Home
การส่งบทความ
ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
เป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หากมีกรุณาอธิบายในข้อความถึงบรรณาธิการ)
เตรียมบทความในรูปแบบของไฟล์ Microsoft Word
มีการให้ URL ที่เข้าถึงได้ สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต
พิมพ์บทความโดยใช้ระยะห่างบรรทัดปกติ (single-spaced) ขนาดฟอนต์ 16 pt (ในภาษาไทย) และ 12 pt (ในภาษาอังกฤษ) ใช้ตัวเอนแทนการขีดเส้นใต้สำหรับสังกัดผู้แต่ง (ยกเว้นที่อยู่ URL) และระบุข้อมูล รูปวาด รูปภาพ และตาราง ในตำแหน่งที่เหมาะสม เป็นตามข้อกำหนดของวารสาร
บทความเตรียมตามข้อกำหนด ทั้งในด้านของรูปแบบและการเขียนเอกสารอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)
ต้องเป็นบทความ Original ซึ่งแสดงค่าร้อยละของความคล้ายคลึงได้ไม่เกิน ร้อยละ 20
วารสารจะออกแบบตอบรับการตีพิมพ์ให้ได้ ในกรณีที่บทความได้ผ่านกระบวนการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แต่งได้แก้ไขอย่างถูกต้องครบถ้วนแล้ว
การจัดเตรียมบทความต้นฉบับ ประเภทของบทความ 1. บทความวิจัย (Research article) คือ งานเขียนที่นำเสนอผลงานวิจัยอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วย บทคัดย่อ (Abstract) บทนำ (Introduction) วรรณกรรมและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง (Literature Review) วิธีดำเนินการวิจัย (Research Methodology) ผลการวิจัย (Results) อภิปรายผล (Discussion) สรุปและข้อเสนอแนะ (Conclusion and Recommendation) กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement) (ถ้ามี) บรรณานุกรม (References)ตัวอย่างการนำเสนอบทความวิจัย https://shorturl.at/wGKXZ
2. บทความวิชาการ (Academic article) คือ งานเขียนที่มีความน่าสนใจ นำเสนอองค์ความรู้ใหม่ ลำดับเนื้อหาอย่างเหมาะสม วิเคราะห์ วิจารณ์อย่างเป็นระบบโดยมีฐานคิดหรือทฤษฎีรองรับ ประกอบด้วย บทคัดย่อ (Abstract) บทนำ (Introduction) เนื้อเรื่อง (Content) สรุปและข้อเสนอแนะ (Conclusion and Recommendation) และบรรณานุกรม (References) ตัวอย่างการนำเสนอบทควาวิชาการ https://shorturl.at/vxMV2
รูปแบบของต้นฉบับ 1. ความยาวของบทความประมาณ 12 – 15 หน้ากระดาษ A4 (รวมบทคัดย่อและบรรณานุกรม)
2. Font TH Sarabun New
ชื่อเรื่อง ตัวหนา ขนาด 20 pt
ชื่อผู้เขียน ตัวหนา ขนาด 16 pt
เนื้อเรื่อง หัวข้อหลัก ตัวหนา ขนาด 18 pt
เนื้อเรื่อง ตัวปกติ ขนาด 16 pt
เชิงอรรถ ตัวปกติ ขนาด 14 pt
ตั้งค่าหน้ากระดาษ เว้นขอบบน ล่าง ซ้าย ขวาเท่ากัน ด้านละ 1 นิ้ว หรือ 2.54 เซนติเมตร กำหนดระยะห่างระหว่างบรรทัดเท่ากับ 1 และเว้นบรรทัดระหว่างย่อหน้า
ชื่อบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พิมพ์ไว้ตรงกลางหน้าแรก ส่วนชื่อผู้เขียน พิมพ์ชิดขวา
Abstract จำนวน 1 ย่อหน้า ความยาว 250 - 300 คำ และมี keywords ไม่เกิน 3 คำ
บทคัดย่อ จำนวน 1 ย่อหน้า ความยาว 250 - 300 คำ และมีคำสำคัญ ไม่เกิน 3 คำ
เนื้อหาบทความต้องมีสาระสำคัญตามประเภทของบทความ จัดพิมพ์ 1 คอลัมน์ บนกระดาษขนาด A4 ใส่เลขหน้ากำกับทุกหน้าที่มุมบนด้านขวา (ยกเว้นหน้าแรก) พร้อมทั้งตรวจสอบความถูกต้องของภาษาตามหลักไวยากรณ์
ตัวเลขทั้งหมดในบทความ ให้ใช้เลขอารบิกเท่านั้น การวงเล็บภาษาอังกฤษ ให้ใช้ดังตัวอย่าง ความเป็นพลเมือง (Citizenship) ความเป็นพลเมืองดิจิทัล (Digital citizenship)
รูปภาพและตาราง (ถ้ามี) ต้องสอดคล้องกับเนื้อหาในต้นฉบับและมีความคมชัด พร้อมระบุหมายเลขกำกับ พิมพ์ตัวหนา เช่น ตารางที่ 1 หรือ Table 1 ไว้ด้านบนของตาราง และ ภาพที่ 1 หรือ Figure 1 ไว้ด้านล่างของภาพ
การอ้างอิงและบรรณานุกรมใช้หลักเกณฑ์ APA ไม่เกิน 30 รายการ และเป็นการอ้างอิงที่สอดคล้องกับเนื้อหา
บทความจะต้องมีความซ้ำซ้อนทางภาษาไม่เกิน 20%
ตัวอย่างการเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรม https://bit.ly/3TeIet1
การส่งต้นฉบับ 1. ขอให้ผู้เขียนอ่านคำแนะนำการจัดเตรียมต้นฉบับอย่างละเอียด 2. ส่งบทความต้นฉบับ จำนวน 2 ไฟล์ 2.1 รูปแบบของไฟล์ Microsoft Word มีรายละเอียดครบถ้วนตามประเภทของบทความวิจัยหรือบทความวิชาการ โดยให้มีเนื้อหา ตาราง และภาพประกอบอยู่ในไฟล์เดียวกัน 2.2 รูปแบบของ PDF ที่แปลงจากไฟล์ Microsoft Word โดยในเนื้อหาไม่แสดงชื่อผู้เขียนบทความ และไม่แสดงสังกัดของผู้เขียนบทความ
อนึ่ง สามารถส่งบทความต้นฉบับผ่านระบบ Online Submission ที่เว็บไซต์ของ ThaiJo
กระบวนการพิจารณาบทความ
ลิขสิทธิ์ของบทความ ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารปราชญ์ประชาคม ห้ามมิให้นำเนื้อหาส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือทั้งหมดไปทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากวารสารอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร