ผลของการสักยาต่อระดับความปวดกล้ามเนื้อของผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังตอนล่าง

ผู้แต่ง

  • พโนมล ชมโฉม ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

น้ำมันยา, ปวดกล้ามเนื้อ, ปวดหลังส่วนล่าง, ลมปลายปัตคาต, สักยา

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสักยาต่อระดับความปวดหลังส่วนล่างของผู้ป่วย เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีการประเมินอาการปวดหลังส่วนล่างของผู้ป่วยก่อนและหลังการได้รับการสักยา คำนวณขนาดตัวอย่างโดยใช้ G* Power ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 32 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และทำการสักยาเพื่อรักษาอาการปวด ณ สถานบริการแพทย์แผนไทยของเอกชนแห่งหนึ่ง ในอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ระหว่างเดือน เมษายน – กรกฎาคม 2563 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนาและเปรียบเทียบระดับความปวดก่อนและหลังการสักยาโดยใช้สถิติ Wilcoxon Signed Rank Test ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 65.6 อายุต่ำสุด 23.7 ปี สูงสุด 80.3 ปี อายุเฉลี่ย 42.9 ปี แต่งงานอยู่ด้วยกัน  ร้อยละ 68.8 อาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 40.6 ลักษณะการทำงานในภาพรวมของแต่ละวัน คือ นั่งทำงาน ร้อยละ 50.0 มีอาการปวดกล้ามเนื้อในระหว่างวัน ร้อยละ 78.1 ก่อนมารับบริการสักยาไม่ได้รักษาด้วยวิธีการใดๆ ร้อยละ 84.4 อาหารแสลงที่รับประทานมากที่สุด ได้แก่ สัตว์ปีก ร้อยละ 96.9 ผู้ป่วยมีอาการปวดแบบตื้อๆ ในระดับมาก ร้อยละ 50.0 โดยก่อนได้รับการสักยา ผู้ป่วยมีค่ามัธยฐานของความปวดเฉลี่ย เท่ากับ 3 หลังการสักยา เท่ากับ 1 ซึ่งลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) การสักยาควรเสนอแนะให้เป็นการรักษาทางเลือกสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง การศึกษาครั้งต่อไปควรศึกษาระยะเวลาการกลับมาเป็นซ้ำหลังจากอาการปวดได้บรรเทาลงแล้ว รวมถึงศึกษาเปรียบเทียบกับหัตถการทางแพทย์แผนไทยอื่นๆ ที่ใช้รักษาอาการปวดกล้ามเนื้อ

Downloads

Download data is not yet available.

References

ประกาศิต ทอนช่วย. ปัจจัยเสี่ยงทางการยศาสตร์ต่ออาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อจากการปลูกข้าวโพดของเกษตรกรกลุ่มชาติพันธุ์ จังหวัดเชียงราย. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 2563; 27(1): 27-39.

ศรินรัตน์ โคตะพันธ์ และศุภมาศ จารุจรณ. โรคออฟฟิศซินโดรมกับศาสตร์การแพทย์แผนไทย. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2560; 12(2): 142.

โสภาพรรณ จิรนิรัติศัย. ภาวะผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูกในคนงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ประเภทผ้าและศิลปะประดิษฐ์ ในเขต 4. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 จังหวัดราชบุรี. 2559.

จันจิรา ทิพวัง และกาญจนา นาถะพินธุ. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการปวดกล้ามเนื้อของ กลุ่มอาชีพเย็บผ้าโหล ตำบลน้ำโมง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. 2559; 23(1): 46-61.

ชมพูนุช สุภาพวานิช, อาอีเสาะ มูซอ, และอัญชลี พงษ์เกษตร. ความชุกของอาการปวดหลังส่วนล่างในแรงงานนอกระบบของท่าเทียบเรือประมงแห่งหนึ่งในจังหวัดปัตตานี. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 2562; 11(3): 68.

รัญชิดา ภิมาล และวทันยา วงศ์มติกุล. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของอาการปวดหลังส่วนล่างในพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย. จุฬาลงกรณ์เวชสาร. 2560; 61(1): 102.

จุไรพร โสภาจารีย์ สกลพร โสภาจารีย์ และชมพูนุช โสภาจารีย์. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการปวดหลังส่วนล่างของครูใน จังหวัดอุตรดิตถ์และพิษณุโลก. พยาบาลสาร. 2561; 45(2): 76-87.

วิภาดา ศรีเจริญ และนิธิพงศ์ ศรีเบญจมาศ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปวดหลังของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 2559; 17(2): 260.

