ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลในเขตพื้นที่เทศบาลนครยะลา

ผู้แต่ง

  • นุรฟาติน ดือเร๊ะ โรงพยาบาส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขาพระ

คำสำคัญ:

ความรู้, การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน, นักเรียนระดับประถมศึกษา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ และทัศนคติเกี่ยวกับการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลในเขตพื้นที่เทศบาลนครยะลา กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาในครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษาที่ 2564 จำนวน 184 คน ขนาดกลุ่มตัวอย่างได้จากการคำนวนโดยใช้โปรแกรม G*Power 3.1.9.2 เครื่องมือวิจัยเป็นแบบทดสอบความรู้ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติค่าไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนเพศชายและหญิงเท่ากันร้อยละ 50.0 ส่วนใหญ่เคยได้รับข่าวสารจากสื่อต่างๆ เกี่ยวกับการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานร้อยละ 61.4 มีความรู้เกี่ยวกับการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานโดยเฉลี่ยเท่ากับ 10.1 ส่วนใหญ่มีความรู้อยู่ในระดับมากร้อยละ 37.5 และทัศนคติเกี่ยวกับการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานโดยเฉลี่ยเท่ากับ 33.0 ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 49.4 นอกจากนี้ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยความสัมพันธ์กับความรู้การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 คือ สถานที่เรียน การได้รับข่าวสารจากสื่อต่างๆ รวมถึงทัศนคติเกี่ยวกับการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน และเพศไม่มีความสัมพันธ์กับความรู้การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน

Downloads

Download data is not yet available.

References

ณัชนันท์ ชีวานนท์. อุบัติเหตุในเด็ก: สถานการณ์ และแนวทางการป้องกัน. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2559; 24(3): 1-12.

กองควบคุมโรคไม่ติดต่อ. จำนวนและอัตราการเสียชีวิตของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี. 2562. สืบค้นเมื่อ

ธันวาคม 2564 จาก http://www.thaincd.com/2016/news/hot-news-detail.php?gid=18&id=13786.

คนึงนิจ จันทรทิน และคณะ. หนังสือการปฐมพยาบาลฉุกเฉินและการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน Emergency First Aid and Basic CPR. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ, บริษัท นิวธรรมดาการพิมพ์ จำกัด. 2563.

ทยุตา อินแก้ว, ภาวินี เภารอด และดุลโสภา ชัยรัตน์. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และความสามารถในการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด. วารสารพยาบาลทหารบก. 2561; 19(ฉบับพิเศษ): 139-148.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา. ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพจังหวัดยะลา. 2562. สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2564 จาก https://yla.hdc.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php?year_selection=2019.

วราพรรณ เพ็งแจ่ม. ความรู้การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 จังหวัดนครราชสีมา. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนาราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 2560; 6(2): 63-71.

อุรา แสงเงิน, สุพัตรา อุปนิสากร และทิพมาส ชิณวงศ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้และทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพของพยาบาล โรงพยาบาลสงขลานครินทร์. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2555; 32(1): 32-38.

ปิยฉัตร เทพรัตน์. คู่มือการปฐมพยาบาลเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ, ศูนย์อบรมปฐมพยาบาลและสุขภาพอนามัย. 2559.

รวีโรจน์ ทองธานินขวัญ, วทัญญู อินเทศน์, เอกณรงค์ ธรรมตา, เจษฏา บุญแก้ว, วิษณุ ใจวันดี, กาญจนา หาญศิริวัฒนกิจ, และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ความจำเรื่องมหากายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ในนักศึกษาแพทย์. เวชสารร่วมสมัย. 2560; 62(3): 593-605.

ปิยดา จันทรกุล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้และทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพของพยาบาลโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2562; 33(2): 339-351.

ธรรนพรรณ ทรัพย์ดล. ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนบทเรียนออนไลน์ของมหาวิทยาลัย ราชภัฎนครราชสีมา. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University. 2554; 4(1): 652-666.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-04-2023