การเสริมสร้างพลังอำนาจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลปะเหลียน จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • มณฑา พุ่มเกลี้ยง โรงพยาบาลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง 92120

คำสำคัญ:

การเสริมสร้างพลังอำนาจ , การปฏิบัติ , พยาบาลวิชาชีพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการเสริมสร้างพลังอำนาจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลปะเหลียน จังหวัดตรัง กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลปะเหลียน จังหวัดตรัง คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด รวมทั้งหมด 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยคือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป และแบบสอบถามการเสริมสร้างพลังอำนาจในงาน การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการแจกแจงความถี่ หาร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า การเสริมสร้างพลังอำนาจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิขาชีพ โรงพยาบาลปะเหลียน จังหวัดตรัง โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง (-c7558649462797ae.png= 3.58, S.D. = 0.53) โดยรายด้านที่ได้ค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการได้รับข้อมูลข่าวสารมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด (-c7558649462797ae.png= 3.73, S.D. = 0.50) และในรายด้านที่ได้ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการเพิ่มพูนทักษะและความสามารถ
(-c7558649462797ae.png= 3.42, S.D. = 0.60) จากผลการวิจัยผู้บริหารจึงควรนำกระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจในการปฏิบัติงาน มาใช้ในการส่งเสริมและสนับสนุนเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพให้สูงขึ้น จะช่วยให้พยาบาลวิชาชีพมีความมั่นใจสามารถพัฒนาตนเอง และพัฒนางาน/องค์การ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Downloads

Download data is not yet available.

References

กนกพร นทีธนสมบัติ. คุณภาพการพยาบาลและการจัดการศึกษาพยาบาล. วารสารมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. 2555; 11(21): 34-52.

Kanter RM. Frontiers of management. United States of American : A Harvard Business Review Book. 1997.

Jeffery AK. Staff Empowerment Is Key to Quality. Care.Caring for The Ages. 2007.

โสภณ เมฆธน. ยุทธศาสตร์บุคลากรเป็นเลิศ (People Excellence). สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2559 จาก http://person.ddc.moph.go.th/person1/images/People_Excellence_Strategy_v.4.pdf. 2560

อุมาพร พรหมสะอาด, อุดม ลีลาทวีวุฒิ, สมชาติ โตรักษา, และสุคนธา คงศีล. การเสริมสร้างพลังอำนาจในการปฏิบัติงานที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 2555; 42(2): 92-102.

Laschinger HK, and Shamain J. Staff nurses’ and nurse managers’perception of job-related empowerment and managerial self-efficacy. Journal of Nursing Administration. 1994; 24(10): 38-47.

เบญจมาพร บัวหลวง, และเปรมฤทัย น้อยหมื่นไวย. อิทธิพลของการเสริมสร้างพลังอำนาจและสัมพันธภาพระหว่างแพทย์กับพยาบาลต่อคุณภาพการดูแลของพยาบาลวิชาชีพ แผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. 2563; 12(2): 127-139.

ทองทรัพย์ ดวงภมร. ความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมสร้างพลังอำนาจการทำงานเป็นทีมกับผลลัพธ์ทางการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลศูนย์เขต 14 กระทรวงสาธารณสุข [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2552.

เนตรนภา สาสังข์, นิตยา เพ็ญศิรินภา, และอารยา ประเสริฐชัย. การเสริมสร้างพลังอำนาจกับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. วารสารพยาบาลทหารบก. 2559; 17(1): 79-87.

ทิพากร กระเสาร์, และพูลสุข หิงคานนท์. ความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมสร้างพลังอำนาจของหัวหน้าหอผู้ป่วยกับประสิทธิผลการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลตามมาตรฐานโรงพยาบาล และบริการสุขภาพ. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ. 2561; 12(2): 79-92.

วิลาสินี ชวลิตดำรง. สมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการโรงพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์ในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหิดล. 2552.

Christensen PJ, and Kenny JW. Nursing process: Application of conceptual models. 4th Edition. Mosby. 1995.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-08-2023