ผลของการบริบาลเภสัชกรรมร่วมกับการติดตามการใช้ยาทางไกลโดยประยุกต์ใช้ระบบหมอพร้อมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ใช้ปากกาฉีดอินซูลิน อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ

ผู้แต่ง

  • จิราวัฒน์ สุวัตธิกะ โรงพยาบาลเซกา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ 38150

คำสำคัญ:

การบริบาลเภสัชกรรม , การติดตามการใช้ยาทางไกล, เบาหวานชนิดที่ 2 , ปากกาฉีดอินซูลิน, ระบบหมอพร้อม

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการบริบาลเภสัชกรรมร่วมกับการติดตามการใช้ยาทางไกลโดยประยุกต์ใช้ระบบหมอพร้อมต่อผลการรักษา ความรู้ ทักษะการใช้ปากกาฉีดอินซูลิน ความร่วมมือในการใช้ยา ปัญหาจากการใช้ยา และความพึงพอใจในบริการของผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ใช้ปากกาฉีดอินซูลิน จำนวน 40 คน ที่รับการรักษา ณ แผนกผู้ป่วยนอกคลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลเซกา จังหวัดบึงกาฬ คัดเลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ติดต่อกัน 2 ครั้ง และมีคุณสมบัติเข้าตามเกณฑ์การคัดเข้า เริ่มบริการเภสัชกรรมทางไกล ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ ถึง 31 พฤษภาคม 2566 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบบันทึก ใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ผลการวิจัยพบว่าหลังการให้บริบาลเภสัชกรรมร่วมกับการติดตามการใช้ยาทางไกล ค่าเฉลี่ยระดับกลูโคสในพลาสมาขณะอดอาหารของกลุ่มตัวอย่างลดลงจาก 217.75±66.34 mg/dl เหลือ 171.10±50.10 mg/dl ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เช่นเดียวกับค่าเฉลี่ยระดับฮีโมโกลบินเอวันซี ลดลงจาก 10.50±1.53 mg% เหลือ 8.40±1.52 mg% ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความรู้เกี่ยวกับโรคและยารักษาเบาหวาน เพิ่มทักษะในการใช้ปากกาฉีดอินซูลิน และเพิ่มความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยเบาหวานได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ช่วยให้เภสัชกรค้นหาและแก้ไขปัญหาจากการใช้ยาของผู้ป่วย ผู้ป่วยที่รับบริการมีระดับความพึงพอใจในระดับมากที่สุด เภสัชกรควรเรียนรู้เทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการให้บริการผู้ป่วย เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมควบคุมโรค. รณรงค์วันเบาหวานโลก 2564 ตระหนักถึงการดูแลรักษาโรคเบาหวานให้ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง. สืบค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2565 จาก https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=21692 &deptcode=brc

วิชัย เอกพลากร. การสำรวจสุขภาพประชาชนโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 6 พ.ศ.2562-2563. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ, อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์. 2564.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย, กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. พิมพ์ครั้งที่ 3. ปทุมธานี, บริษัท ร่มเย็น มีเดีย. 2560.

กรองแก้ว พรหมชัยศรี, สงวน ลือกิจบัณฑิต, และวรนุช แสงเจริญ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อความสามารถในการใช้ยาฉีดอินซูลินชนิดปากกาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2: การทดลองเชิงสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2562; 11(3): 648-658.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ. ข้อมูลเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาโรคไม่ติดต่อ (NCD DM, HT, CVD). สืบค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2565 จาก https://bkn.hdc.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_ id=b2b59e64c4e6c92d4b1ec16a599d882b

ติยารัตน์ ภูติยา, สงครามชัยย์ ลีทองดีศกุล, และกุลชญา ลอยหา. การพัฒนาระบบบริบาลทางเภสัชกรรมที่บ้านสำหรับการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่ใช้ยาฉีดอินซูลินในเขตตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารศรีวนาลัยวิจัย. 2564; 11(1): 91-105.

กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2562. สืบค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2565 จาก http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/strategymoph61_v10.pdf

ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย. แนวทางปฏิบัติการเยี่ยมบ้านและการดูแลสุขภาพประชาชนที่บ้านในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. สืบค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2565 จาก https://thaifammed.org/uncategorized/1421/

สภาเภสัชกรรม. ประกาศสภาเภสัชกรรม ที่ 56/2563 เรื่อง การกำหนดมาตรฐานและขั้นตอนการให้บริการเภสัชกรรมทางไกล (Telepharmacy). สืบค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2565 จาก https://www.pharmacycouncil.org/index.php?option=content_detail&menuid=68&itemid=1846&catid=0

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการพัฒนาระบบงานเภสัชกรรมปฐมภูมิของเภสัชกรครอบครัว (Family Pharmacist) สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 –2567. สืบค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2565 จาก https://dmsic.moph.go.th/index/detail/8895

กฤษฏิ์ วัฒนธรรม, ธีรพล ทิพย์พะยอม, และอัลจนา เฟื่องจันทร์. รูปแบบกิจกรรมและผลลัพธ์การให้บริการเภสัชกรรมทางไกล: บทความปริทัศน์. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. 2564; 17(3): 1-15.

พุทธิดา โภคภิรมย์ และกรกมล รุกขพันธ์. ผลของการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจแบบสั้นร่วมกับการให้ความรู้และการติดตามทางโทรศัพท์โดยเภสัชกร ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2: การศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2563; 12(4): 984-996.

Morisky DE, Ang A, Krousel-Wood M, and Ward HJ. Predictive validity of a medication adherence measure in an outpatient setting. Journal of Clinical Hypertension. 2008; 10(5): 348-54. DOI: 10.1111/j.1751-7176.2008.07572.x

ปริตตา ไชยมล, สงวน ลือเกียรติบัณฑิต, และวรนุช แสงเจริญ. ผลของการให้ความรู้โดยเภสัชกรร่วมกับการใช้ภาพถ่ายแสดงวิธีการใช้ยาสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2560; 9(2) :475-488.

สมมนัส มนัสไพบูลย์, ผกามาส ไมตรีมิตร, และศราวุฒิ อู่พุฒินันท์. ผลการบริบาลทางเภสัชกรรมร่วมกับการสร้างเสริมพลังอานาจในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง).วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. 2560; 13(1): 37-51.

Stockton K and Deas C. Evaluation of outcomes of a pharmacist-run, outpatient Insulin titration telepharmacy service. INNOVATIONS in pharmacy. 2019; 10(2) :1-7. DOI: 10.24926/iip.v10i2.1737

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06-07-2023