ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของผู้สูงอายุในตำบลชำราก อำเภอเมือง จังหวัดตราด
คำสำคัญ:
ทันตสุขภาพ, ผู้สูงอายุ, พฤติกรรมการดูแลตนเองบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง (Cross-sectional descriptive study) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพ และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพของผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลชำราก อำเภอเมือง จังหวัดตราด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ จำนวน 201 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติไคสแควร์ (Chi-square test) ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 62.2 อายุอยู่ในช่วงระหว่าง 60 – 64 ปี ร้อยละ 73.6 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 84.1 สถานภาพการสมรส ร้อยละ 62.2 ระดับการศึกษาสูงสุด อยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 35.8 ประกอบอาชีพ ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 26.9 มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลทันตสุขภาพอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 63.7 มีทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลทันตสุขภาพระดับสูง ร้อยละ 57.2 และมีพฤติกรรมเกี่ยวกับการดูแลทันตสุขภาพระดับปานกลาง ร้อยละ 63.7 ผลการศึกษาความสัมพันธ์ พบว่า เพศ อาชีพ ทัศนคติต่อการดูแลสุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์กับการดูแลทันตสุขภาพของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) จากผลการวิจัยนี้ แนะนำให้ผู้ที่ปฏิบัติงานและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต้องมีการเสริมสร้างทัศนคติที่ดีต่อการดูแลสุขภาพช่องปากให้แก่ผู้สูงอายุ เพื่อเสริมสร้างการป้องกันและความตระหนักในการดูแลทันตสุขภาพต่อผู้สูงอายุ
Downloads
References
กรมอนามัย. รายงานประจำปี สำนักอนามัยผู้สูงอายุ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. นนทบุรี, กระทรวงสาธารณสุข. 2567.
กรมอนามัย. การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพตามกลุ่มวัย. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี, กระทรวงสาธารณสุข. 2564.
กรมอนามัย. การส่งเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุ. นนทบุรี, กระทรวงสาธารณสุข. 2564.
กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ, โรงพิมพ์สามเจริญพาณิชย์จำกัด. 2564.
สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดตราด. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2564 จาก https://trat.m-society.go.th/index.php.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราด. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2564 จาก http://www.trathealth.com/index.php.
Bixley B. Statistics: An Introductory Analysis, by Taro Yamane. Canadian Journal of Economics and Political Science/Revue canadienne de economiques et science politique. 1965; 31(1): 163.
Best JW, & Kahn J. Research in education. Englewood. 1981.
สุภาพร ผุดผ่อง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์. 2563; 4(1): 101-19.
ณัฐพนธ์ สมสวาท. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความต้องการการบริการทางทันตกรรมของผู้สูงอายุในเขตตำบลจองคำ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. [วิทยานิพนธ์]. ปริญญาสาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น. 2559.
นิตยา เจริญกุล, ฤาเดช เกิดวิชัย, และศรีปริญญา ธูปกระจ่าง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมด้านทันตสุขภาพ ของผู้ใช้บริการทันต กรรมกรณีศึกษาโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเวียงสระ. วารสารสหวิทยาการวิจัย:ฉบับบัณฑิตศึกษา. 2557; 3(2): 12-22.
Taiwo JO, Ibiyemi O, and Bankole O. Oral health attitudes and practices of the elderly people in South East Local Government Area (SELGA) in Ibadan. Oral Health. 2012; 2(4).
Mauline A F, Bramantoro T, and Palupi R. Dental Health Behavior in Elderly based on Demographic Characteristics. Indian Journal of Public Health Research & Development. 2019; 10(4).
Choi SS. (2007). A study on dental hygiene students knowledge, attitude and behavior towards the elderly in Gyeong-Ju. Journal of dental hygiene science. 2007; 7(2): 59-64.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารการศึกษาและวิจัยการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.