผลการวิจัย พบว่า หลังการใช้โปรแกรม ผู้ป่วยเบาหวานที่ใส่ฟันเทียมบางส่วน มีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน และทันตสุขภาพช่องปาก ทักษะการทำความสะอาดฟัน และพฤติกรรมการดูแลฟันเทียมเพิ่มขึ้น ในขณะที่ผู้ป่วยเบาหวานที่ใส่ฟันเทียมบางส่วน มีปริมาณคราบจุลินทรีย์ลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>-value &lt; 0.001) ดังนั้นโปรแกรมดังกล่าวสามารถลดโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคในช่องปากของผู้ป่วยเบาหวานที่ฟันเทียมบางส่วนได้และควรดำเนินโปรแกรมต่อไป เพื่อแก้ปัญหาการเกิดโรคในช่องปาก และภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ของผู้ป่วยเบาหวานที่ใส่ฟันเทียม</p> ยูลีธี ลิเก อรชินี พลานุกูลวงศ์ สุไรยา หมานระโต๊ะ Copyright (c) 2023 วารสารการศึกษาและวิจัยการสาธารณสุข https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2023-12-28 2023-12-28 2 2 107 123 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี https://so12.tci-thaijo.org/index.php/JERPH_Yala/article/view/875 <p>การศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับปัจจัยนำ ระดับปัจจัยเอื้อ และระดับปัจจัยเสริมหรือปัจจัยสนับสนุน 2) ระดับการดำเนินงานป้องกันโรคไข้เลือดออก และ 3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) กลุ่มตัวอย่าง 208 คน สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม ตรวจสอบเครื่องมือด้วยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติถดถอยพหุคูณแบบหลายขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า ความรู้ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี มีทัศนคติอยู่ในระดับปรับปรุง ปัจจัยเอื้อด้านความพอเพียงของทรัพยากร อยู่ในระดับต้องปรับปรุง และด้านทักษะในการใช้ทรัพยากร อยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยเสริมหรือปัจจัยสนับสนุนด้านแรงสนับสนุนทางสังคม และแรงจูงใจ อยู่ในระดับต้องปรับปรุง การดำเนินงานการป้องกันโรคไข้เลือดออกของ อสม. ในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานป้องกันโรคไข้เลือดออก พบว่า แรงจูงใจ ทักษะในการใช้ทรัพยากร การได้รับการอบรมหรือประชุม (บางครั้ง) การไม่เคยได้รับการอบรมหรือประชุม และแรงสนับสนุนทางสังคม สามารถอธิบายการผันแปรของการดำเนินงานป้องกันโรคไข้เลือดออกของ อสม. ได้ร้อยละ 59.0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>-value &lt; 0.01) ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขควรนำแบบจำลองการวางแผนส่งเสริมสุขภาพมาประยุกต์ใช้โดยสร้างแรงจูงใจ และแรงสนับสนุนทางสังคมให้กับ อสม. เพื่อการดำเนินงานป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ พยาบาลชุมชนควรเสริมทักษะการใช้ทรัพยากร และจัดโปรแกรมการอบรมให้กับ อสม. เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน</p> กฤษณะ พิมพ์ไทย Copyright (c) 2024 วารสารการศึกษาและวิจัยการสาธารณสุข https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-02-23 2024-02-23 2 2 124 139 ประสิทธิภาพการกดหน้าอกภายหลังการอบรมด้วยโมเดลหุ่นของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลปัตตานี https://so12.tci-thaijo.org/index.php/JERPH_Yala/article/view/870 <p>การศึกษาเชิงกึ่งทดลอง รูปแบบมีกลุ่มทดลองกลุ่มเดียวและมีการสอบวัดผลก่อนและหลังการอบรมการกดหน้าอกในโมเดลหุ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการกดหน้าอกของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลปัตตานีก่อนและหลังการอบรมด้วยโมเดลหุ่นในเดือนมีนาคม 2566 ได้กลุ่มตัวอย่าง 82 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์จากรายชื่อแต่ละแผนกในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน รวบรวมข้อมูลทั่วไปของพยาบาลวิชาชีพ และข้อมูลตัวชี้วัดประสิทธิภาพการกดหน้าอกในโมเดลหุ่นฝึกช่วยชีวิตขั้นสูงพร้อมเครื่องบันทึกข้อมูล หุ่นฝึกช่วยชีวิตขั้นสูงนี้ได้รับการสอบเทียบมาตรฐานให้เป็นไปตามแนวทางปฏิบัติของสมาคมหัวใจอเมริกา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบตัวชี้วัดประสิทธิภาพ ด้วย Paired t-test ผลการศึกษาพบว่า พยาบาลวิชาชีพที่เข้าอบรมกดหน้าอกในโมเดลหุ่นส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 93.9 อายุเฉลี่ย 38.24 ปี (±6.92) มีดัชนีมวลกาย 23.0 กิโลกรัม/เมตร<sup>2</sup> ขึ้นไป ร้อยละ 51.2 มีประสบการณ์การกดหน้าอกมากกว่า 15 ครั้ง ร้อยละ 42.7 ประสิทธิภาพการกดหน้าอกหลังอบรมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทุกตัวชี้วัด ได้แก่ อัตราเร็วในการกดหน้าอก ความลึกในการกดหน้าอก ระยะเวลารบกวนการกดหน้าอก และร้อยละของการขยายตัวกลับของทรวงอก การอบรมการกดหน้าอกของพยาบาลวิชาชีพด้วยโมเดลหุ่น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการกดหน้าอก จึงควรจัดอบรมให้กับพยาบาลวิชาชีพทุกคน</p> ชารีฟ หะยีบือซา Copyright (c) 2024 วารสารการศึกษาและวิจัยการสาธารณสุข https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-05 2024-03-05 2 2 140 149 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช https://so12.tci-thaijo.org/index.php/JERPH_Yala/article/view/884 <p>การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะ และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 281 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม