การบริหารองค์กรเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามมาตรการความปลอดภัยสำหรับองค์กร (COVID Free Setting) ภายหลังการกำหนดให้เป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวังของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • ชวน มุณีแนม สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา 90000

คำสำคัญ:

การบริหารองค์กร, การปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยสำหรับองค์กร, คุณลักษณะผู้นำ, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล, ไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ และคุณลักษณะผู้นำในการบริหารองค์กรเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามมาตรการความปลอดภัยสำหรับองค์กรภายหลังการกำหนดให้เป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวัง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ประชากรที่ศึกษาคือ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหรือรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 175 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดสงขลา มีการบริหารองค์กรตามคุณลักษณะผู้นำ ภาพรวมอยู่ในระดับสูง ความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภาพรวมอยู่ในระดับสูง และมีการปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยสำหรับองค์กร (COVID Free Setting) ภาพรวมอยู่ในระดับดี (-193d70b67ced97601.jpg = 2.89, -16a2be7d4d2f74cb0.jpg = 0.18) เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และคุณลักษณะผู้นำกับการปฏิบัติตามมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร พบว่า ความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับต่ำกับการปฏิบัติตามมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (r = 0.15, p-value = 0.01) ขณะที่คุณลักษณะผู้นำมีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับปานกลางกับการปฏิบัติตามมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (r = 0.31, p-value = 0.01) จากผลการศึกษา ควรสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และส่งเสริมภาวะผู้นำในการควบคุมกำกับการนำมาตรการความปลอดภัยสำหรับองค์กรไปใช้ในหน่วยงาน เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรค เพื่อเตรียมพร้อมรับภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์และสาธารณสุข

Downloads

References

กรมควบคุมโรค. รวมแนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. นนทบุรี, กลุ่มพัฒนาวิชาการโรคติดต่อ กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค. 2565.

World Health Organization. COVID 19 Public Health Emergency of International Concern (PHEIC). Accessed 12 February 2020 from https://www.who.int/publications/m/item/covid-19-public-health-emergency-of-international-concern-(pheic)-global-research-and-innovation-forum.

ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563. เล่มที่ 137 ตอนพิเศษ 48 ง. 2563.

ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2565. เล่มที่ 139 ตอนพิเศษ 223 ง. 2565.

ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ จังหวัดสงขลา. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2566 จาก https://ska.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php.

Stoller JK. Reflections on leadership in the time of COVID-19. The British Medical Journal. 2020; 4(2): 77–9. DOI: 10.1136/leader-2020-000244.

Kirchner K, Ipsen C, and Hansen JP. COVID-19 leadership challenges in knowledge work. Knowledge Management Research & Practice. 2021; 19(4): 493–500. DOI: 10.1080/14778238.2021.1877579.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ). บทเรียนสภาวะผู้นำในสถานการณ์วิกฤติโควิด-19. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2566 จาก https://tdri.or.th/2020/01/covid-1/.

สำนักข่าวออนไลน์ Hfocus. องค์การอนามัยโลกชื่นชมไทย 6 จุดเด่นบริหารจัดการโควิด 19 พร้อมแนะแนวทางรับมือระบาดรอบใหม่. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2566 จาก https://www.hfocus.org/content/2020/10/20305.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. การวัดและประเมินผล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ, ศรีอนันตการพิมพ์. 2543.

Northouse PG. Leadership: Theory and Practice. Sage Publication. 2001.

Elifson KW, Runyon RP, and Haber A. Fundamentals of social statistics. 2nd ed. McGraw-Hill. 1990.

พยอม ทองใบ, และอารี บุตรสอน. ปัจจัยที่มีผลต่อการดําเนินงานป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล จังหวัดอํานาจเจริญ. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2565; 16(3): 741-57.

แก้วภัทรา จิตรอักษร, พัชราวลัย สังข์ศรี, และพรศักดิ์ สุจริตรักษ์. ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะผู้นำกับการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1. วารสารสิรินธรปริทรรศน์. 2565; 23(1): 249-61.

สิทธิพร เขาอุ่น, และสมเดช สิทธิพงศ์พิทยา. การบริหารจัดการการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโควิด–19 ขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2565; 8(1): 105-20.

สุกัญญา เชื้อธรรม, นฤมล เทียมสุวรรณ, และสังวาล พงษ์ศร. การประเมินมาตรการ COVID FREE SETTING ในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตสุขภาพที่ 10. วารสารศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี. 2565; 10(2): 84-93.

กัมปนาท โคตรพันธ์, และนิยม จันทร์นวล. ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในจังหวัดมุกดาหาร. [รายงานสืบเนื่องจากการประชุม]. การประชุมวิชาการระดับชาติ มอบ. วิจัย ครั้งที่ 16 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. อุบลราชธานี. 2565.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-02-2025

How to Cite

มุณีแนม ช. (2025). การบริหารองค์กรเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามมาตรการความปลอดภัยสำหรับองค์กร (COVID Free Setting) ภายหลังการกำหนดให้เป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวังของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดสงขลา. วารสารการศึกษาและวิจัยการสาธารณสุข, 3(1), 17–30. สืบค้น จาก https://so12.tci-thaijo.org/index.php/JERPH_Yala/article/view/1657