ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • อภิชาติ จิตรวิบูลย์ โรงพยาบาลพ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์ อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80250

คำสำคัญ:

ความรู้เกี่ยวกับยาปฏิชีวนะ , ทัศนคติเกี่ยวกับยาปฏิชีวนะ, พฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะ และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 281 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม มีค่า IOC ระหว่าง 0.67 – 1.00 แบบสอบถามด้านความรู้ มีค่า KR-20 เท่ากับ 0.74 ด้านทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะ มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.79 และ 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Multiple logistic regression ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 45.9 ระดับทัศนคติเกี่ยวกับยาปฏิชีวนะอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 62.4 มีพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะดี ร้อยละ 63.1 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะ พบว่า อสม. เพศหญิง จะมีโอกาสมีพฤติกรรมกรรมที่ดีกว่า 0.25 เท่าเมื่อเทียบกับเพศชาย อสม. ที่มีรายได้มากกว่า 10,000 บาท จะมีโอกาสมีพฤติกรรมที่ดีลดลง ร้อยละ 71.0 เมื่อเทียบกับรายได้ไม่น้อยกว่า 10,000 บาท และ อสม. ที่มีความรู้เกี่ยวกับยาปฏิชีวนะในระดับปานกลางและดี จะมีโอกาสมีพฤติกรรมที่ดีกว่า 2.79 และ 3.74 เท่า เมื่อเทียบกับระดับความรู้ต่ำ ดังนั้น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรจัดโปรแกรมการอบรมเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผลให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อให้เป็นแกนนำการใช้ยาที่ถูกต้อง และสร้างทัศนคติที่ดีให้ อสม.

Downloads

Download data is not yet available.

References

สำนักงานประสานการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ. คู่มือการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ตามบัญชียาหลักแห่งชาติ ยาระบบประสาทส่วนกลาง เล่ม 1. นนทบุรี. กรมควบคุมยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. 2553.

ศูนย์เฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์เชื้อดื้อยาในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2566 จาก http://www.nih.dmsc.moph.go.th/fsheet/showimgpic.php?id=5.

Apisarnthanarak A, and Mundy LM. Correlation of antibiotic use and antimicrobial resistance in Pratumthani, Thailand, 2000 to 2006. American Journal of Infection Control. 2008; 36(9): 681-2. DOI: 10.1016/j.ajic.2007.10.022.

Taylor JA, Kwan-Gett TSC, and McMahon EM. Effectiveness of an educational intervention in modifying parental attitudes about antibiotic usage in children. Pediatrics. 2003; 11: 548-54.

กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560-2564. นนทบุรี. กระทรวงสาธารณสุข. 2564.

โรงพยาบาลพ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์. รายงานมูลค่าการใช้ยาโรงพยาบาลพ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์. นครศรีธรรมราช. โรงพยาบาลพ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์. 2566.

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. นนทบุรี. สถาบันวิจัยระบบ สาธารณสุข. 2564.

พฤหัสกัญยา บุญลบ, นวพรรธน์ ดีประเสริฐวรกร, อนุรักษ์ มีอิ่ม, เจริญ ทุนชัย, และพระครูโอภาสกาจนธรรม. การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในเขตเทศบาลเมืองชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. วารสารสิรินธรปริทรรศน์. 2563; 21(2): 197–205.

พัชร์สณธิ์ อ่วมเกิด. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดปทุมธานี. [วิทยานิพนธ์]. ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2560.

อัมพร ยานะ, และดลนภา ไชยสมบัติ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของผู้รับบริการแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลชุมชน. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2564; 31(1): 121-34.

ณัฐพล ผลโยน. การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 2566; 26(1): 89-100.

พิเชฐ เจริญเกษ. สุขศึกษากับกระบวนการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. ชลบุรี, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2548.

Yamane T. Statistics: An Introduction Analysis. 3rd ed. New York, Harper & Row. 1973.

Bloom BS. What we are learning about teaching and learning: a summary of recent research. Principal. 1986; 66: 6-10.

Best JW. Research in education. 3rd ed. New Jersey. Prentice-Hall. 1977.

สุรีย์พันธ์ วรพงศธร. การวิจัยทางสุขศึกษา. กรุงเทพฯ, สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคําแหง. 2558.

สุวัฒน์ ปริสุทธิวุฒิพร, และมัณฑนา เหมชะญาติ. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของผู้รับบริการในโรงพยาบาลขลุง จังหวัดจันทบุรี. วารสารศูนย์การศึกษาแพทย์ศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2557; 31(2): 114-27.

ชนิตา ธีระนันทกุล. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะในโรคหวัดในเด็กของผู้ปกครองในกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์]. ปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2562.

อรอุมา อินทนงลักษณ์. พฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของประชาชนตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. [การค้นคว้าอิสระ]. ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยพะเยา. 2556.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12-03-2024