ภูมิปัญญาการรักษาโรคและองค์ความรู้ของหมอตำแยในการดูแลรักษาสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ในตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา
คำสำคัญ:
หมอตำแย, ภูมิปัญญาและองค์ความรู้บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาการรักษาโรค และองค์ความรู้ของหมอตำแยในการดูแลรักษาสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ในตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 1 คน เลือกแบบเฉพาะเจาะจง โดยเลือกหมอตำแยที่มีความชำนาญ มีประสบการณ์การดูแลหญิงตั้งครรภ์มากกว่า 20 ปี เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกร่วมกับการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ผลการศึกษาพบว่า หมอตำแยจะดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ 2 ประเภท คือ 1. การฝากครรภ์ ซึ่งจะดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จนถึงคลอด โดยพิธีสำคัญสำหรับการฝากครรภ์คือพิธีแนแง 2. การรักษาอาการแทรกซ้อนต่างๆ ในหญิงตั้งครรภ์ เช่น การตกเลือด ปัญหาเรื่องมดลูกไม่เข้าอู่ สันนิบาตหลังคลอด เป็นต้น ซึ่งอาการเหล่านี้จะรักษาด้วยสมุนไพร โดยในขั้นแรกจะรักษาโดยใช้ใบมะลิ (Jasminum Sambac (L.) Aiton.) และใบข่อย (Streblus asper Lour.) ตำรวมกับขมิ้นและข้าวสาร 1 เม็ด ผสมน้ำอุ่นทานทุกเช้าติดต่อกัน 40 วัน ทั้งนี้เพื่อปรับสมดุลให้ร่างกายทำงานได้ตามปกติ โดยองค์ความรู้ต่างๆ ของหมอสีตีแมะ หะยีอาแว ได้จากการถ่ายทอดของบรรพบุรุษ และโดยไม่ได้มีการศึกษาเพิ่มเติม
Downloads
References
อุทัยวรรณ พงษ์บริบูรณ์. การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมด้วยภูมิปัญญาไทย. วารสารพยาบาลตำรวจ. 2557; 6(2): 250-262.
วีริสา ทองสง. บทบาทและภูมิปัญญาพื้นบ้านของหมอตำแยในจังหวัดพัทลุง [วิทยานิพนธ์ปริญญาการแพทย์แผนไทยมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2559.
Kansukcharearn A. Thai Traditional Midwives (Moh Tum Yae) in Caring for Mothers and Infants, in Petchaburi Province, Thailand: Case Studies. International Journal of Social Science and Humanity. 2014; 4(6): 435-38.
Merli C. Muslim Midwives between Traditions and Modernities. Being and Becoming a Bidan Kampung in Satun Province, Southern Thailand. Moussons Recherche en sciences humaines sur l’Asie du Sud-Est. 2010; (15): 121-35.
Crabtree BF, Miller WL. Doing qualitative research: Sage Publications. 2022.
อัชฌา สมนึก, กันตา นิ่มทัศนศิริ, อัญทิวา อุ่นไธสง, เฟื่องลดา ทบศรี, สุนทร จันทรพงษ์, ระพีพร ชนะภักดิ์, และคนอื่นๆ. การศึกษาภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านจังหวัดราชบุรี. การประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงวิจัย ครั้งที่ 5 “สร้างองค์ความรู้สู่ทองเที่ยวไทย เศรษฐกิจก้าวไกล สังคมไทยยั่งยืน”, มหาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. 2560.
อดิศร ศักดิ์สูง และเปรมสิรี ชวนไชยสิทธิ์. วิถีโต๊ะบีแด: การดำรงภูมิปัญญาพื้นบ้าน สืบสานวัฒนธรรมชุมชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารอินทนิลทักษินสาร มหาวิทยาลัยทักษิณ. 2018; 13(1): 31-53.
มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะเภสัชศาสตร์. บัญชียาจากสมุนไพร ในบัญชียาหลักแห่งชาติ (พ.ศ.2556). สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2565 จากhttps://pharmacy.su.ac.th/herbmed/drug/text/drug.php?drugID=26&sgID=3.
Bhangale J, Patel R, Acharya S, Chaudhari K. Preliminary studies on anti-inflammatory and analgesic activities of Jasminum sambac (L.) Aiton in experimental animal models. Am J PharmTech Res. 2012; 2(4): 1-10.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารการศึกษาและวิจัยการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.