ประสิทธิผลของน้ำมันกัญชาสูตรหมอเดชาต่อการนอนหลับในผู้ป่วยที่รับบริการ คลินิกกัญชาทางการแพทย์ โรงพยาบาลโคกโพธิ์

ผู้แต่ง

  • แวฮาลีเม๊าะ หะยีเจ๊ะเต๊ะ โรงพยาบาลโคกโพธิ์ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี 94120

คำสำคัญ:

คุณภาพการนอน , นอนไม่หลับ , น้ำมันกัญชา

บทคัดย่อ

ปัญหาการนอนไม่หลับส่งผลต่อสุขภาพทุกมิติซึ่งพบได้บ่อยในวัยกลางคนและสูงอายุ การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มเดียววัดซ้ำ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบชั่วโมงการนอนหลับ และศึกษาคุณภาพการนอนหลับตั้งแต่แรกรับ และหลังจากรับประทานน้ำมันกัญชาสูตรหมอเดชา 6 ครั้ง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่มีปัญหานอนไม่หลับทั้งชาย และหญิงที่มาเข้ารับบริการรักษาอาการนอนไม่หลับในคลินิกกัญชาทางการแพทย์ โรงพยาบาลโคกโพธิ์ ระหว่างเดือนมกราคม ถึง ธันวาคม 2565 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ น้ำมันกัญชาสูตรหมอเดชา และเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินคุณภาพการนอนหลับของพิตส์เบิร์ก โดยติดตามคุณภาพการนอนหลับจำนวน 6 ครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Friedman test ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยมีชั่วโมงการนอนหลับหลังจากจากรับประทานน้ำมันกัญชาไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผลของคุณภาพการนอนหลับหลังจากรับประทานน้ำมันกัญชาครบ 28 วัน พบผู้ป่วยมีคุณภาพการนอนหลับดีขึ้นจำนวน 4 คน ดังนั้น น้ำมันกัญชาอาจเป็นทางเลือกในการรักษาอาการนอนไม่หลับเมื่อรับประทานต่อไปอีก  

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมสุขภาพจิต. โรคนอนไม่หลับสัมพันธ์กับนาฬิกาชีวิตแก้ได้โดยไม่ใช้ยา. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2566 จาก https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30519.

Pappa S, Sakkas N, and Sakka E. A year in review: sleep dysfunction and psychological distress in healthcare workers during the COVID- 19 pandemic. Sleep Medicine. 2022; 91: 237-45. DOI: 10.1016/j.sleep.2021.07.009.

โรงพยาบาลโคกโพธิ์. รายงานผู้ป่วยเข้ารับการรักษาด้วยอาการนอนไม่หลับ. ปัตตานี. 2566.

Silva-Costa A, Griep RH, and Rotenberg L. Disentangling the effects of insomnia and night work on cardiovascular diseases: a study in nursing professionals. Brazilian Journal of Medical and Biological Research. 2015; 48(2): 120-27. DOI: 10.1590/1414-431X20143965.

นฤมล กิจจานนท์, และอัจฉรา จงเจริญกำโชค. การรับรู้คุณภาพการนอนหลับของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจในหน่วยวิกฤต. วารสาร Mahidol R2R e-Journal. 2562; 6(1): 48-58. DOI: 10.14456/jmu.2019.5.

Dean YE, Shebl MA, Rouzan SS, Bamousa BAA, Talat NE, Ansari SA, and et al. Association between insomnia and the incidence of myocardial infarction: A systematic review and meta-analysis. Clinical Cardiology. 2023; 46(4): 376–85. DOI: 10.1002/clc.23984.

Yang W, Du X, Zhao J, Chen Z, Li J, Xie J, and et al. Hydrated eutectic electrolytes with ligand-oriented solvation shells for long-cycling zinc-organic batteries. Joule. 2020; 4(7): 1557-74. DOI: 10.1016/j.joule.2020.05.018.

Slavish DC, Asbee J, Veeramachaneni K, Messman BA, Scott B, Sin NL, and et al. The cycle of daily stress and sleep: Sleep measurement matters. Annals of Behavioral Medicine. 2021; 55(5): 413-23. DOI: 10.1093/abm/kaaa053.

Yoo J, Slavish D, Dietch JR, Kelly K, Ruggero C, and Taylor DJ. Daily reactivity to stress and sleep disturbances: unique risk factors for insomnia. Sleep. 2023; 46(2): zsac256. DOI: 10.1093/sleep/zsac256.