กษิดิ์เดช วิจิตรานนท์ เปรมมิกา เกษระนอง ปุริมา เสาวรส พจนาภรณ์ เลิศไกร พรนภา ปานเหลือง เพชรลัดดา แซ่ฉิ่น อรวรรณ จิรณรงค์ชัย และชุลีพร หีตอักษร. ภาวะสุขภาพและปัจจัยคุกคามสุขภาพของเกษตรกรชาวสวนยางพารา กรณีศึกษา ตำบลละอุ่นใต้ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง. การประชุมวิชาการระดับชาติการเรียนรู้เชิงรุก ครั้งที่ 6 “Active Learning ตอบโจทย์ Thailand 4.0 อย่างไร”, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. 2561.

Bote M. Medical tattoos: a literature review. Revista Latinoamericana de Estudios sobre Cuerpos, Emociones y Sociedad. 2018; 10(26): 76-85.

Isaacs T, Ngwanya R, Lehloenya R. Tattoos: A summary knowledge for the practising clinician. South African Medical Journal. 2018; 108(9): 714-20.

Kluger N, Aldasouqi S. A new purpose for tattoos: medical alert tattoos. La Presse Medicale. 2013; 42(2): 134-7.

Licona NEA, Gonzalez MaLS, Sevilla RA. Tattoos in the Medical Practice. Advances in Anthropology. 2019; 9(01): 80.

Painter EW. Therapeutic aspects of tattoo acquisition: A phenomenological inquiry into the connection between psychological trauma and the writing of stories into flesh. 2017.

กุสุมาลย์ น้อยผา. การศึกษาภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านในจังหวัดพัทลุง. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 2561; 24(1): 171.

สุทธิรา ขุมกระโทก, คมกริช วงค์ภาคำ, อดิศักดิ์ อาจหาญ, และอุษา กลิ่นหอม. สักยารักษาโรค. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. 2559; 14(2): 216.

ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศคณะกรรมการหมอพื้นบ้าน เรื่อง ลักษณะ ประเภท หรือกรรมวิธีของภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ.2562. เล่ม 136 ตอนพิเศษ 222 ง. หน้า 24-26. 2562.

Student. The probable error of a mean. Biometrika. 1908: 1-25.

Kitisomprayoonkul W, Klaphajone J, Kovindha A. Thai short-form McGill pain questionnaire. Journal-Medical Association of Thailand. 2006; 89(6): 846.

คลังสมุนไพร. งูเห่า. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2565 จาก https://www.คลังสมุนไพร.com/16960476/งูเห่า.

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร. สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2566 จาก https://apps.phar.ubu.ac.th/thaicrudedrug/main.php.

หมอชาวบ้าน. พุทธรักษา. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2565 จาก https://www.doctor.or.th/article/detail/5479.

นพวรรณ บัวตูม, มนัสนันท์ เริงสันเทียะ, สิริพร จารุกิตติ์สกุล, และกชกร สุขจันทร์ อินทนูจิตร. การนวดไทยรักษาอาการปวดหลังส่วนล่าง: กรณีศึกษาหมอพื้นบ้านในจังหวัดสงขลา. 2561; 21(1): 29.

Barwa J, Rani A, Singh R. Art of tattooing: Medical applications, complications, ethical and legal aspects. International Journal of Medical Toxicology and Forensic Medicine. 2016; 6(3): 156-63.

Simone DA, Ngeow JY, Whitehouse J, Becerra-Cabal L, Putterman GJ, Lamotte RH. The magnitude and duration of itch produced by intracutaneous injections of histamine. Somatosensory Research. 1987; 5(2): 81-92.

Bassi A, Campolmi P, Cannarozzo G, Conti R, Bruscino N, Gola M, et al. Tattoo-associated skin reaction: the importance of an early diagnosis and proper treatment. BioMed Research International. 2014.

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือประกอบการรับรองหมอพื้นบ้าน ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการรับรองหมอพ้นบ้าน พ.ศ.2562. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข. 2562.

Fu AZ, Qiu Y, Radican L. Impact of fear of insulin or fear of injection on treatment outcomes of patients with diabetes. Current Medical Research and Opinion. 2009; 25(6): 1413-20.

Nir Y, Paz A, Sabo E, Potasman I. Fear of injections in young adults: prevalence and associations. The American Journal of Tropical Medicine and Hygiene. 2003; 68(3): 341-4.

Orenius T, LicPsych, Saila H, Mikola K, Ristolainen L. Fear of injections and needle phobia among children and adolescents: an overview of psychological, behavioral, and contextual factors. SAGE Open Nursing. 2018; 4: 2377960818759442.

Witkos J, Hartman-Petrycka M. Gender differences in subjective pain perception during and after tattooing. International Journal of Environmental Research and Public Health. 2020; 17(24): 9466.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-03-2023