ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตด้วยโรคโควิด-19 จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • ธวัชชัย ล้วนแก้ว สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง 92000

คำสำคัญ:

การเสียชีวิต , จังหวัดตรัง , โรคโควิด-19

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาหาความสัมพันธ์ของปัจจัย แบบ Case-control study เพื่อหาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตด้วยโรคโควิด-19 จังหวัดตรัง โดยศึกษาในผู้ป่วยโรคโควิด-19 จำนวน 88 ราย ที่เสียชีวิต (Case group) เปรียบเทียบกับผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่รักษาหายในจำนวนที่เท่ากัน (Control group) ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนมิถุนายน 2566 หลังจากโครงการวิจัยได้รับการรับรองจากคณะกรรมการวิจัย และจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ และวิเคราะห์ตัวแปรเชิงซ้อนโดยใช้ Multiple logistic regression เพื่อหาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิต ผลการศึกษา พบ 4 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตด้วยโรคโควิด-19 จังหวัดตรัง คือ การมีโรคประจำตัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง (Adjusted OR = 2.43, 95%CI = 1.08 - 5.51) การมีโรคประจำตัวเป็นโรคหัวใจ (Adjusted OR = 4.69, 95%CI = 1.39 - 15.88) การได้รับยาต้านไวรัสยาฟาวิพิราเวียร์ (Adjusted OR = 8.28; 95%CI = 3.00 - 22.84) และการไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เข็มที่ 2 (Adjusted OR = 3.36; 95%CI = 1.48 - 7.63) ประชาชนที่มีโรคประจำตัว โดยเฉพาะ โรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 อย่างน้อย 2 เข็ม และควรมีการฉีดกระตุ้นทุกปี ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อลดความรุนแรง และเสียชีวิตหากมีการติดเชื้อโรคโควิด-19

Downloads

Download data is not yet available.

References

WHO. Novel Coronavirus (2019-nCoV) Situation report-1, 21 January 2020. Accessed 15 Aug 2022 from https://www.who.int/docs/defaultsource/coronaviruse/situation-reports/20200121-sitrep-1-2019-ncov.pdf?sfvrsn=20a99c10_4.

WHO. Novel Coronavirus (2019-nCoV) Situation report- 4, 24 January 2020. Accessed 15 Aug 2022 from https://www.who.int/docs/defaultsource/coronaviruse/situation-reports/20200124-sitrep-4-2019-ncov.pdf?sfvrsn=9272d086_8.

WHO. Novel Coronavirus (2019-nCoV) Situation Report–22. Accessed 15 Aug 2022 from https://www.who.int/docs/default-source/coronaviruse/situation-reports/20200211-sitrep-22-ncov.pdf?sfvrsn=fb6d49b1_2.

WHO. COVID-19 Weekly Epidemiological Update 25 February 2021. Accessed 15 Aug 2022 from https://www.who.int/publications/m/item/weekly-epidemiological-update---23-february-2021.

Worldometers. COVID-19 Coronavirus pandemic. 2022. Accessed 16 Jun 2022 from https://www.worldometers.info/coronavirus/.

งานตระหนักรู้สถานการณ์ในภาวะฉุกเฉิน(SAT). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดตรัง. ตรัง. 2565.

Centers for Disease Control and Prevention. Symptoms of COVID-19. 2022. Accessed 16 Jun 2022 from https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/symptoms-testing/symptoms.html.

ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19. สถานการณ์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) วันที่ 18 สิงหาคม 2564. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2565 จาก https://media.thaigov.go.th/uploads/public_img/source/180864.pdf.

กระทรวงสาธารณสุข. สรุปผลการประชุมทางไกล (Web Conference) การเร่งรัดการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เข็มกระตุ้น. นนทบุรี. 2565.

Mojtaba S, Maryam T, Yousef A, Sima A, and Hadiseh H. Factors associated with mortality in COVID-19 patients: A systematic review and meta-analysis. Iranian Journal of Public Health. 2020; 49(7): 1211-21. DOI: 10.18502/ijph.v49i7.3574.

Ting T, Jingwen Z, Liyuan H, Yukang J, Congyuan D, Zhongfei L, and et al. Risk factors associated with mortality of COVID-19 in 3125 counties of the United States. Infect Dis Poverty. 2021; 10(3): 1-8. DOI: 10.1186/s40249-020-00786-0.

Orwa A, Rama B, Jer PO, and Siti MSG. Risk factors for mortality among COVID-19 patients. Diabetes Research and Clinical Practice. 2020; 166: 1-5. DOI: 10.1016/j.diabres.2020.108293.

ปิยนุช ปฏิภาณวัตร. ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงพยาบาลกาฬสินธุ์. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2565; 7(1): 64-71.

Julia J, Florian J, Anna K, Jennifer F, Oliver AC, and Florian K. A cost of illness study of COVID 19 patients and retrospective modelling of potential cost savings when administering remdesivir during the pandemic “first wave” in a German tertiary care hospital. Springer. 2022; 50(1): 191-201. DOI: 10.1007/s15010-021-01685-8.

Leeyaphan J, Leeyaphan C, Suttha P, Taychakhoonavudh S, and Kulthanachairojana N. Healthcare resource utilization and healthcare costs of COVID-19 patients in a tertiary care public hospital: A retrospective cohort study in Thailand. Journal of the Medical Association of Thailand. 2021; 104(12): 1953-8. DOI: 10.35755/jmedassocthai.2021.12.13109.

Schlesselman JJ. Case-control studies. New York: Oxford University Press, 1982.

นิพพาภัทร์ สินทรัพย์, จิณวัตร จันครา และ บุปผา ใจมั่น. โรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ: เพชฌฆาตเงียบที่ควรตระหนัก. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 2560; 28(1): 100-111.

Nanshan C, Min Z, Xuan D, Jieming Q, Fengyun G, Yang H, and et al. Epidemiological and clinical characteristics of 99 cases of 2019 novel coronavirus pneumonia in Wuhan, China: a descriptive study. The Lancet. 2020; 395: 507–13. DOI: 10.1016/S0140-6736(20)30211-7.

กรมการแพทย์. แนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2565 จาก https://covid19.dms.go.th/Content/SelectLandding_page?contentId=172.

กัญชรส วังมุข, ชนัญญา จิระพรกุล, และนวรัตน์ มณีนิน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประเทศไทย: การศึกษาแบบจับคู่. วารสารสาธารณสุขล้านนา. 2565; 18(2): 1-15.

บีบีซีไทย. วัคซีนโควิด: อนุทิน นำ 3 รัฐมนตรี อายุไม่เกิน 60 ปี ฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มแรก. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2565 จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-56227686.

งานสอบสวนโรคในภาวะฉุกเฉิน (JIT). รายงานการสอบสวนการเสียชีวิตด้วยโรคโควิด-19 จังหวัดตรัง. 2565.

กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การระบาด ปี 2564 ของประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2. สมุทรปราการ, บริษัท ทีเอส อินเตอร์พริ้นท์ จำกัด. 2564.

Julia HC, Carol AC, Nisha M, Ruth HK, Karla DO, Kamlesh K, and et al. Risk prediction of COVID-19 related death and hospital admission in adults after COVID-19 vaccination: national prospective cohort study. British Medical Journal. 2021; 374: 2244. DOI: 10.1136/bmj.n2244.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

17-08-2023