ผลของการใช้อุปกรณ์ดามข้อศอกชนิดเหยียดงอข้อศอกในผู้ป่วยที่มีปัญหาข้อศอกยึดติด
คำสำคัญ:
การฟื้นฟู, ผู้ป่วยข้อศอกยึดติด, อุปกรณ์ดามข้อศอกชนิดเหยียดงอข้อศอกบทคัดย่อ
ปัญหาข้อศอกติดเป็นภาวะแทรกซ้อนภายหลังจากการบาดเจ็บหรือผ่าตัดบริเวณข้อต่อ ทำให้พิสัยการเคลื่อนไหว และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง ส่งผลให้ผู้ป่วยใช้แขน และมือในการทำกิจกรรมได้ลดลง งานกิจกรรมบำบัดจึงได้ดัดแปลง Static progressive splint จากแผ่นเทอร์โมพลาสติก เพื่อช่วยเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวข้อศอก โดยผู้ป่วยสามารถนำอุปกรณ์กลับไปใช้ที่บ้าน และลดการมารับบริการที่โรงพยาบาล งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้อุปกรณ์ดามข้อศอกชนิดเหยียดงอข้อศอกในผู้ป่วยที่มีปัญหาข้อศอกยึดติด เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 20 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง 10 คน กลุ่มควบคุม 10 คน กลุ่มควบคุมได้รับโปรแกรมฝึกแบบดั้งเดิม และให้เครื่องบริหารข้อศอกแบบต่อเนื่อง ส่วนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมฝึกแบบดั้งเดิมร่วมกับให้อุปกรณ์ดามข้อศอกชนิดเหยียดงอข้อศอกกลับไปใส่ที่บ้าน วัดช่วงการเคลื่อนไหวสำหรับการทำกิจกรรม และประเมินความสามารถในการเคลื่อนไหวของแขน ไหล่ และมือ ฉบับภาษาไทยก่อนและหลังนัดติดตาม 3 เดือน การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปใช้สถิติเชิงพรรณนา Wilcoxon signed-rank test และ Mann-Whitney U test เปรียบเทียบภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม ผลการวิจัยพบความสามารถในการเคลื่อนไหวของแขน ไหล่ และมือเฉพาะส่วนของการทำงาน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) อุปกรณ์ดามข้อศอกชนิดเหยียดงอข้อศอกช่วยให้ผู้ป่วยข้อศอกยึดติดมีความสามารถด้านการใช้แขนและมือในการทำงานและทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตและกิจวัตรประจำวันได้เพิ่มขึ้น
Downloads
References
พิศักดิ์ ชินชัย และทศพร บรรยมาก. กิจกรรมบำบัดสำหรับผู้มีปัญหาด้านระบบประสาท. พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่, ออเร้นท์-กรุ๊ปเทคนิคดีไซด์. 2551. หน้า 123-43.
ตุลยพฤกษ์ ถาวรสวัสดิ์รักษ์. ตำราการบาดเจ็บทางออร์โธปิดิกส์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ, สำนักพิมพ์บริษัททรัสต์อัสจำกัด. 2562. หน้า 47-50.
Nandi S, Maschke S, Evans PJ, and Lawton JN. The stiff elbow. Hand. 2009; 4(4): 368-79. DOI: 10.1007/s11552-009-9181-z.
Gullucci GL, Boretto JG, Davalos MA, Donndorff A, Alfie VA, and Carli PD. Dynamic splint For the treatment of stiff elbow. Shoulder and Elbow. 2011; 3(1): 52-5. DOI: 10.1111/j.1758-5740.2010.00096.x.
Gelinas JJ, Faber KJ, Patterson SD, and King GJ. The effectiveness of turnbuckle splinting for elbow contractures. The Journal of Bone and Joint Surgery. 2000; 82(1): 74-8. DOI: 10.1302/0301-620x.82b1.9792.
Lindenhovius AL, Doornberg JN, Brouwer KM, Jupiter JB, Mudgal CS, and Ring D. A prospective randomized controlled trail of dynamic versus static progressive elbow splinting for posttraumatic elbow stiffness. The Journal of Bone Joint Surgery. 2012; 94(8): 694-700. DOI: 10.2106/JBJS.J.01761.
Filho GM, and Galvao MV. Post-traumatic stiffness of the elbow. Revista Brasileira de Ortopedia. 2015; 45(4): 347-54. DOI: 10.1016/S2255-4971(15)30380-3.
Garofalo R, Conti M, Notarnicola A, Maradei L, Giardella A, and Castagna A. Effects of one-month continuous passive motion after arthroscopic rotator cuff repair: results at 1-year follow-up of a prospective randomized study. Musculoskeletal Surgery. 2010; 94 (Suppl1): 79-83. DOI: 10.1007/s12306-010-0058-7.
อุดมศรี เดชแสง. ผลของการใช้อุปกรณ์ดามข้อศอกในท่างอและเหยียด. [โปสเตอร์]. การประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2557. เชียงใหม่. 2557.
Institute for Work & Health. แบบประเมิน Disabilities of the arm, shoulder ฉบับภาษาไทย. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2566 จาก https://dash.iwh.on.ca/sites/dash/public/translations/DASH_Thai.pdf.
Seyedoshohadaee M, Ghezeljeh TN , Sargolzaei MS, Khoshnazar TA, Kohestani D, and Haghani S. The effect of implementing a rehabilitation nursing program on hand burn patients’ daily functioning: a randomized clinical trial. Middle East Journal of Rehabilitation and Health Studies. 2022; 9(4): e123847. DOI: 10.5812/mejrh-123847.
Veltman ES, Doornberg JN, Eygendaal D, and van den Bekerom MP. Static progressive versus dynamic splinting for posttraumatic elbow stiffness: a systematic review of 232 patients. Archives of Orthopaedic and Trauma Surgery. 2015; 135(5): 613-7. DOI: 10.1007/s00402-015-2199-5.
Veltman ES, Lindenhovius AL, and Kloen P. Improvements in elbow motion after resection of heterotopic bone: a systematic review. Strategies in Trauma and Limb Reconstruction. 2014; 9(2): 65-71. DOI: 10.1007/s11751-014-0192-0.
Feltri P, Monteleone AS, Marbach F, Filardo G, and Candrian C. Arthroscopic rotator cuff repair: patients with physically demanding work have significantly worse time to return to work, level of employment, and job loss. Knee Surgery Sports Traumatology Arthroscopy. 2022; 31(1): 153-60. DOI: 10.1007/s00167-022-07172-3.
ศศิธร มุกประดับ, ประณีต ส่งวัฒนา, และวิภา แซ่เซี้ย. โปรแกรมส่งเสริมการเคลื่อนไหวแบบมุ่งเป้าหมายต่อผลลัพธ์ด้านกล้ามเนื้อกระดูกและข้อต่อในผู้ป่วยบาดเจ็บที่มีข้อจำกัดด้านการเคลื่อนไหว: การศึกษานำร่อง. วารสารสภาการพยาบาล. 2557; 29(2): 49-60.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
License
Copyright (c) 2023 วารสารการศึกษาและวิจัยการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.