การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมกับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุม โรคไข้เลือดออกของประชาชนอำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรค , โรคไข้เลือดออกบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการมีส่วนร่วมกับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก กลุ่มตัวอย่างจำนวน 284 ตัวอย่าง การสุ่มตัวอย่างใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.964 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติสหสัมพันธ์ Spearman rank correlation coefficient ผลการวิจัย พบว่า การมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (= 3.60, S.D. = 1.06) รองลงมา คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ (= 3.59, S.D. = 0.99) ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล (= 3.22, S.D. = 1.07) ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (= 3.08, S.D. = 1.27) พฤติกรรมการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (= 3.26, S.D. = 0.45) เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า ทุกด้านมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอยู่ในระดับสูง โดยด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ มีความสัมพันธ์กันมากที่สุด (rs = 0.725) รองลงมา คือ ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ (rs = 0.703) การมีส่วนร่วมในการประเมินผล (rs = 0.657) และด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (rs = 0.605) ตามลำดับ ข้อเสนอแนะ เพื่อให้การแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกที่มีประสิทธิภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควรสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง และให้ประชาชนร่วมตัดสินใจในการดำเนินการแก้ปัญหาตั้งแต่ขั้นตอนแรก
Downloads
References
กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. ไข้เลือดออก. นนทบุรี: คุรุสภา ลาดพร้าว. 2545.
กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กระทรวงสาธารณสุข. รายงานพยากรณ์โรคไข้เลือดออก ปี 2563. นนทบุรี:กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. 2563.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานพยากรณ์โรคไข้เลือดออก ปี 2562. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. 2562.
สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย. แจ้งเตือนสถานการณ์การระบาดและการเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออก ปี 2565. สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2566 จาก https://www.pidst.or.th/A1271.html.
งานระบาดวิทยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี. รายงานโรคไข้เลือดออก. นนทบุรี. 2566.
Cohen JM. and Uphoff NT. Rural Development Participation: Concept and Measure for Project Design Implementation and Evaluation: Rural Development Committee Center for international Studies. New York: Cornell University Press. 1981.
ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์, และเสาวนีย์ สังข์แก้ว. ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน ตำบลแหลมโตนด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง. วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา. 2557; 9(1): 51-61.
พุทธิพงค์ บุญชู. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก: ศึกษาเปรียบเทียบหมู่บ้านปลอดโรคกับหมู่บ้านที่มีการระบาดของโรคในตำบลน้ำผุด อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง. วารสารสาธารณสุขแลวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2563; 3(3): 79-94.
Best JW. Research in Education. 3rd ed. Englewood cliffs, NJ: Prentice-Hall. 1977.
Bartz AE. Basic statistical concepts. 4th ed. NJ: Prentice–Hall. 1999.
สุดใจ มอนไข่, อภิชาติ ใจอารีย์, และประสงค์ ตันพิชัย. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมต่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของชุมชนบ้านวังไทร ตำบลวังน้ำเขียว อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal. 2556; 6(3): 461-77.
พงษ์ระพี ดวงดี, มธุริน มาลีหวล, ปณิตา ครองยุทธ, และถนอมศักดิ์ บุญสู่. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ตำบลโนนผึ้ง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2563; 3(1): 1-12.
ไพรัตน์ ห้วยทราย, ธนูย์สิญจน์ สุขเสริม, และกฤษณ์ ขุนลึก. การมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของ ประชาชน อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. 2559; 3(1): 64-81.
สุรศักดิ์ เกษงาม, และจิตติ กิตติเลิศไพศาล. การมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลพรเจริญ อำเภอพรเจริญ จังหวัดบึงกาฬวารสารบัณฑิตศึกษา. 2557; 11(53): 81-8.
บุญประจักษ์ จันทร์วิน, นรานุช ขะระเขื่อน, และวัลลภา ดิษสระ. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในอำเภอที่มีอัตราป่วยสูง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารเกื้อการุณย์. 2565; 29(2): 204-17.
วีรพงษ์ ชมภูมิ่ง, และสวัสดิ์ ดวงใจ. การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนในอำเภอสอง จังหวัดแพร่. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก. 2562; 6(3): 47-60.
วิทยา ศรแก้ว. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในตำบลที่มีอัตราป่วยสูง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา. 2565; 2(1): 1-14.
อลงกฎ ดอนละ. ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการปฏิบัติตนในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน อำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10. 2562; 17(1): 43-55.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
License
Copyright (c) 2023 วารสารการศึกษาและวิจัยการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.