ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพกับการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่หมู่ 1 ตำบลแพรกษา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
คำสำคัญ:
การดูแลสุขภาพตนเอง, ผู้สูงอายุ, ภาวะสุขภาพบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ภาวะสุขภาพกับการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ คำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร Yamane ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 152 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ตรวจสอบความตรงของเนื้อหามีค่าระหว่าง 0.67 - 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นด้วยสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.74 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาในรูปของจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุ ร้อยละ 40.8 มีปัญหาสุขภาพ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส ความเพียงพอของรายได้ มีความสัมพันธ์กับการดูแลสุขภาพตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้น ควรเน้นให้ผู้สูงอายุมีการสร้างเสริมสุขภาพให้ดูแลตนเองได้ ตรวจสุขภาพให้ครอบคลุม มีระบบการดูแลอย่างต่อเนื่อง การได้รับข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพสร้างกิจกรรมด้านสังคมในพื้นที่ ทั้งนี้ ต้องสร้างการมีส่วนร่วมภาคีเครือข่ายให้มีการสร้างเสริมสุขภาพร่วมกันด้วย
Downloads
References
ชนันท์วัลย์ วุฒิธนโภคิน, ปาริชาติ อ้นองอาจ, และพนิดา ไชยมิ่ง. ผลการฝึก Brain Gym ต่อการทรงตัวการประสานสัมพันธ์การรับรู้ และคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน.2563; 26(1): 68-82.
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. คาดประมาณประชากรกลางปีของไทย พ.ศ. 2562. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2566 จาก http://www.ipsr.mahidoI.ac.th/ipsrbeta/thGazette.aspx.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2560. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. 2560.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ. ข้อมูลจำนวนประชากรจาก HDC ประจำปีงบประมาณ 2566. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2566 จาก https://spk.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแพรกษา. ข้อมูลจำนวนประชากรจาก HDC ประจำปีงบประมาณ 2566. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2566 จาก hc00937.spko @moph.mail.go.th.
ประคอง อินทรสมบัติ. การประเมินภาวะสุขภาพในผู้สูงอายุ. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 2539; 2(3): 44-57.
Orem DE. Nursing Concepts of practices. Accessed 7 May 2017 from http://www.virtualcurricu/um.com/N3225/Fawcett.Orem.pdf.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. 4 มิติที่เป็นองค์ประกอบของภาวะสุขภาพ. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2566 จาก http://www.thaihealth.or.th.
Taro Yamane. Statistics: An introductory analysis. New York, Harper & Row. 1973.
สุรางค์รัตน์ คุณกิตติ. การศึกษาพฤติกรรมสุขภาพและความต้องการการบริการสุขภาพของผู้สูงอายุในคลินิกผู้สูงอายุ โรงพยาบาลศิริราช. กรุงเทพฯ, จามจุรีโปรดักท์. 2560.
จิระพร อภิชาตบุตร. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การอุปถัมภ์จากครอบครัวและการบริการสุขภาพในชุมชนกับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนแออัด เขตกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์]. ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2540.
เยาวลักษณ์ มหาสิทธิวัฒน์. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การเปลี่ยนแปลงทางกายจิตสังคมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ. [วิทยานิพนธ์]. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล. 2529.
วารี กังใจ. ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ความสามารถในการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ. [รายงานวิจัย]. คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา. 2540.
มณฑนา เจริญกุศล. แรงสนับสนุนทางสังคม ความสามารถในการดูแลตนเอง และภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ. [วิทยานิพนธ์]. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล. 2534.
อัมพรพรรณ ธีรานุตร, เจียมจิต แสงสุวรรณ, ศิริพร เกตุดาว, วลัยพร นันท์ศุภวัฒน์, ศรีเทียน ตรีศิริรัตน์, อัจฉรา หล่อวิจิตร, และคณะ. การศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยพื้นฐานบางประการกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครขอนแก่น. [รายงานวิจัย]. คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2539.
หัสยาพร อินทยศ, และฤทธิพล สมฤทธิ์. ผลของโปรแกรมการการออกำลังกายร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมต่อความสามารถในการทรงตัวของผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยล้ม. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ. 2566; 6(2): 1-14.
วรรณี จันทร์สว่าง. แบบแผนสุขภาพของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2535; 1(1): 16-7.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารการศึกษาและวิจัยการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.