ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความพึงพอใจในการเข้าถึงบริการใส่ฟันเทียมของผู้สูงอายุ ในตำบลทรายทอง อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
คำสำคัญ:
การเข้าถึงบริการ, ความพึงพอใจ, ความรู้และทัศนคติ, ฟันเทียม, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการเข้าถึงบริการใส่ฟันเทียมของผู้สูงอายุ ในตำบลทรายทอง อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และศึกษาปัจจัยความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการเข้าถึงบริการใส่ฟันเทียม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ จำนวน 268 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ สถิติไค-สแควร์ ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง ร้อยละ 79.1 มีอายุระหว่าง 60 – 69 ปี ร้อยละ 65.3 ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 58.2 อาชีพ เกษตรกรรม ร้อยละ 68.6 รายได้ต่อเดือน 10,001 -15,000 บาท ร้อยละ 35.1 สมรส ร้อยละ 46.3 ศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 76.5 ช่วยเหลือตนเองได้ดี ร้อยละ 88.4 ไม่เคยรับรู้ข่าวสารในการใส่ฟันเทียม ร้อยละ 68.7 ผู้สูงอายุมีผู้ดูแล ร้อยละ 60.8 ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในการเข้าถึงบริการอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 66.0 ความรู้เกี่ยวกับฟันเทียมอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 68.6 ทัศนคติต่อการเข้าถึงบริการใส่ฟันเทียม อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 56.0 การทดสอบความสัมพันธ์ พบว่า อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา โรคประจำตัว รายได้ การมีผู้ดูแล สถานภาพสมรส และทัศนคติต่อการเข้าถึงบริการใส่ฟันเทียมมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการเข้าถึงบริการใส่ฟันเทียมของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ผลการศึกษาที่ได้ ควรเสนอให้ผู้ที่ปฏิบัติงานด้านทันตสาธารณสุขส่งเสริมทัศนคติที่ดีในการเข้าถึงบริการใส่ฟันเทียม พร้อมกันนี้ควรมีการประชาสัมพันธ์เชิงรุก เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับข้อมูลเกี่ยวกับบริการใส่ฟันเทียมและได้รับบริการอย่างทั่วถึง
Downloads
References
วิชนี คุปตะวาทิน, แมน วาสนาพงษ์, พรทิพย์ ขุนดี, และ รัชตา มิตรสมหวัง. (2561). สังคมสูงวัยกับโลกสมัยใหม่. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. 2561; 4(ฉบับพิเศษ): 444-450.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. รายงานการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2560. 2561. กรุงเทพฯ : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
กรมอนามัย. แนวทางการจัดบริการดูแลและป้องกันสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ สำหรับทันตบุคลากร. 2564; นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข.
อนันต์ อนันตกูล. สังคมสูงวัย...ความท้าทายประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2564 จาก http://legacy.orst.go.th/wp-content/uploads/2017/12.
อณิษฐา หาญภักดีนิยม. นโยบายเกี่ยวกับผู้สูงอายุต่อการพัฒนาประเทศในอาเซียน. วารสารพุทธอาเซียนศึกษา. 2563: 5(1): 55-70.
de Medeiros AKB, Campos M, da Silva Costa RSGo, de Melo LA, Barbosa GAS, Carreiro A. Improvement in quality of life of elderly edentulous patients with new complete dentures: a systematic review. Int J Prosthodont. 2019;32(3):272-7.
ชยุตรา แปงสนิท และทวีวรรณ ศรีสุขคำ. ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปาก โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถแห่งตน ในผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่2 โรงพยาบาลเสริมงาม จังหวัดลำปาง. วารสารทันตาภิบาล. 2564; 32(2): 97-115.
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. 2561. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข.
วริศา พานิชเกรียงไกร และคณะ. การใช้บริการทันตกรรมของประชาชนไทย: ผลจากการสารวจอนามัยและสวัสดิการพ.ศ. 2558. สานักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2560.
Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement. 1970;30(3):607-10.
Bloom BS. Learning for Mastery. Instruction and Curriculum. Regional Education Laboratory for the Carolinas and Virginia, Topical Papers and Reprints, Number 1. Evaluation comment. 1968;1(2):n2.
Best JW, Kahn JV. Research in Education. Englewood-Cliff. New Jersey: Prentice-Hall Inc; 1981.
กนกอร โพธิ์ศรี และจีรานันท์ วิทยาไพโรจน์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการมารับบริการทันตกรรมของผู้สูงอายุ 60 - 74 ปี ในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วิทยาลัยการสาธารณสุข สิรินธรจังหวัดขอนแก่น. 2561.
รัตนา สิทธิปรีชาชาญ. การเข้าถึงบริการทันตกรรมของผู้สูงอายุ. พุทธชินราชเวชสาร. 2560; 34(2): 199-210.
อุดมพร ทรัพย์บวร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้บริการทันตกรรมของผู้สูงอายุ ในเขตตำบลนครชัยศรี อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วารสารแพทย์เขต 4-5. 2561; 37(4): 306-317.
พิเชษฐ สีดาหอม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้บริการใส่ฟันเทียมของผู้สูงอายุเขตอำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น. 2563; 1(4): 98-112.
มารุต ภู่พะเนียด และ ณปภา ประยูรวงษ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเข้าถึงบริการทันตกรรมของผู้สูงอายุ
จังหวัดสุพรรณบุรี. ศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2561; 18(2): 66-75. .
นลินนิภา ลีลาศีลธรรม, ณรงค์ ใจเที่ยง*, เทียนทอง ต๊ะแก้ว, อรทัย เกตุขาว, สุรางคนา ไชยรินคำ, สุนันทา ตั้งนิติพงษ์,นาฏนิดา จันทราช, และพัสกร องอาจ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการด้านทันตสุขภาพในผู้สูงอายุของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นงุ้น อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง. วารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข. 2565; 8(1): 79-93.
อุดมพร ทรัพย์บวร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้บริการทันตกรรมของผู้สูงอายุในเขตตาบลนครชัยศรี อาเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วารสารแพทย์เขต 4-5. 2561; 37(4): 306-317.
มลฤดี หวานดี, ณรงค์ ใจเที่ยง, ชมลรรค กองอรรถ, และวิชัย เทียนถาวร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเลือกรับบริการทันตกรรมของผู้รับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านร่องเคาะ จังหวัดลำปาง. วารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข. 2565; 8(1): 2-17.
สุภาพร ผุดผ่อง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์. 2563; 4(1): 101-119.
ภาณุศักดิ์ อินทสะโร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มารับบริการทำฟันเทียม
ณ โรงพยาบาลระนอง จังหวัดระนอง. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล. 2565; 28(2): 1-15.
ขวัญจิตร ชมภูวิเศษ. การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วม สำหรับชมรมผู้สูงอายุ ตำบลเหล่าหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา. 2560; 18(2): 36-46.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
License
Copyright (c) 2023 วารสารการศึกษาและวิจัยการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.