ภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านในการดูแลสตรีที่มีบุตรยาก กรณีศึกษาหมอพื้นบ้านท่านหนี่ง ในตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา
คำสำคัญ:
ภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน, สตรีที่มีบุตรยาก, สมุนไพรบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเรื่อง ภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านในการดูแลสตรีที่มีบุตรยาก กรณีศึกษาหมอพื้นบ้านท่านหนี่งในตำบลพรุใน อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาในการดูแลสตรีที่มีบุตรยาก และตำรับยาที่ใช้ในการดูแลสตรีที่มีบุตรยาก โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ หมอไหโหยบ ไถนาเพรียว ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก (In-depth Interview) และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non–Participation Observation) จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า หมอพื้นบ้านที่ทำการศึกษา อายุ 84 ปี นับถือศาสนาอิสลาม มีประสบการณ์การเป็นหมอพื้นบ้านร่วม 40 ปี โดยมีความชำนาญด้านการดูแลสตรีที่มีบุตรยาก มีการบอกเล่าปากต่อปาก ทำให้มีผู้เข้ามารับการรักษาเป็นจำนวนมาก จนเป็นหมอพื้นบ้านที่มีชื่อเสียง และเป็นที่ยอมรับภายในชุมชน สำหรับกระบวนการดูแลสตรีที่มีบุตรยาก เริ่มจากการซักประวัติ การรักษาด้วยคาถา และตำรับยาสมุนไพร โดยสมุนไพรที่ใช้ในตำรับมีทั้งหมด 24 ชนิด นำไปต้มรับประทานจนมีรสจืด จากนั้นติดตามผลการการรักษา โดยนัดผู้ป่วยมาพบหลังจากรับประทานยาต้มไปแล้ว 1 เดือน หรือจนกว่ายาต้มนั้นจะเปลี่ยนจากรสขมเป็นรสจืด ซึ่งผู้ป่วยที่รับประทานยาต้มไปแล้ว ประมาณ 2-3 เดือน ประจำเดือนสีดำจะค่อยๆ มีสีอ่อนลง จนเป็นสีแดง ซึ่งหมายถึงระบบโลหิตเป็นปกติ มีผลให้สามารถมีบุตรได้ง่ายขึ้น และไม่มีข้อห้ามใดๆ ในการดูแลสตรีบุตรยากของหมอพื้นบ้านท่านนี้
Downloads
References
ภารดี ชาญสมร, จิตติมา มโนนัย, และกฤษณ์ พันตรา. การให้บริการอนามัยการเจริญพันธุ์: คู่มือ สาหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ, สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. 2554.
วิชัย เอกพลากร. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี, สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์. 2557.
Menken J. Age and Fertility: How Late Can You Wait?. Demography. 1985; 22(4): 469-83.
สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2560 - 2569) ว่าด้วยการส่งเสริมการเกิดและการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ. นนทบุรี. 2560.
เสาวนีย์ กุลสมบูรณ์ และรุจินาถ อรรถสิษฐ. การศึกษาและพัฒนาการรับรองสถานภาพทางกฎหมายของหมอพื้นบ้าน. นนทบุรี: สำนักการแพทย์พื้นบ้าน กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. 2555.
พิมพ์ชนก วรรณแจ่ม, ศิริวัฒน์ จิระเดชประไพ, บัญญัติ ยงย่วน, และสมใจ นกดี. รูปแบบการดูแลรักษาสุขภาพโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการแพทย์พื้นบ้าน ในอำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 2560; 12(3): 129-139.
ภราดร สามสูงเนิน. คู่มือประกอบระเบียบกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555. นนทบุรี: สำนักการแพทย์พื้นบ้านไทย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกกระทรวงสาธารณสุข. 2556.
กรรณิการ์ มรุทาธร. หายป่วยด้วยหมอพื้นบ้าน: ภูมิปัญญาภาคเหนือ ตะวันออกและภาคใต้. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ, บีเวลล์สปีเชียล. 2554.
