การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังยาปลอดภัยในชุมชน จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • วีร์ธิมา หนูสวัสดิ์ กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช 80000

คำสำคัญ:

การพัฒนา, การเฝ้าระวัง, ยาปลอดภัย, ร้านชำ, เว็บแอปพลิเคชัน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันสำหรับการเฝ้าระวังยาปลอดภัยในชุมชนและศึกษาประสิทธิผลของเว็บแอปพลิเคชัน โดยประเมินความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ การศึกษานี้ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาข้อมูล รูปแบบ เครือข่ายที่มีการใช้เครื่องมือเฝ้าระวังยาปลอดภัยในชุมชน 2) การออกแบบเครื่องมือ 3) การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน และการทดสอบการใช้งานโดยกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 10 คน ทำกิจกรรมสนทนากลุ่ม (Focus group interview) เพื่อพัฒนาแก้ไขข้อผิดพลาด 4) นำเว็บแอปพลิเคชันไปใช้ปฏิบัติงานในพื้นที่ดำเนินงานทั้งจังหวัด และศึกษาผลการดำเนินงานเฝ้าระวังยาปลอดภัยในชุมชนจากเว็บแอปพลิเคชันโดยวัดความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภค ดำเนินการศึกษาระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการเฝ้าระวังยาปลอดภัยในชุมชนโดยใช้เว็บแอปพลิเคชัน “ร้านชำ@นคร” สามารถเฝ้าระวังการจำหน่ายยาในร้านชำ แสดงข้อมูลรายอำเภอ รายตำบล เพื่อแก้ไขและวางแผนสร้างมาตรการแก้ปัญหา และติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน (RDU Community) การศึกษาประสิทธิผลของเว็บแอปพลิเคชันจากความพึงพอใจกลุ่มตัวอย่างเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคระดับอำเภอและตำบล จำนวน 70 คน พบว่า มีความพึงพอใจมาก และจะเลือกใช้เว็บแอปพลิเคชันในการดำเนินการเฝ้าระวังยารวมถึงผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่น ข้อเสนอแนะจากการวิจัยนี้ ควรศึกษาเพิ่มเติมผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีการวางจำหน่ายในร้านชำ รวมถึงการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการร้านชำ อาสาสมัครสาธารณสุข และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน เพื่อขยายผลเป็นร้านชำต้นแบบในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยในชุมชนต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

References

คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ. แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาระบบยาของประเทศไทย (พ.ศ. 2566-2570). สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2567 จาก https://ndi.fda.moph.go.th/uploads/file_news/202309131994561417.pdf.

กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานพัฒนาระบบการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี, กลุ่มพัฒนาระบบสนับสนุนบริการ กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. 2563.

สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช. สรุปผลการดําเนินงานส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผล. นครศรีธรรมราช. 2566.

นันทวรรณ ภู่เนาวรัตน์, ทิพาพร กาญจนราช, และรักษวร ใจสะอาด. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2557; 7(2): 110-24.

ศิรประภา ภาคีอรรถ. ความพึงพอใจในงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์กร. [การค้นคว้าอิสระ]. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ปทุมธานี. 2562.

Likert R. New Pattern of Management. New York, McGraw – Hill. 1961.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. การวิจัย การวัดและประเมินผล รวมบทความ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ, โรงพิมพ์ศรีอนันต์. 2543.

อุไรวรรณ ชัยชนะวิโรจน์, และชญาภา วันทุม. การทดสอบความตรงตามเนื้อหาของเครื่องมือวิจัย. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ. 2560; 11(2): 105-11.

รุ่งนภา กงวงษ์. การพัฒนาแนวทางการใช้เครื่องมือ web application Tawai For Health ในการรายงานและติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยากลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ. 2566; 7(3): 260-72.

จินดาพร อุปถัมภ์, คณัฐวุฒิ หลวงเทพ, และสิรีธร บัวขจร. การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในร้านชำ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ. 2566; 3(1): 70-85.

ไพลิน มูลจันทร์, นงเยาว์ เกษตร์ภิบาล, และวราภรณ์ บุญเชียง. การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันสำหรับการเฝ้าระวังการติดเชื้อตำแหน่งผ่าตัดหลังจำหน่าย. พยาบาลสาร. 2564; 48(2): 37-50.

พรเทพ ด่านน้อย, อุบลรัตน์ ศิริสุขโภคา, และไพศาล สิมาเลาเต่า. การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อให้บริการผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลส่งเสริมตำบล. [โปสเตอร์]. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. นครปฐม. 2562.

อัจฉรีย์ สีหา, และวรรณภา ศักดิ์ศิริ. การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านยาในร้านชำเขต อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2565; 15(1): 304-17.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06-01-2025