การวิเคราะห์ปริมาณโลหะหนักในยาแผนโบราณ กรณีศึกษาในเขตเทศบาลนครยะลา

ผู้แต่ง

  • นูรอัสมา ปุติ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • กรกนก ศิริบัณฑูรย์ โรงพยาบาลกระบุรี จังหวัดระนอง
  • โรสนานี เหมตระกูลวงศ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

บทคัดย่อ

การใช้ยาแผนโบราณมีความแพร่หลายในการเข้าถึงระบบสุขภาพของประชาชน หากไม่ได้รับการตรวจสอบคุณภาพที่ดีอาจมีการปนเปื้อนของสิ่งแปลกปลอมและโลหะหนักบางชนิด ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาปริมาณการปนเปื้อนโลหะหนักในยาแผนโบราณ ทั้งหมด จำนวน 3 ชนิด ได้แก่ ยาประสะไพล ยาจันทน์ลีลา และยาปราบชมพูทวีป โดยสุ่มเก็บตัวอย่างจากร้านขายยาที่มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการขายยาแผนโบราณในเขตเทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา จำนวน 3 ร้านทำการวิเคราะห์โลหะหนักจำนวน 2 ชนิด คือ ตะกั่ว (Pb) และแคดเมียม (Cd) ด้วยเทคนิคอินดักทีฟลี่ คับเปิ้ล พลาสมา-ออฟติคอล อิมิสชั่น สเปกโตรเมทรี (ICP-OES) ผลการวิจัยพบว่า ในยาประสะไพล และยาจันทน์ลีลา ไม่พบปริมาณโลหะหนักเกินค่ามาตรฐาน ส่วนยาปราบชมพูทวีป ไม่พบปริมาณตะกั่วเกินค่ามาตรฐาน แต่พบปริมาณแคดเมียม เท่ากับ 12.66 ± 0.14 มก./กก. ซึ่งเกินค่ามาตรฐาน จากผลการทดสอบนำไปเปรียบเทียบกับมาตรฐานยาแผนโบราณที่มีสารปนเปื้อนตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขและมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก พบว่า ปริมาณโลหะหนักแคดเมียมในยาแผนโบราณบางชนิดสูงเกินค่ามาตรฐาน ทั้งนี้ควรมีการเฝ้าระวังการปนเปื้อนของโลหะหนักในยาแผนโบราณต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

References

สมฤดี บุญมี, และพิมลลดา ไชยรัตน์. การปลอมปนสเตียรอยด์ในยาแผนโบราณและยาสมุนไพรใน จังหวัดกระบี่ พังงา และภูเก็ต ระหว่าง พ.ศ. 2559-2562. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. 2563; 62(4): 384-394.

Buachoon N, Sunthornsart P. Determination of Heavy Metals and Contamination of Microorganism in Traditional Drugs. VRU Research and Development Journal. 2015; 10(2): 78-95.

Boskabady M, Marefati N, Farkhondeh T, Shakeri F, Farshbaf A, and Boskabady MH.

The effect of environmental lead exposure on human health and the contribution of inflammatory mechanisms, a review. Environment International. 2018; 120: 404-420. DOI: 10.1016/j.envint.2018.08.013.

Fatima G, Raza AM, Hadi N, Nigam N, and Mahdi AA. Cadmium in Human Diseases: It’s More than Just a Mere Metal. Indian Journal of Clinical Biochemistry. 2019; 34(4): 371-378. DOI: 10.1007/s12291-019-00839-8.

จิตรา ชัยวัฒน์, จิรานุช แจ่มทวีกุล, สันติพงศ์ วงศ์เพ็ญทักษ์ และปรัชญาพร อินทองแก้ว. ความปลอดภัย

ของยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. 2557; 56(3): 123-134.

Kumar V, Singh S, Singh A, Subhose V, Prakash O. Assessment of heavy metal ions, essential metal ions, and antioxidant properties of the most common herbal drugs in Indian Ayurvedic hospital: For ensuring quality assurance of certain Ayurvedic drugs. Biocatalysis and Agricultural Biotechnology. 2019; 18: 1-7. DOI: 10.1016/j.bcab.2019.01.056.

Thongchai W, Suksri T. Determination of Heavy Metals from Thai Traditional Herbals by Atomic Absorption Spectrophotometry. The proceedings of national conference “Pibulsongkram research” at Pibulsongkram Rajabhat University. 2015; 596-601.

Chaiyawat C, Jamtaweekul J, Wongpentak S, and Inthongkaew P. Safety of herbal medicines in the National List. Bulletin of the Department of Medical Sciences. 2014; 56(3): 123-134.

Mukhopadhyay S, Abraham SE, Holla B, Ramakrishna KK, Gopalakrishna KL, Soman A, and et al. Heavy Metals in Indian Traditional Systems of Medicine: A Systematic Scoping Review and Recommendations for Integrative Medicine Practice. The Journal of Alternative and Complementary Medicine. 2021; 27(11): 915-929. DOI: 10.1089/acm.2021.0083.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-04-2023