ประสิทธิผลยาพอกสมุนไพรบรรเทาอาการปวดเข่าจากโรคข้อเข่าเสื่อมของประชาชนบ้านควนเคี่ยม อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
คำสำคัญ:
ยาพอกสมุนไพร , อาการปวดเข่า, โรคข้อเข่าเสื่อมบทคัดย่อ
โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุข ทั้งระดับโลก ระดับประเทศ และพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนเคี่ยม จากรายงานผู้มารับบริการแพทย์แผนไทยด้วยอาการปวดเข่ามีถึงร้อยละ 60 ของผู้ป่วยทั้งหมด รพ.สต.บ้านควนเคี่ยม คิดค้นตำรับยาพอกเข่าสมุนไพรขึ้น ด้วยการนำสมุนไพรในท้องถิ่นมาทำเป็นยาพอกสมุนไพรรสร้อน สรรพคุณ ลดปวดกล้ามเนื้อ และข้อ การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลยาพอกสมุนไพรต่อการบรรเทาอาการปวดเข่าจากโรคข้อเข่าเสื่อมของประชาชนบ้านควนเคี่ยม อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง ใช้ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล มกราคม - มีนาคม 2564 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 40 คน แบ่งเข้ากลุ่ม 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม จับคู่ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน กลุ่มละ 20 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมิน Modified WOMAC ฉบับภาษาไทย ทำการทดลอง 3 ครั้ง ครั้งละ 20 นาที วัดระดับความปวดก่อน และหลังการทดลองทุกครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยค่าสถิติ ร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ยความปวดของแต่ละกลุ่มก่อน และหลัง ใช้สถิติ Pair t-test เปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยความปวดระหว่างกลุ่มก่อน และหลัง ใช้สถิติ Independent t-test ผลการศึกษาพบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยความปวดของกลุ่มทดลองหลังการทดลองทั้ง 3 ครั้ง ต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) ค่าคะแนนเฉลี่ยความปวดกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมหลังการทดลอง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) ผลการวิจัยในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการใช้ยาพอกเข่าสมุนไพรสามารถลดระดับความปวดเข่าได้
Downloads
References
World Health Organization. The burden of musculoskeletal conditions as the startmillennium: report of a WHO scientific group. Accessed 9 Jan 2022 from https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/42721/WHO_TRS_919.pdf?sequence=1&isAllowed=y
Haq SA and Davatchi F. Osteoarthritis of the knees in the COPCORD world. International J of Rheumatic Diseases. 2011; 14(2): 122-29.
ปิยมล มัทธุจัด, และอลิสา นิติธรรม. ประสิทธิพลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมเพื่อลดอาการปวดข้อเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม ที่มารับบริการการรักษา ณ คลินิกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี. วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์. 2563; 20(1): 70-89.
จันทร์จิรา เกิดวัน, จิราภรณ์ บุญอินทร์, ชุติมา ธีระสมบัติ และวิไล คุปต์นิรัติศัยกุล. การสำรวจความชุก ของโรคข้อเข่าเสื่อมผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารกายภาพบำบัด. 2559; 38(2): 59-70.
สมชาย อรรฆศิลป์, และอุทิศ ดีสมโชค. โรคข้อเข่าเสื่อม. กรุงเทพฯ, เรือนแก้วการพิมพ์. 2541.
เจษฎา อุดมพิทยาสรรพ์, วินัย สยอวรรณ, วรายุส คตวงค์, ณัฐสุดา แก้ววิเศษ, และอิศรา ศิรมณีรัตน์. การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของการพอกเข่าด้วยตำรับยาพอกสูตรที่ 1 กับยาพอกสูตรที่ 2 ต่ออาการ ปวดเข่าและการเคลื่อนไหวข้อเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม โรงพยาบาลบางใหญ่ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 2562; 11(1): 64-72.
รพ.สต.บ้านควนเคี่ยม. รายงานข้อมูลทั่วไป. 2563.
รพ.สต.บ้านควนเคี่ยม. รายงานการใช้ยา. 2563.
ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย. Modified WOMAC Scale for knee pain. สืบค้นเมื่อ 21 ธันวาคม 2563 จาก https://www.rehabmed.or.th/main/paperjournal/modified-womac-scale-for-knee-pain/
ศิริพร แย้มมูล, เจษฎา อุดมพิทยาสรรพ์, และอิศรา ศีรมณีรัตน์. ประสิทธิผลของการพอกเข่า ด้วยตำรับสมุนไพรต่ออาการปวดเข่าในผู้ป่วยโรคจับโปงแห้งเข่า โรงพยาบาลบ้านโคก อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี. 2018; 1(1): 16-27.
ไข่มุก นิลเพ็ชร, วีระชาติ อำนาจวรรณพร, สโรชา พฤกษวัน, และพุพศรี จุลจรูญ. ประสิทธิผลของสมุนไพรพอกเข่าต่อระดับความปวดเข่าในผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฟ้าห่วน ตำบลไร่ขี อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2565 จาก http://www.amno.moph.go.th/amno_new/files/3p15.pdf
สุธินันท์ วิจิตร, ซากีมะห์ สะมาแล, ชวนชม ขุนเอียด, วิชชาดา สิมลา, ตั้ม บุญรอด, และศิริรัตน์ ศรีรักษา. ประสิทธิผลของยาพอกเข่าตำรับหลวงปู่ศุขวัดปากคลองมะขามเฒ่าต่อการบรรเทาอาการปวดและองศาการเคลื่อนไหวในผู้ป่วยโรคลมจับโปงแห้ง. วารสารหมอยาไทยวิจัย. 2565; 8(1): 47-62.
เมดไทย. ขิง. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2563 จากhttps://medthai.com/%e0%b8%82%e0%b8%b4%e0%b8%87/
ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. ไพล,ข่า. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2563 จาก https://apps.phar.ubu.ac.th.
Disthai. กระทือ งานวิจัยและสรรพคุณ. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2563 จาก https://www.disthai.com
ธนาวดี ก่ออานันต์. การศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพจากต้นโทงเทง. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2563 จาก https://dric.nrct.go.th/index.php?/Search/SearchDetail/290086
Thai-herbs. ว่านตีนตะขาบ. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2563 จาก https://thai-herbs.thdata.co
Disthai. พริกไทย ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2563 จาก https://www.disthai.com/16488254/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2
ชนวรรณ โทวรรณา และบัณฑิตา สวัสดี. ผลของการใช้ใบชะพลูในอาหารปลาดุกลูกผสม. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2563 จาก https://shorturl.asia/YXzD5
Health2click. ประโยชน์การอาบน้ำอุ่นกับการแช่ดีเกลือ. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2563 จาก https://www.health2click.com/2020
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2023 วารสารการศึกษาและวิจัยการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.