มีค่า IOC ระหว่าง 0.67 – 1.00 แบบสอบถามด้านความรู้ มีค่า KR-20 เท่ากับ 0.74 ด้านทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะ มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.79 และ 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Multiple logistic regression ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 45.9 ระดับทัศนคติเกี่ยวกับยาปฏิชีวนะอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 62.4 มีพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะดี ร้อยละ 63.1 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะ พบว่า อสม. เพศหญิง จะมีโอกาสมีพฤติกรรมกรรมที่ดีกว่า 0.25 เท่าเมื่อเทียบกับเพศชาย อสม. ที่มีรายได้มากกว่า 10,000 บาท จะมีโอกาสมีพฤติกรรมที่ดีลดลง ร้อยละ 71.0 เมื่อเทียบกับรายได้ไม่น้อยกว่า 10,000 บาท และ อสม. ที่มีความรู้เกี่ยวกับยาปฏิชีวนะในระดับปานกลางและดี จะมีโอกาสมีพฤติกรรมที่ดีกว่า 2.79 และ 3.74 เท่า เมื่อเทียบกับระดับความรู้ต่ำ ดังนั้น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรจัดโปรแกรมการอบรมเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผลให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อให้เป็นแกนนำการใช้ยาที่ถูกต้อง และสร้างทัศนคติที่ดีให้ อสม.</p> อภิชาติ จิตรวิบูลย์ Copyright (c) 2024 วารสารการศึกษาและวิจัยการสาธารณสุข https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-12 2024-03-12 2 2 150 165 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพกับการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่หมู่ 1 ตำบลแพรกษา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/JERPH_Yala/article/view/809 <p>การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ภาวะสุขภาพกับการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ คำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร Yamane ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 152 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ตรวจสอบความตรงของเนื้อหามีค่าระหว่าง 0.67 - 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นด้วยสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.74 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาในรูปของจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุ ร้อยละ 40.8 มีปัญหาสุขภาพ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส ความเพียงพอของรายได้ มีความสัมพันธ์กับการดูแลสุขภาพตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้น ควรเน้นให้ผู้สูงอายุมีการสร้างเสริมสุขภาพให้ดูแลตนเองได้ ตรวจสุขภาพให้ครอบคลุม มีระบบการดูแลอย่างต่อเนื่อง การได้รับข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพสร้างกิจกรรมด้านสังคมในพื้นที่ ทั้งนี้ ต้องสร้างการมีส่วนร่วมภาคีเครือข่ายให้มีการสร้างเสริมสุขภาพร่วมกันด้วย</p> ทวีพร สุขสมโสตย์ Copyright (c) 2024 วารสารการศึกษาและวิจัยการสาธารณสุข https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-27 2024-03-27 2 2 166 180 ประสิทธิผลของการฝึกกิจกรรมบำบัดแบบเข้มข้นที่บ้านในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง https://so12.tci-thaijo.org/index.php/JERPH_Yala/article/view/1052 <p>การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบ Quasi-experimental research เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการฝึกกิจกรรมบำบัดแบบเข้มข้นที่บ้านในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เป็นกลุ่มทดลอง 30 คน กลุ่มควบคุม 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูกิจกรรมบำบัดแบบเข้มข้นสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองกลับไปฝึกที่บ้าน และมีการติดตามการฝึกกิจกรรมบำบัดทางโทรศัพท์ทุกสัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมให้โปรแกรมฝึกแบบมาตรฐานทางกิจกรรมบำบัดที่โรงพยาบาล ทั้งสองกลุ่มได้รับการฝึกเป็นเวลา 60 นาทีต่อวัน 3 วัน ต่อสัปดาห์ ต่อเนื่องนาน 12 สัปดาห์ โดยใช้การวัด Motor assessment scale (MAS) และ The modified barthel activities of daily index (MBAI) การวัดผลก่อนและหลังให้โปรแกรม ข้อมูลทั่วไปวิเคราะห์โดยใช้สถิติพรรณนา จำนวน ร้อยละ ส่วนการเปรียบเทียบภายในกลุ่มใช้ Wilcoxon signed-rank test และ Mann-Whitney U test ใช้เปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า ค่ามัธยฐานของ MAS และ MBAI ก่อนและหลังให้โปรแกรมภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>-value &lt; 0.05) ส่วนค่ามัธยฐาน MAS และ MBAI ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การฝึกกิจกรรมบำบัดแบบเข้มข้นที่บ้านในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสามารถเพิ่มความสามารถของแขนและมือ ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้ ในกรณีผู้ป่วยไม่สะดวกมารับบริการที่โรงพยาบาลสามารถนำโปรแกรมกิจกรรมบำบัดแบบเข้มข้นไปฝึกต่อที่บ้านได้ เป็นการเพิ่มการเข้าถึงการบริการทางการฟื้นฟูสภาพ ทำให้ผู้ป่วยมีความสามารถทางด้านกิจวัตรประจำวันดีขึ้น</p> นริสา นิวรนุสิทธิ์ Copyright (c) 2024 วารสารการศึกษาและวิจัยการสาธารณสุข https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-04-30 2024-04-30 2 2 181 197