“ถ้าคุณรู้สึกถึงความเจ็บปวด นั่นแปลว่าคุณยังมีชีวิต

แต่ถ้าคุณรับรู้ความเจ็บปวดของผู้อื่น นั่นแปลว่าคุณเป็นมนุษย์” … Leo Tolstoy

         ปัญหาสังคมไทยที่เป็นวิกฤติในปัจจุบัน คือโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จากไวรัสโคโรนากลุ่มอาการทางเดินทางหายใจเฉียบพลันรุนแรง 2 (SARS-CoV-2)  ซึ่งเริ่มปรากฏในเดือนธันวาคม 2562 ที่นครอู่ฮั่น เมืองเอกของมณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน จากนั้นต่อมาได้มีการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ไปทั่วโลก ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ในประเทศไทยก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นทุกปี บางปีสถานการณ์รุนแรงส่งผลกระทบต่อสุขภาพถึงขั้นต้องออกมาตรการเข้มข้นเพื่อแก้ปัญหา ด้วยคำแนะนำการดูแลสุขภาพและเตือนประชาชนให้ระวังหรือหลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่ฝุ่นเกินค่ามาตรฐานหรือการสวมหน้ากากป้องกันฝุ่นละออง รวมทั้งภาวะโลกร้อน (Global warming) และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change) นับวันจะเป็นเรื่องใกล้ตัวที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การที่โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นมีผลทำให้สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดภัยธรรมชาติบ่อยขึ้นและรุนแรงมากขึ้น     

สภาวการณ์ปัญหาทั้งปวงส่งผลกระทบต่อสุขภาพที่เชื่อมโยงไปถึงระบบเศรษฐกิจและสังคม ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทุกมิติที่ต้องเรียนรู้ ปรับตัว และสร้างความสมดุลเพื่อการบริหารชีวิตให้อยู่รอดปลอดภัย เป็นผลให้มีการรณรงค์แนวทางแก้ไขที่อยู่บนพื้นฐานของคุณค่าด้วยการร่วมมือกันของมนุษยชาติที่ต้องรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ให้มีส่วนร่วมในการศึกษา สร้างแนวทางป้องกันปัญหาภัยพิบัติธรรมชาติ และการสื่อสารความเห็นอกเห็นใจต่อกันและกัน อันเป็นสิ่งที่สังคมตระหนักรู้เพื่อสวัสดิภาพอย่างยั่งยืนของมวลชน  

          วารสาร “ปราชญ์ประชาคม” ณ วันนี้ เป็นปีที่ 1 ฉบับที่ 3 ของเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2566  คณะทำงานยังคงมุ่งหวังตั้งมั่นตามปณิธานสืบสานหน้าที่ของตน คือ ทำเหตุให้ดีที่สุด เพื่อผลที่ดีที่สุดต่อสังคมแห่งการเรียนรู้เป็นอนันตกาล แม้ว่าปัจจุบันจะไม่มีสัญญาณการรับรู้ล่วงหน้าว่าอนาคตทุกนาทีชีวิตจะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้าง เพราะเพียงชั่วขณะที่เรายังมีความมั่นใจในความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ความอยู่รอดปลอดภัย หรือความสุขกายสบายอารมณ์ แล้วนาทีต่อมาความสุขสมอารมณ์หมาย อาจถูกท้าทายให้พลัดพรากสูญสลายทุกอย่างไปแล้วตามความไม่เที่ยงแท้ของสรรพสิ่งด้วยกฎแห่งโลกธรรม ตอกย้ำให้มนุษย์ได้เข้าใจตรงกันว่าความสำเร็จในอดีตนั้น มิใช่เป็นหลักประกันในอนาคต

          กองบรรณาธิการ จึงขอขอบพระคุณในมิตรภาพที่งดงามจากความเอื้ออารีวิถีปราชญ์ของผู้ทรงคุณวุฒิ ความเสียสละด้วยจิตอาสาของคณะทำงานและผู้ส่งบทความวิชาการ ที่ทำให้วารสารฉบับนี้มีความสมบูรณ์ทั้งคุณค่าและความหมายต่อสาธารณชน ตามความฝันและพลังที่มั่นคงในวลีปัญญาชนว่า …

         “อย่าเป็นคนที่งดงามสำหรับโลกใบนี้ แต่จงเลือกคนที่ทำให้โลกใบนี้ของคุณงดงาม” 

เผยแพร่แล้ว: 2023-06-30

การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในยุคดิจิทัลตามความคิดเห็นของบุคลากร ในโรงเรียนมัธยม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุตรดิตถ์

จิตสุภา สารพันธ์ , จักรกฤษณ์ กังหัน , จิณณ์ณิตา ทับทิม , พรรณิศา ขันเพ็ชร , ภัทราพร เยาวรัตน์ , สถิรพร เชาวน์ชัย

43-54

การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเพื่อรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตาก

เพ็ญพิชชา ใจยอด , ธาริดา สกลภัทรสกุล , พันธกานต์ ทรงบุญรอด , พัชรกฤษฎิ์ เนื้อไม้ , สถิรพร เชาวน์ชัย

68-81