การพัฒนารูปแบบการจัดการอุบัติเหตุทางถนน ด้วยกลไกศูนย์ความปลอดภัยทางถนน ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • นินราหม๊ะ หมัดอาดั้ม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110
  • วีระศักดิ์ เดชอรัญ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110

คำสำคัญ:

การจัดการ, ศูนย์ความปลอดภัยทางถนน, อุบัติเหตุทางถนน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการจัดการอุบัติเหตุทางถนน ด้วยกลไกศูนย์ความปลอดภัยทางถนน ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่าง คัดเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย 1) กลุ่มขับเคลื่อนการดำเนินงาน 22 คน 2) กลุ่มประเมินผลลัพธ์ คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงในพื้นที่ 2 ชุมชนๆ ละ 37 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ ระยะเวลาเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 ถึง เมษายน พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอนุมาน Independent t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวิเคราะห์บริบท ทั้งด้านบุคคล สภาพแวดล้อม และระบบ/กลไกในชุมชน 2) จัดเก็บ วิเคราะห์และคืนข้อมูลให้ชุมชน อย่างต่อเนื่อง 3) ประชาสัมพันธ์ สื่อสารความเสี่ยงในชุมชน 4) บูรณาการทรัพยากรทั้งคน เงิน สิ่งของ 5) ติดตาม สะท้อนผล ทุก 3 เดือน ผลการประเมินรูปแบบ พบว่า ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านมาตรฐานความถูกต้อง  (--29-11-66.png± S.D. ; 4.65 ± 0.28) ด้านมาตรฐานความเป็นไปได้ (4.50 ± 0.31) ด้านความเหมาะสม (4.48 ± 0.20) ด้านอรรถประโยชน์ (4.36 ± 0.23) ด้านประสิทธิผลของรูปแบบ พบว่า ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนสูงกว่าก่อนพัฒนารูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.01) ข้อเสนอแนะ การนำรูปแบบดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ ควรมีการวิเคราะห์บริบทชุมชน พัฒนากระบวนการบริหารงานภายใน พัฒนาเครือข่าย สนับสนุน และมีช่องทางการติดตาม ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง จะมีส่วนผลักดันให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

Downloads

Download data is not yet available.

References

มูลนิธิไทยโรดส์. หน่วยเฝ้าระวังและสะท้อนสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2562 จาก http://trso.thairoads.org/.

เศรษฐกาญจน์ ทิพโอสถ. การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุจราจรบนท้องถนน กรณีศึกษา ถนนศุภสารรังสรรค์ เขตเทศบาลนครหาดใหญ่. สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2565 จาก http://trsl.thairoads.org/Detail.aspx?id=1779.

ทะนงศักดิ์ สุวรรณเตมีย์. การเกิดอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่ ในเขตเทศบาลตำบลเมืองเก่า อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ปี 2561. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2566 จากhttp://trsl.thairoads.org/PrintDetail.aspx?id=1707.

นายกฤษณะ สุกาวงค์. การสอบสวนการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2564 จาก http://klb.ddc.moph.go.th/dataentry/handbook.

ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุเพื่อเสริมร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน. รายงานสถิติผู้ประสบภัยจากรถทั่วประเทศ. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2566 จาก https://www.thairsc.com/.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งตำเสา. รายงาน 43 แฟ้ม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2565 จาก https://ska.hdc.moph.go.th/hdc/reports.

Kemmis S, and McTaggart R. The Action Research Planner. Geelong, Deakin University Press. 1989.

Bloom BS, Hastings TJ, and Madaus GF. Hand Book on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York, McGraw – Hill Book Company Inc. 1971.

Stufflebeam DL. CIPP Evaluation Model Checklist. Accessed 26 September 2023 from www.wmich.edu/evalctr/checklists.

Likert R. A Technique for the Measurement of Attitudes. Archives of Psychology. 1932. p. 1-55.

Kuder Frederic G, and Richardson MW. The Theory of the Estimation of Test Reliability. Psychometrika. 1937. p. 151-60.

Cronbach LJ. Coefficient Alpha and the Internal Structure of Tests. Psychometrika. 1951. p. 297-334.

วิรัตน์ ปานศิลา. เทคโนโลยีการมีส่วนร่วมแบบพหุภาคี : TOP. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2565 จาก https://www.slideshare.net/animatekyo2010/technology-of-participationtop.

เอื้อมพร หลินเจริญ. เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2555; 17(1): 17-29.

ไพโรจน์ สุขสมฤทธิ์. การมีส่วนร่วมของประชาชน. วารสารพัฒนาชุมชน. 2531; 27(2): 25-8.

ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน. ผ่อนปรนกลับสู่ปกติใหม่แต่ความเสี่ยงภัยทางถนนยังเหมือนเดิม (หรือหนักกว่า) เดิม. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2563 จาก http://www.roadsafetythai.org.

อภิสิทธิ์ คุณวรปัญญา, และคำรณ โชธนะโชติ. ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการติดต่อสื่อสารและการสนับสนุนทางสังคมในองค์การกับขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน : กรณีศึกษาผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งประเภทสนับสนุน มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล. 2561; 5(1): 240-66.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-12-2023