ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจเลือกใช้สมุนไพรรักษาโรคผิวหนังของประชาชนในตำบลสวนหลวง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • อัสมาอ์ อาแซ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก 95000
  • พิจิตรา คงเกิด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160
  • โรสนานี เหมตระกูลวงศ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก 95000
  • นวลพรรณ ทองคุปต์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก 95000

คำสำคัญ:

สมุนไพร, โรคผิวหนัง , ความรู้, ปัจจัยด้านจิตวิทยา , การตัดสินใจเลือกใช้สมุนไพร

บทคัดย่อ

การศึกษางานวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจเลือกใช้สมุนไพรรักษาโรคผิวหนังของประชาชนในตำบลสวนหลวง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช ศึกษาจากประชาชนจำนวน 240 คน โดยใช้ชุดแบบสอบถาม และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ผล ระยะเวลาที่ทำการศึกษาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2563 ถึง กันยายน 2563 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ สถิติไคสแควร์ และสถิติสัมประสิทธิ์สัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ และอาชีพไม่มีความสัมพันธ์กับระดับการตัดสินใจเลือกใช้สมุนไพรรักษา โรคผิวหนังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value 0.05) ส่วนการศึกษา และรายได้มีความสัมพันธ์กับระดับการตัดสินใจเลือกใช้สมุนไพรรักษาโรคผิวหนังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value 0.05) ปัจจัยด้านความรู้ไม่มีความสัมพันธ์กับการสินใจเลือกใช้สมุนไพรรักษาโรคผิวหนัง ปัจจัยด้านจิตวิทยามีความสัมพันธ์กับระดับการตัดสินใจเลือกใช้สมุนไพรรักษาโรคผิวหนังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value 0.05) ซึ่งกล่าวได้ว่าปัจจัยต่างๆอาจส่งผลให้ประชาชนประชาชนมีการตัดสินใจเลือกใช้สมุนไพรที่แตกต่างกัน

Downloads

Download data is not yet available.

References

ปรียา กุลละวณิชย์ และประวิตร พิศาลบุตร. ตำราโรคผิวหนังในเวชปฏิบัติปัจจุบัน. กรุงเทพฯ, บริษัทโฮลิสติก พับลิชชิ่ง, 2555.

สมคิด วิระเทพสุภรณ์. รายงานผู้ป่วยแผลไฟไหม้ด้วยน้ำมันมะพร้าว. วารสารทางการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. 2556; 11(3): 227-232.

กระทรวงสาธารณสุข และองค์กรภาครัฐ – เอกชน. แผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทยฉบับที่ 1 พ.ศ.2560 – 2564. พิมพ์ครั้งที่ 1. สมุทรปราการ, ทีเอส อินเตอร์พริ้นท์. 2559.

นงเยาว์ ขัดต๊ะ. การพัฒนาเจลบำรุงผิวจากสารสกัดสมุนไพรไทยบางชนิดที่สามารถยับยั้งแบคทีเรีย

ก่อโรคผิวหนัง [วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2558.

Tangjitjareonkun J, and Supabphol R. Application of Aloe Vera on Wound Healing. Journal of Medicine and Health Sciences. 2015; 22(3): 53-67.

สถาบันโรคผิวหนัง. ข้อมูลด้านสถิติ สถิติโรคผู้ป่วยนอกที่พบบ่อย ปีงบประมาณ 2559-2562. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2566 จาก https://www.iod.go.th.

Erdfelder E, Faul F, and Buchner A. GPOWER: A general power analysis program. Behavior Research Methods. Instruments & Computers. 1996; 28(1): 1-11. DOI: 10.3758/BF03203630

Hair JF, Black WC, Babin BJ, and Anderson RE. Multivariate Data Analysis. 7th Edition. New York, Pearson. 2010.

ชนิดา มัททวางกูร, ขวัญเรือน ก๋าวิตู, สุธิดา ดีหนู, และสิริณัฐ สินวรรณกุล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรของประชาชนในเขตภาษีเจริญ. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม. 2562; 20(39): 99-109.

กฤติเดช มิ่งไม้. ความรู ทัศนคติ และพฤติกรรมการใชยาสมุนไพรของผูสูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง

ในอําเภอทาเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 2560; 36(2): 56-69.

Good CV. Dictionary of Education. New York, McGraw-Hill Book. 1973.

Green LW, Kreuter MW, Deeds SG, and Partridge KB. Health Education Planning : A Diagnostic Approach. Mountain View, Mayfield. 1980.

สัณฐิตาพร กลิ่นทอง. พฤติกรรมการใช้สมุนไพรรักษาโรคของประชาชนในจังหวัดเพชรบุรี. การประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฏเพชรบุรี วิจัยเพื่อแผ่นดินไทยที่ยั่งยืน ครั้งที่ 7 “สหวิทยาการ สู่ไทยแลนด์4.0”, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. 2560.

สมเกียรติยศ วรเดช, ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์, เรณู สะแหละ, และยุวดี กองมี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในการดูแลตนเองของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2558; 24(1): 50-59.

นิตยา แสงประจักษ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพของตนเองของผู้สูงอายุ ตำบลนามล จังหวัดกาฬสินธุ์. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์สุขภาพ, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 2562.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-07-2023