ผลของการใช้โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากต่อความรู้ ทักษะ พฤติกรรมการดูแลฟันเทียม และปริมาณคราบจุลินทรีย์ในผู้ป่วยเบาหวานที่ใส่ฟันเทียมบางส่วน

ผู้แต่ง

  • ยูลีธี ลิเก โรงพยาบาลควนเนียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา 90220
  • อรชินี พลานุกูลวงศ์ โรงพยาบาลควนเนียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา 90220
  • สุไรยา หมานระโต๊ะ โรงพยาบาลควนเนียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา 90220

คำสำคัญ:

ปริมาณคราบจุลินทรีย์ , ผู้ป่วยเบาหวาน , พฤติกรรมการดูแล , ฟันเทียม

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลองนี้ เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพช่องปากต่อความรู้ ทักษะ พฤติกรรมการดูแลฟันเทียม และปริมาณคราบจุลินทรีย์ในผู้ป่วยเบาหวานที่ใส่ฟันเทียมบางส่วนโรงพยาบาลควนเนียง จังหวัดสงขลา จำนวน 30 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างคำนวณโดยใช้โปรแกรม G*Power เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมบ้านควนเนียงร่วมใจลดภาวะแทรกซ้อนเบาหวาน เริ่มที่รักษ์ฟัน แบบสอบถามความรู้ แบบบันทึกดัชนีคราบจุลินทรีย์ แบบประเมินทักษะการแปรงฟัน และแบบบันทึกพฤติกรรมการดูแลฟันเทียม ได้ค่า IOC > 0.5 สำหรับแบบประเมินความรู้ได้ค่า KR20 เท่ากับ 0.72 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป โดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ และสถิติ Paired t-test ผลการวิจัย พบว่า หลังการใช้โปรแกรม ผู้ป่วยเบาหวานที่ใส่ฟันเทียมบางส่วน มีความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน และทันตสุขภาพช่องปาก ทักษะการทำความสะอาดฟัน และพฤติกรรมการดูแลฟันเทียมเพิ่มขึ้น ในขณะที่ผู้ป่วยเบาหวานที่ใส่ฟันเทียมบางส่วน มีปริมาณคราบจุลินทรีย์ลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) ดังนั้นโปรแกรมดังกล่าวสามารถลดโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคในช่องปากของผู้ป่วยเบาหวานที่ฟันเทียมบางส่วนได้และควรดำเนินโปรแกรมต่อไป เพื่อแก้ปัญหาการเกิดโรคในช่องปาก และภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ของผู้ป่วยเบาหวานที่ใส่ฟันเทียม

Downloads

Download data is not yet available.

References

International Diabetes Federation. Diabetes Atlas. 8th ed. International Diabetes Federation. 2017.

Kidambi S, and Patel SB. Diabetes mellitus: considerations for dentistry. The Journal of the American Dental Association. 2008; 139: 8-18.

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงานสำนักโรคไม่ติดต่อ. รายงานประจำปี 2559. กรุงเทพฯ, สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. 2559.

Albert DA, Ward A, Allweiss P, Graves DT, Knowler WC, Kunzel C, and et al. Diabetes and oral disease: implications for health professionals. Annals of the New York Academy of Sciences. 2012; 1255(1): 1-15. DOI: 10.1111/j.1749-6632.2011.06460.x.

Rajhans NS, Kohad RM, Chaudhari VG, Mhaske NH. A clinicalstudy of the relationship between diabetes mellitus and periodontal disease. Journal of Indian Society of Periodontology. 2011; 15(4): 388-92. DOI: 10.4103/0972-124X.92576.

สำนักงานทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพระดับประเทศ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2556-2560. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2564 จาก http://www.skho.moph.go.th/skho/newsget.php?newsid=76.

พรพิมล อุลิตผล. การใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน โดยใช้กรอบแนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและทฤษฎีการรับรู้ความสามารถในตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 โรงพยาบาลเขาพนม อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2558; 3(3): 441-52.

ศุภศิลป์ ดีรักษา, วิภาดา จิตรปรีดา, สุพัตรา บุญเจียม, และอนวัช ภูทองนาค. ผลของโปรแกรมความรอบรู้ด้านทันตสุขภาพขั้นพื้นฐานเพื่อส่งเสริมสุขภาพช่องปากของผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน. 2564; 3(1): 65-76.

Faul F, Erdfelder E, Lang AG, and Buchner A. G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods. 2007; 39(2): 175-91. DOI: 10.3758/bf03193146.

Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. 2nd ed. Hillsdale Lawrence Erlbaum Associates Publishers. 1988.

นภาพร ศรีบุญเรือง. การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแลฟันเทียม. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2564 จาก http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2016/TU_2016_5717035199_4349_3904.pdf.

ศิริพันธ์ หอมแก่นจันทร์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลช่องปากของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในอำเภอแม่หะ จังหวัดลำปาง. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2564 จาก http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2016/TU_2016_5717035223_5267_3884.pdf.

Basher M, Bakdash, John M, Proshek. Oral hygiene status of dental students as related to their personal and academic profiles. Journal of Periodontal Research. 1979; 14(5): 438-43. DOI: 10.1111/j.1600-0765.1979.tb00242.x.

Richard N., Thomas M and Sullivan. Oral Hygiene Skill Achievement Index. Journal of Periodontology. 1981; 52(3): 143-9.

รัตนา บัวลอย. การดูฟันรักษาปลอมในผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ 11 เมษายน 2564 จาก https://archive.lib.cmu.ac.th/full/res/2542/treshsc510207_42_full.pdf.

เสาวภา วิชาดี. รูปแบบการเรียนของผู้เรียนในมุมมองของทฤษฎีการเรียนรู้แบบประสบการณ์. วารสารนักบริหาร. 2554; 31(1): 175-80.

ขวัญเรือน ทิพย์พูล. ผลของโปรแกรมประยุกต์การจัดการและแรงสนับสนุนทางสังคมร่วมกับกระบวนการกลุ่มเพื่อการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในระบบบริการปฐมภูมิ กรณีศึกษา อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม. [วิทยานิพนธ์]. ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2553.

สรวงสุดา บูชา, และสุขสมัย สมพงษ์. ประสิทธิผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเองเพื่อป้องกันโรคเหงือกอักเสบ ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร. วารสารทันตาภิบาล. 2561; 29(2): 1-12.

อิสริยาภรณ์ สุรสีหเสนา. ผลของโปรแกรมการดูแลสุขภาพช่องปาก เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากในผู้ป่วยเบาหวานหมู่บ้านโสก อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ. [วิทยานิพนธ์]. ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2553.

Deeraksa S, Leangubon J, and Thaewpia S. The effectiveness of oral health program by learning with a group discussion for oral health behaviors of patients with diabetes mellitus in the Sanitarium Thakhuntho Sub District, Thakhuntho District, Kalasin Province. Thai Dental Nurse Journal. 2014; 25(2): 45-58.

Bandura A, Freeman WH, and Lightsey R. Self-efficacy: The exercise of control. Journal of Cognitive Psychotherapy. 1999; 13(2): 158-66. DOI: 10.1891/0889-8391.13.2.158.

ประภัสสร ลือโสภา, บัววรุณ ศรีชัยกุล, และสุริยา รัตนปริญญา. ผลของโปรแกรมประยุกต์การเฝ้าระวังตนเองทางทันตสุขภาพร่วมกับการดูแลโดยกลุ่มเพื่อนต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในตำบลสระบัว อำเภอปทุมรัตน์ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2557; 33(1): 46-54.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2023