อรทัย เนียมสุวรรณ, และศรายุทธ ตันเถียร. พืชสมุนไพรที่ใช้ดูแลสุขภาพสตรีจากอุทยานแห่งชาติเขาพนมเบญจา จังหวัดกระบี่. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา. 2558; 20(1): 118-132.
กองการประกอบโรคศิลปะ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเวชกรรม เล่ม 1. กรุงเทพฯ, บริษัท ไทภูมิ พับลิชชิ่ง จำกัด.
กัณฑ์วีร์ วิวัฒน์พาณิชย์ และขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์. ความเชื่อกับการดูแลสุขภาพ.เอกสารการสอนชุด วิชาสังคมวิทยา และมานุษยวิทยาการแพทย์ เล่ม 1. นนทบุรี, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช. 2555.
กัญทร ยินเจริญ, สิริรัตน์ เลาหประภานนท์, ศรินทร์รัตน์ จิตจำ, และสถิตาภรณ์ ชูแก้ว. ตำรับยาสมุนไพรรักษาโรคโลหิตระดูสตรี : กรณีศึกษาหมอพื้นบ้านในจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง และตรัง. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2563; 27(1): 82-95.
ธรณัส ทองชูช่วย, กิตติ ตันไทย, และจักรกริช อนันตศรัณย์. ภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้านในด้านการใช้สมุนไพรในการรักษาโรคของอำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา. บทความวิจัยเสนอในการประชุมหาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 4 “การวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมไทย”, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. 2556.
ภัทรธิรา ผลงาม. กระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านในการใช้สมุนไพรเพื่อการรักษาสุขภาพในชุมชนจังหวัดเลย. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2561; 26(52): 1-27.
สิริรัตน์ เลาหประภานนท์, กัญทร ยินเจริญ, และศรินทร์รัตน์ จิตจำ. ตำรับยาสมุนไพรสำหรับอาการตกขาว: กรณีศึกษาหมอพื้นบ้านภาคใต้ หมอเสทือน หอมเกตุ. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. 2562; 17(2): 253-262.
กชนิภา สุทธิบุตร, อรุณพร อิฐรัตน์, และเพชรน้อย สิงห์ช่างชัย. กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนและตำรับยาสมุนไพรที่ใช้รักษาซึ่งระบุในคำภีร์มหาโชตรัต. วารสารธรรมศาสตร์การแพทย์. 2562; 19(1): 46-60.
อภิฤดี หาญณรงค์. การสํารวจและรวบรวมพืชวัตถุสําหรับใช้ในการรักษาโรคโลหิตสตรีของหมอไข่ โกสินทร์ ตําบลท่าชะมวง อําเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 2 “GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2018”, มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา. 2561.
ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติ (ฉบับที่2) พ.ศ. 2555. เล่ม 139 ตอนพิเศษ 274 ง. หน้า 82-89. 2555.
Sivasankari B, Anandharaj M, and Gunasekaran P. An ethnobotanical Study of Indigenous Knowledge on Medicinal Plants used by the Village Peoples of Thoppampatti, Dindigul District, Tamilnadu, India. Journal of Ethnopharmacology. 2014; 153(2): 408-23. DOI: 10.1016/j.jep.2014.02.040
กรวิภา เลื่อนแก้ว, มลธิชา เพชรชุม, ศรัณยา จันษร และเกศริน มณีนูน. การรวบรวมสมุนไพรรักษามะเร็งของหมอพื้นบ้านในจังหวัดตรัง พัทลุง และสงขลา. คณะการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2555.
วิภาดา สัมประสิทธิ์ และปราณีต โอปณะโสภิต. เทคโนโลยีการผลิตเภสัชภัณฑ์แตกตัวในช่องปาก. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ. 2556; 8(2): 86-92.
ชยันต์ พิเชียรสุนทร, แม้นมาส ชวลิต และวิเชียร จีรวงส์. คําอธิบายตําราพระโอสถพระนารายณ์ : ฉบับเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษามหาราชา 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2542. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร, อมรินทร์. 2558.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2023 วารสารการศึกษาและวิจัยการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.