Okutsu M, Lira VA, Higashida K, Peake J, Higuchi M, and Suzuki K. Corticosterone accelerates atherosclerosis in the apolipoprotein E-deficient mouse. Atherosclerosis. 2014; 232(2): 414-19. DOI: 10.1016/j.atherosclerosis.2013.11.076.

Yue L, Zhao R, Xiao Q, Zhuo Y, Yu J, and Meng X. The effect of mental health on sleep quality of front-line medical staff during the COVID-19 outbreak in China: A cross-sectional study. PloS One. 2021; 16(6): e0253753. DOI: 10.1371/journal.pone.0253753.

Cardinali DP, Srinivasan V, Brzezinski A, and Brown GM. Melatonin and its analogs in insomnia and depression. Journal of Pineal Research. 2012; 52(4): 365-75. DOI: 10.1111/j.1600-079X.2011.00962.x.

พิเชฐ อุดมรัตน์. การวินิจฉัยและการรักษาปัญหาการนอน. สงขลา. 2548.

วรณัน ธีร์สุดาพรรณ, จินดารัตน์ ชัยอาจ, และโรจนี จินตนาวัฒน์. ผลของโปรแกรมการจัดการการนอนไม่หลับต่อความรุนแรงของการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว. วารสารสภาการพยาบาล. 2565; 37(3): 5-19.

He Q, Zhang P, Li G, Dai H, and Shi J. The association between insomnia symptoms and risk of cardio-cerebral vascular events: A meta-analysis of prospective cohort studies. European Journal of Preventive Cardiology. 2017; 24(10): 1071-82. DOI: 10.1177/2047487317702043.

Hu S, Lan T, Wang Y, and Ren L. Individual insomnia symptom and increased hazard risk of cardiocerebral vascular diseases: A meta-analysis. Front in Psychiatry. 2021; 12: 654719. DOI: 10.3389/fpsyt.2021.654719.

ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562. เล่ม 136 ตอนที่ 19 ก. 2562.

ข้อมูลบริการสุขภาพของไทย. แนวทางการใช้ยาตำรับหมอเดชา (ยาบัญชี 3) กรมการแพทย์แผนไทยฯ. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2566 จาก https://healthserv.net/220259.

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. แนวทางการใช้น้ำมันกัญชา (สูตรหมอเดชา) ที่ผลิตภายใต้ตามรูปแบบพิเศษของการเข้าถึงยา (Special Access Scheme) ในสถานบริการสุขภาพ. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2566 จาก https://thaicam.go.th/SAS.

ศรายุธ ระดาพงษ์, พราว ศุภจริยาวัตร, และเมธิน ผดุงกิจ. ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและพิษวิทยาของกัญชา. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. 2564; 63(1): 219-232.

กลุ่มงานวิชาการและคลังความรู้ กองวิชาการและแผนงาน กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2566 จาก https://www.dtam.moph.go.th/E-Book/academic-meeting-172563/index.html#p=4.

Cohen Jacob. Statistical power analysis for the behavioral sciences. Academic press; 2013.

จินตนา บัวทองจันทร์, อุบล สุทธิเนียม, และเสมอจันทร์ ธีระวัฒน์สกุล. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพในบุคคลกลุ่มเสี่ยงที่มีการเผาผลาญอาหารผิดปกติ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. 2556; 19(2): 46-59.

ตะวันชัย จิรประมุขพิทักษ์, และวรัญ ตันชัยสวัสดิ์. ปัญหาคุณภาพการนอนหลับของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2540; 42(3): 123-132.

กัญญาภัค ศิลารักษ์. ประสิทธิผลของน้ำมันกัญชาสูตร อ.เดชา ต่อคุณภาพการนอนหลับและคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยนอก ณ คลินิกหางกระรอก โรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2565; 16(3): 123-132.

Amaral O, Garrido A, Pereira C, Veiga N, Serpa C, and Sakellarides C. Sleep patterns and insomnia among portuguese adolescents: a cross-sectional study. Atencion Primaria. 2014; 46: 191-94. DOI: 10.1016/S0212-6567(14)70090-3.

Huang AA, and Huang SY. Use of machine learning to identify risk factors for insomnia. Plos one. 2023; 18(4): e0282622. DOI: 10.1371/journal.pone.0282622.

Meaklim H, Saunders WJ, Byrne ML, Junge MF, Varma P, Finck WA, and et al. Insomnia is a key risk factor for persistent anxiety and depressive symptoms: A 12-month longitudinal cohort study during the COVID-19 pandemic. Journal of Affective Disorders. 2023; 322: 52-62. DOI: 10.1016/j.jad.2022.11.021.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-08-2023