ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลยะลา
คำสำคัญ:
เบาหวานชนิดที่ 2 , การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ , พฤติกรรมการบริโภคอาหารบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงบรรยายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลยะลา มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป และมีระดับน้ำตาลในเลือดสะสม (HbA1c)>7% จำนวน 87 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เก็บข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์ และสอบถาม ในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึงกันยายน พ.ศ.2563 เครื่องมือที่ใช้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน มีค่าระหว่าง 0.67-1 และหาค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่า
ของครอนบาคทั้งฉบับเท่ากับ 0.70 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติไคว์สแควร์ ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 60.9 มีอายุ 50–59 ปี ร้อยละ 42.5 สถานภาพคู่ร้อยละ 83.9 มีระดับน้ำตาลสะสม ในเลือด (HbA1c) 9-10% ร้อยละ 44.8 และมีโรคแทรกซ้อนร้อยละ 63.2 กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับอาหารผู้ป่วยเบาหวานระดับปานกลางร้อยละ 50.6 การทดสอบความสัมพันธ์พบว่า ปัจจัยด้านเพศ (Chi-square test = 0.577, p<0.05) การมีโรคแทรกซ้อน (Chi-square test = 14.561, p<0.001) และความรู้เกี่ยวกับอาหารผู้ป่วยเบาหวาน (Fisher’s Exact Test = 5.839, p<0.05) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการศึกษา การพัฒนารูปแบบการดูแลด้านการบริโภคอาหารผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ต้องคำนึงถึงปัจจัยด้าน เพศ การมีโรคแทรกซ้อน โดยมุ่งเป้าหมายเน้นความเป็นปัจเจกบุคคลของผู้ป่วย และควรมีการติดตามผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้
Downloads
References
World Health Organization. Noncommunicable diseases country profiles:. Accessed 10 April 2020 from https://apps.who.int/iris/handle/10665/274512
วิชัย เอกพลากร, หทัยชนก พรรคเจริญ, วราภรณ์ เสถียรนพเก้า. การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครปฐม, สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์. 2564.
กรมควบคุมโรคกองโรคไม่ติดต่อ. รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูงและปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี, สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์. 2563.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. พิมพ์ครั้งที่ 3. ปทุมธานี, ร่มเย็นมีเดีย. 2560.
จงรักษ์ ทองน้อย. พฤติกรรมการบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเกาะสมุยจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2557; 14(1): 11-21.
ฤทธิรงค์ บูรพันธ์ และนิรมล เมืองโสม. ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2556; 6(3): 102-109.
วิชาญ แสงสุขวาว และอมฤทธิ์ จันทนลาช. การศึกษาระดับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะม่วงสองต้น อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช . วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา. 2561; 5(1): 192-200.
สรินฎา ปุติ. ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับการเข้าถึงบริการสุขภาพในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของประชาชนห้าจังหวัดชายแดนใต้ ประเทศไทย. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2561; 38(4): 114-127.
Bloom BS. Learning for Mastery. Instruction and Curriculum. Regional Education laboratory for the Carolinas and Virginia, Topical Papers and Reprints. Number 1 Evaluationcomment. 1968.
Best JW and Kahn JV. Research in Education. Englewood-Cliff. New Jersey, Prentice-Hall Inc. 1981.
กุสุมา กังหลี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สอง โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า. วารสารพยาบาลทหารบก. 2557; 15(3): 256-268.
ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์, สมเกียรติยศ วรเดช, สุทธิพงษ์ รักเล่ง, สุกันยา นัครามนตรี, และพีระวัฒน์ มุททารัตน์. ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่าระดับน้ำตาลในเลือดสะสมของผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลบางแก้ว จังหวัดพัทลุง. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2559; 25(3): 401-410.
ภัสราภรณ์ ทองภูธรณ์ และสุวลี โล่วิรกรณ์. พฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ที่มารับบริการคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลกุดจับ จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2563; 13(1): 22-32.
Ahmad NS, Islahudin F, and Paraidathathu T. Factors associated with good glycemic control among patients with type 2 diabetes mellitus. Journal of Diabetes Investigation. 2014; 5(5): 563-69. DOI: 10.1111/jdi.12175
สุปรียา เสียงดัง. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2560; 4(1): 191-203.
จิรพรรณ ผิวนวล และประทุม เนตรินทร์. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางแก้วใน ตำบลบางแก้ว อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. 2561; 1(3): 46-61.
ศุภัชฌา สุดใจ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดนนทบุรี. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติราชธานีวิชาการครั้งที่ 3 “ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2 : บูรณาการงานวิจัย ใช้องค์ความรู้ สู่ความยั่งยืน”, มหาวิทยาลัยนครราชสีมา. 2559.
สุวัฒน์ ศิริแก่นทราย. ความเชื่อด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ตำบลกุดจิก อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก. 2562; 5(1): 55-67.
อภิญญา บ้านกลาง, อุดมลักษณ์ ดวงผุนมาตย์, และปริศนา รถสีดา. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศิลา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 2559; 23(1): 85-95.
ดวงใจ พันธ์อารีวัฒนา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมค่าน้ำตาลสะสมในเลือดไม่ได้ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลบางแพ จังหวัดราชบุรี. วารสารแพทย์เขต 4-5. 2561; 37(4): 294-305.
อุสา พุทธรักษ์ และเสาวนันท์ บำเรอราช. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลก้างปลา จังหวัดเลย. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2558; 3(1): 21-35.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2023 วารสารการศึกษาและวิจัยการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.