สถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดบริการทันตกรรมในสถานบริการสาธารณสุขภาครัฐภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
คำสำคัญ:
การจัดบริการทันตกรรม , สถานการณ์โควิด-19, สถานบริการสาธารณสุข , จังหวัดชายแดนภาคใต้บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การจัดบริการทันตกรรม และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการจัดบริการทันตกรรมในสถานบริการสาธารณสุขภาครัฐภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ทันตบุคลากร จำนวน 305 คน สุ่มตัวอย่างแบบการเลือกโดยใช้ความบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามปลายปิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ และคำถามปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า การจัดบริการทันตกรรมในสถานบริการสาธารณสุขภาครัฐ กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าสามารถปฏิบัติงานด้านการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสุขภาพช่องปากภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ในระดับปานกลาง โดยด้านการรักษาโรคในช่องปากมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (3.36 ± 1.35) และด้านการฟื้นฟูสภาพช่องปากมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด (2.89 ± 1.59) ผลการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านต่างๆ กับการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสภาพช่องปากสูงสุด 3 อันดับแรก คือ การมีส่วนร่วมของชุมชน (r = 0.796) ระบบการบริการฉุกเฉินและการส่งต่อ (r = 0.736) และระบบการทำงานเครือข่ายในระดับตติยภูมิ (r = 0.717) สอดคล้องกับข้อเสนอแนะจากคำถามปลายเปิดว่า ควรเน้นการให้ทันตสุขศึกษาผ่านระบบออนไลน์ในทุกกลุ่มวัยโดยชุมชนมีส่วนร่วม เน้นการพึ่งพา และดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง และเน้นการรักษาในกรณีฉุกเฉินหรือเร่งด่วน เพื่อลดความทรมานของผู้ป่วย
Downloads
References
World Health Organization. Coronavirus (COVID-19). Accessed 28 June 2021 from https://covid19.who.int
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2564 จาก http://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php
กรมการแพทย์. แนวทางปฏิบัติการรักษาทางทันตกรรมในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 30 มีนาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2564 จาก https://covid19.dms.go.th/Content/Select_Landding_page?contentld= 32
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคในช่องปากภายใต้วิถีชีวิตใหม่ (New normal). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ, สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์. 2563.
ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลสภาวะสุขภาพช่องปาก. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2564 จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php
กรมการแพทย์. แนวทางปฏิบัติตามมาตรการผ่อนปรนการรักษาทางทันตกรรมในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 20 กรกฎาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2564 จาก https://r8way.moph.go.th/ r8wayadmin/page/uploads_file/2021010611184.pdf
ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. จำนวนบุคลากรสาธารณสุขจากแฟ้ม PROVIDER จำแนกตาม PROVIDERTYPE. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2564 จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php
พิมพ์ใจ ทายะติ. รูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุประเทศไทย เพื่อการรู้เท่าทัน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนคริน- ทรวิโรฒ; 2560.
ณัฐวุฒิ พูลทอง, สมศักดิ์ อาภาศรีทองกุล, และสุพัตรา วัฒนเสน. การพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุโดยเครือข่ายชุมชน บ้านโนนสง่า ตำบลซาง อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ. วารสารทันตาภิบาล. 2559; 27(2): 53-67.
ฉวีวรรณ ภักดีธนากุล, อรรถสิทธิ์ ศรีสุบัติ, อัญชลี เนาวรัตน์โสภณ, ประพันธ์ พิพัทธสัจก์, แพรวไพลิน สมพีร์วงศ์, และวีรนันท์ วิชาไทย. การพัฒนารูปแบบการบริการทันตกรรมผู้สูงอายุที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย ตัวอย่างเครือข่ายโรงพยาบาลโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารกรมการแพทย์. 2562; 44(5): 139-144.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2023 วารสารการศึกษาและวิจัยการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.