ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าของประชาชนอำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • ไพบูลย์ ศรีสุวรรณ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช 80170
  • บุญประจักษ์ จันทร์วิน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก 80000

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการป้องกันโรค, โรคพิษสุนัขบ้า

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า 2) พฤติกรรมการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าของประชาชน อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช มีจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 166 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.948 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติสหสัมพันธ์ Spearman rank correlation coefficient ผลการวิจัยพบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้าทุกด้านอยู่ในระดับสูง โดยด้านทักษะการตัดสินใจมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (--29-11-66930e0a9481402227.png= 4.15, S.D. = 0.52) รองลงมาคือ ด้านความรู้ ความเข้าใจ (--29-11-66930e0a9481402227.png= 4.04, S.D. = 0.52) ด้านการจัดการตนเอง (--29-11-66930e0a9481402227.png= 4.02, S.D. = 0.57) ด้านการเข้าถึงข้อมูล (--29-11-66930e0a9481402227.png= 3.87, S.D. = 0.53) ด้านการรู้เท่าทันสื่อ (--29-11-66930e0a9481402227.png =3.86, S.D. = 0.56) และด้านทักษะการสื่อสาร (--29-11-66930e0a9481402227.png= 3.67, S.D. = 0.58) พฤติกรรมการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง (--29-11-66930e0a9481402227.png= 3.85, S.D. = 0.52) เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า ด้านการรู้เท่าทันสื่อ ด้านการจัดการตนเอง ด้านทักษะการตัดสินใจ ด้านความรู้ ความเข้าใจ ด้านทักษะการสื่อสารมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง (r = 0.54, 0.51, 0.49, 0.45 และ 0.41) ตามลำดับ สำหรับด้านการเข้าถึงข้อมูลโรคพิษสุนัขบ้าความสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำ (r = 0.36) ดังนั้น สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหัวไทร ควรจะต้องประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีความรอบรู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า ให้เกิดความตระหนัก และส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเพื่อลดอัตราป่วยและตายจากโรคพิษสุนัขบ้า

Downloads

Download data is not yet available.

References

สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค. ชุดความรู้โรคพิษสุนัขบ้า. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี, กระทรวงสาธารณสุข. 2554.

World Health Organization. Epidemiology and burden of disease. Switzerland. 2018.

กรมควบคุมโรค. แผนยุทธศาสตร์การกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปภายใน พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020). กรุงเทพมหานคร, โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. 2562.

กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้า. นนทบุรี, กระทรวงสาธารณสุข. 2565.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช. รายงานโรคพิษสุนัขบ้า. นนทบุรี, กระทรวงสาธารณสุข. 2567.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. คู่มือนักปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ: การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร, ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. 2557.

นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์. การนำความฉลาดทางสุขภาพไปปฏิบัติงานสาธารณสุข. วารสารวิจัยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2558; 8(2): 68-75.

Parker RM, Baker DW, William MV, and Nurss JR. The test of functional health literacy in adult: A new instrument for measuring patient’s literacy skills. Journal of General International Medicine. 1995; 10: 537-41.

World Health Organization. Health literacy and health promotion, definitions, concepts and examples in the Eastern Mediterranean Region. Accessed 20 January 2024 from https://www.afro.who.int/news/7th-global-conference-health-promotion-president-kibaki-urges-more-resources-african-health.

พุธิตา ภูมี. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าของเจ้าของสัตว์เลี้ยง ตำบลพุทธบาท อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์. [วิทยานิพนธ์]. ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยนเรศวร. 2564.

กู้เกียรติ ก้อนแก้ว, วรรณภา เรือนทอง, และอรวรรณ อัตถะบูรณ์. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในเขตอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2564; 29(4): 601-7.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหัวไทร. รายงานประจำปี 2566. นครศรีธรรมราช, สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหัวไทร. 2566.

Faul F, Erdfelder E, Lang AG, and Buchner A. G*power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods. 2007; 39(2): 175-91.

Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. 2nd ed. Hillsdale, Lawrence Erlbaum Associates Publishers. 1998.

จันทกานต์ วลัยเสถียร. ความรอบรู้ด้านสุขภาพกับการป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าแกนนำชุมชนในพื้นที่อำเภอศรีณรงค์ จังหวัดสุรินทร์. [รายงานวิจัย]. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา. 2564.

Likert R. A technique for the measurement of attitude. Archives of Psychology. 1932; 140: 1-55.

Best JW. Research in education. 3nd ed. Englewood Cliffs, Prentice-Hall. 1977.

Bartz AE. Basic statistical concepts. 4th ed. New Jersey, Prentice–Hall. 1999.

นภดล จันทร์เอี่ยม, ณัฐณีย์ มีมนต์, และภัทรียา กิจเจริญ. ปัจจัยกำหนดความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับโรคพิษสุนัขบ้าในนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในพื้นที่ประจำถิ่นของโรคพิษสุนัขบ้า. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2565; 31(3): 426-36.

ปานแก้ว รัตนศิลป์กัลชาญ, และกาญจนา เหลืองอุบล. ความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าของแกนนำชุมชนพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้าและพื้นที่ไม่ปลอดภัยโรคพิษสุนัขบ้า เขตสาธารณสุขที่ 7. วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น. 2565; 14(1): 1-28.

ศิรินันท์ คำสี. ความเชื่อด้านสุขภาพที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่มีการระบาด ตำบลหัวไทร อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารกรมการแพทย์. 2561; 43(2): 137-40.

วรรณวิมล สุรินทร์ศักดิ์, กาญจนา อ่ำอินทร์, ประวิทย์ คํานึง, และเอกรินทร์ วัฒนพลาชัยกูร. พฤติกรรมการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าของประชาชนในพื้นที่ชายแดน จังหวัดสระบุรี. วารสารรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ (WESR). 2559; 47(34): 529-35.

Nutbeam D. Health promotion glossary. Health Promotion International. 1998; 13: 349-64.

Nutbeam D. The evolving concept of health literacy. Social Science and Medicine. 2008; 67(12): 2072-78.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-11-2024