ภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านในการรักษาอาการกระดูกหัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
คำสำคัญ:
ภูมิปัญญาพื้นบ้านการรักษากระดูกหัก , หมอพื้นบ้าน , อาการกระดูกหักบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารวบรวมภูมิปัญญาและองค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการรักษาอาการกระดูกหัก ทราบชนิดของสมุนไพรที่ใช้ในการรักษา การถ่ายทอดภูมิปัญญา และข้อมูลทั่วไปของหมอพื้นบ้าน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นหมอพื้นบ้านรักษาอาการกระดูกหักจำนวน 1 คน ใช้การคัดเลือกแบบการบอกต่อของผู้รับบริการในพื้นที่ จากนั้นดำเนินการคัดเลือกแบบจําเพาะเจาะจง 2) ผู้ให้ข้อมูลร่วมเป็นผู้ป่วยที่เคยได้รับการรักษากับ หมอพื้นบ้าน จำนวน 3 คน ใช้การคัดเลือกแบบจําเพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก การบันทึกเทป และการบันทึกภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาผลการศึกษา พบว่า หมอพื้นบ้านสามารถรักษาอาการกระดูกหักได้ทุกประเภท สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคืออุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์ น้อยที่สุดคือตกจากที่สูง หมอกระดูกพื้นบ้านมีกระบวนการรักษา 3 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นตอนก่อนการรักษาซึ่งพิธีกรรมก่อนการรักษาหมอท่องนะโม 3 จบ พานหมากพลู 9 คํา เงินบูชาแล้วแต่ศรัทธา ดอกไม้ ธูป เทียน และว่าคาถาเสกน้ำมันต่อกระดูก การซักประวัติ ตรวจร่างกาย 2) ขั้นตอนการรักษา มีการไล่เส้นให้ผู้ป่วยก่อนทำการดับกระดูกตรงบริเวณที่หักพร้อมท่องคาถา การทาน้ำมันปลุกเสกบริเวณกระดูกหัก จากนั้นทำการพันผ้าดามด้วยไม้ไผ่ใช้เชือกมาพันไม้ไผ่อีกรอบ และท่องคาถา 3) ขั้นตอนหลังการรักษา ให้คำแนะนํางดรับประทานกล้วย หมู ข้าวเหนียว ขนมจีน ผักล่า ปลาลื่น ห้ามลอดไม้ค้ำยัน มีการติดตามผลการรักษา และพิธีกรรมหลังการรักษา
Downloads
References
ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางท้องถนน. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2564 จาก https://www.thairsc.com.
วรวัฒน์ ทิพจ้อย. ภูมิปัญญาของหมอน้ำมนต์พื้นนบ้านในการรักษาโรคกระดูกจากอุบัติเหตุศึกษาเฉพาะนายประเสริฐ ผลาพฤกษ์. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 2557; 2(2): 189-202.
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2564 จาก http://www.dtam.moph.go.th.
อาวุธ หงส์ศิริ, เพชรน้ำผึ้ง รอดโพธิ์, ศุภรัตน์ ดวนใหญ่, และอัจฉรา แก้วน้อย. ภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านชาติพันธุ์กุย : กรณีศึกษาหมอพื้นบ้าน 7 ราย ตำบลปราสาท อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. 2563; 18(1): 166-179.
คนากร สุรการากุล, ทวัช บุญแสง, และดาราวรรณ รองเมือง. ภูมิปัญญาของหมอกระดูกพื้นบ้าน อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2558; 3(2): 321-341.
ธนิดา ขุนบุญจันทร์, ฉันทนา กระภูฤทธิ์, สิริลดา พิมพา, และสุธน พรบัณฑิตย์ปัทมา. รายงานเบื้องต้นการศึกษาการรักษาผู้ป่วยกระดูกหักของหมอพื้นบ้าน. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. 2555; 10(3): 198-212.
ชวนชม ขุนเอียด, นิดา นุ้ยเด็น, สิทธิชัย สงฆ์รักษ์, อาริฟ สันนาหู, อัฟฟาน ดีนนามอ, และอิมรอน หมะประสิทธิ์. ภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านรักษากระดูกหัก กรณีศึกษาหมอดนรอหมาน การดี อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์. 2562; 25(2): 159-184.
นรมน เจริญพิพัฒน์สิน. กระดูกหัก อาการ สาเหตุ การรักษา. สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2564 จาก https://www.pobpad.com.
นิธิวุฒิ ปิ่นสิรานนท์. ศูนย์ทางการแพทย์ : ศูนย์กระดูกและข้อ. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2564 จาก https://www.nakornthon.com.
สารัช โนนตานอก. กระดูกหัก : การบูรณาการรักษาโดยหมอพื้นบ้านและแพทย์แผนปัจจุบันในจังหวัดจันทบุรี [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2555.
อํานวย จิระสิริกุล. กระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2564 จาก http://haamor.com.
อัชฌา สมนึก, กันตา นิ่มทัศนศิริ, เฟื่องลดา ทบศรี, อัญทิวา อุ่นไธสง, ระพีพร ชนะภักดิ์, วิภาวี จันทศรี, และสุทธิศักดิ์
สุริรักษ์. การศึกษาภูมิปัญญาของหมอกระดูกพื้นบ้าน จังหวัดราชบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2565; 8(4): 56-64.
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 จาก https://www.car.chula.ac.th.
สิริรัตน์ จันทรมโน, เจนระวี สว่างอารีย์รักษ์, และธนิดา ขุนบุญจันทร์. ภูมิปัญญาของหมอกระดูกพื้นบ้านในการรักษาผู้สูงอายุกระดูกหัก. วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 2599; 9(1): 15-29.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2023 วารสารการศึกษาและวิจัยการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.