อุบัติการณ์และปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะลองโควิดในผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่รักษาในโรงพยาบาลโคกโพธิ์
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยติดเชื้อโรคโควิด-19 , ภาวะลองโควิด , อุบัติการณ์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบการใช้ข้อมูลในอดีต (Retrospective cohort study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะลองโควิดในผู้ติดเชื้อโควิด-19 หลังจากสัปดาห์ที่ 4 - 12 ที่รักษาในโรงพยาบาลโคกโพธิ์ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่รับการรักษาในโรงพยาบาลโคกโพธิ์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 13 มิถุนายน 2565 จำนวน 334 คน (จากประชากรผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั้งหมด 1,171 คน) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่และค่าร้อยละ และสถิติ Binary logistic regression ทดสอบคุณภาพของโมเดลจาก ROC curve ผลการศึกษาพบว่า อาสาสมัครส่วนใหญ่มีภาวะลองโควิด โดยมีอาการอย่างน้อย 1 อาการ ร้อยละ 55.4 ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะลองโควิดคือ อายุ เพศ และโรคประจำตัว โดยกลุ่มที่มีอายุ 61 ปีขึ้นไป และอายุ 19 - 60 ปี มีโอกาสมีภาวะลองโควิดมากกว่ากลุ่มอายุ 0 - 18 ปี 2.68 เท่า และ 2.17 เท่า ตามลำดับ ทั้งนี้ เพศหญิงมีโอกาสเกิดภาวะลองโควิดมากกว่าเพศชาย 1.59 เท่า และผู้ที่มีโรคประจำตัวมีโอกาสเกิดภาวะลองโควิดมากกว่าผู้ไม่มีโรคประจำตัว 1.8 เท่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ค่า ROC curve เท่ากับ 0.64 โดยสรุป ผลจากการศึกษานี้สามารถนำมาเฝ้าระวังคัดกรองและวางแผนการรักษากลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะลองโควิดเพื่อลดอาการแทรกซ้อน และผลกระทบต่างๆ
Downloads
References
Lopez-Leon S, Wegman-Ostrosky T, Perelman C, Sepulveda R, Rebolledo PA, Cuapio A. More than 50 long-term effects of COVID-19: a systematic review and meta-analysis. Scientific reports. 2021; 11.
Aiyegbusi OL, Hughes SE, Turner G, Rivera SC, McMullan C, Chandan JS, and et al. Symptoms, complications and management of long COVID: a review. Journal of the Royal Society of Medicine. 2021; 428-42.
Crook H, Raza S, Nowell J, Young M, and Edison P. Long covid-mechanisms, risk factors, and management. BMJ. 2021; 374.
Jaffri A, and Jaffri UA. Post-Intensive care syndrome and COVID-19: crisis after a crisis?. Heart & Lung. 2020; 49(6): 883-84. DOI: 10.1016/j.hrtlng.2020.06.006.
COVID-19 rapid guideline: managing the long-term effects of COVID-19. London: National Institute for Health and Care Excellence (NICE); 2020 Dec 18. PMID: 33555768. Accessed 4 Aug 2023 from https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/33555768/.
สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์. ผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพของผู้ที่เคยป่วยเป็นโควิด-19 และแนวทางการจัดบริการสุขภาพ. วารสารกรมการแพทย์. 2056; 47(2): 5-8.
Sudre CH, Murray B, Varsavsky T, Graham MS, Penfold RS, Bowyer RC, and et al. Attributes and predictors of long COVID. Nature Medicine. 2021; 27(4): 626-31. DOI: 10.1038/s41591-021-01292-y.
Groff D, Sun A, Ssentongo AE, Ba DM, Parsons N, Poudel GR, and et al. Short-term and Long-term Rates of Postacute Sequelae of SARS-CoV-2 Infection: A Systematic Review. JAMA Network Open. 2021; 4(10): e2128568. DOI:10.1001/jamanetworkopen.2021.28568.
Sapkota HR, and Nune A. Long COVID from rheumatology perspective - a narrative review. Clinical Rheumatology. 2022; 41(2): 337-348. DOI: 10.1007/s10067-021-06001-1.
Asadi-Pooya AA, Akbari A, Emami A, Lotfi M, Rostamihosseinkhani M, Nemati H, and et al. Risk Factors Associated with Long COVID Syndrome: A Retrospective Study. Iranian journal of medical sciences. 2021; 46(6): 428-36. DOI: 10.30476/ijms.2021.92080.2326.
Thompson EJ, Williams DM, Walker AJ, Mitchell RE, Niedzwiedz CL, Yang TC, and et al. Long COVID burden and risk factors in 10 UK longitudinal studies and electronic health records. Nature Communications. 2022;.13(1): 3528. DOI: 10.1038/s41467-022-30836-0.
Saenprasarn P, Chaleoykitti S, and Ounjaichon S. Nurses’ role in long covid-19 nursing care. Journal of The Police Nurses. 2022; 14(1): 214-21.
Korompoki E, Gavriatopoulou M, Fotiou D, Ntanasis-Stathopoulos I, Dimopoulos MA, Terpos E. Late-onset hematological complications post COVID-19: An emerging medical problem for the hematologist. American Journal of Hematology. 2022; 97(1): 119-28. DOI: 10.1002/ajh.26384.
สำนักงานสถิติจังหวัดปัตตานี สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. รายงานวิเคราะห์สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จังหวัดปัตตานี 2564. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2566 จาก http://www.nso.go.th/sites/2014/south/pattani.
กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี. รายงานสถานการณ์ COVID-19 จังหวัดปัตตานี ระลอกเดือน มกราคม 2565. สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2565 จาก https://covid.pattani.go.th.
Montes-Ibarra M, Oliveira CLP, Orsso CE, Landi F, Marzetti E, and Prado CM. The Impact of Long COVID-19 on Muscle Health. Clinics in Geriatric Medicine. 2022; 38(3): 545-57. DOI: 10.1016/j.cger.2022.03.004.
เมธาวี หวังชาลาบวร, ศรัณย์ วีระเมธาชัย, ลีศรี ธนกมณ. ความชุกของภาวะหลังการติดเชื้อโควิด-19 ในผู้ป่วยที่มีประวัติ ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จากการติดตามที่ระยะ 3 เดือนหลังการติดเชื้อ. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 2565; 16(1): 265-284.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารการศึกษาและวิจัยการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.