ประสิทธิผลของนวัตกรรมการผูกยึดผู้ป่วยจิตเวชที่มีพฤติกรรมรุนแรง จังหวัดยะลา
คำสำคัญ:
การผูกยึด, นวัตกรรม, ผู้ป่วยจิตเวชที่มีพฤติกรรมรุนแรงบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อพัฒนานวัตกรรมการพยาบาลสำหรับการดูแลผู้ป่วยพฤติกรรมรุนแรงที่ถูกจำกัดพฤติกรรมโดยการผูกยึด ศึกษาเปรียบเทียบการใช้นวัตกรรมผ้าผูกยึดแบบใหม่ และการใช้ผ้าผูกยึดแบบเก่า และความพึงพอใจในการใช้นวัตกรรมกับผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมรุนแรงที่ถูกจำกัดพฤติกรรมโดยการผูกยึดในหอผู้ป่วยจิตเวช โรงพยาบาลยะลา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยพฤติกรรมรุนแรงที่ได้รับการจำกัดพฤติกรรมโดยการผูกยึดจำนวน 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 15 คน และเป็นกลุ่มทดลอง 15 คน และเจ้าหน้าที่พยาบาลในหอผู้ป่วย 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย นวัตกรรมผ้าผูกยึด แบบวัดการบาดเจ็บและความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนการบาดเจ็บจากการผูกยึดผู้ป่วยพฤติกรรมรุนแรงระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง สถิติที่ใช้ในการทดสอบกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ หลังจากการใช้นวัตกรรมผ้าผูกยึดแบบใหม่การบาดเจ็บจากการผูกยึดผู้ป่วยพฤติกรรมรุนแรงลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้ง 3 ด้าน คือ อาการบวม การบาดเจ็บของผิวหนังจากการดึงรั้ง และกดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงจากประสาทถูกกด ส่วนด้านารฟกช้ำ และบาดแผลจากการเสียดสี คะแนนเฉลี่ยของการบาดเจ็บลดลงอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และความพึงพอใจในการใช้งานนวัตกรรมอยู่ในระดับดีมาก
Downloads
References
ศุทรา เอื้ออภิสิทธิ์วงศ์, ดุษฎี จึงศิรกุลวิทย์, และพันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์. การส่งเสริมสุขภาพจิต แนวคิดหลักฐาน และแนวทางปฏิบัติ. พิมครั้งที่ 1. เชียงใหม่, วนิดาการพิมพ์. 2560. หน้า 16.
ภาณุรัตน์ ศรีมงคล, และนริสา วงศ์พนารักษ์. การรับรู้พฤติกรรมรุนแรงของผู้ป่วยจิตเภทชายที่เสพแอมเฟตตามีน. วารสารพยาบาลทหารบก. 2565; 23(2): 408-17.
กรมสุขภาพจิต. รายงานผู้ป่วยมารับบริการด้านจิตเวช จังหวัดยะลา. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2565 จาก https://dmh.go.th/report/datacenter/dmh.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภท สำหรับโรงพยาบาลในเขตสุขภาพ ฉบับพยาบาล/นักวิชาการสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี, วิคทอเรียอิมเมจการพิมพ์. 2560. หน้า 15-32.
กรมสุขภาพจิต. คู่มือระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง สำหรับสถาบัน/โรงพยาบาล สังกัดกรมสุขภาพจิต. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี, พรอสเพอรัสพลัส. 2563. หน้า 15-98.
ปิติณัช ราชภักดี, และวริญทร ผิวดี. การออกแบบและพัฒนานวัตกรรมทางการพยาบาล “ระบบผูกยึดผู้ป่วยโดยใช้ สนามแม่เหล็กไฟฟ้าเหนี่ยวนํา”. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี. 2567; 32(2): 242-4.
ผุสนีย์ แก้วมณีย์, เปรมฤดี ดำรักษ์, วานีตา สาเมาะ, เรวัตร คงผาสุข, และนูร์ไอนี คลายนา. ประสบการณ์ของทีมการพยาบาลต่อการจำกัดพฤติกรรมผู้ป่วยจิตเวชด้วยการผูกยึด. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2564; 8(2): 251-6.
จุฑารัตน์ บันดาลสิน. การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สู่นวัตกรรมการบริการพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก. 2557; 15(3): 9-17.
อรพินทร์ ชูชม. การวิจัยกึ่งทดลอง. วารสารพฤติกรรมศาสตร์. 2552; 15(1): 1-15.
กัลยา ภักดีมงคล, จินตนา ยูนิพันธุ์, และเพชรี คันธสายบัว. การพัฒนาระบบบริการพยาบาลแบบเจ้าของไข้สำหรับผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมรุนแรง. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2549; 20(1): 25-7.
Medical Research Council. Aids to the examination of the peripheral nervous system. Accessed 20 November 2023 from https://www.ukri.org/publications/aids-to-the-examination-of-the-peripheral-nervous-system.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ, สุวีริยาสาส์น. 2553. หน้า 121.
American society for surgery of the hand. Edema treatment for the arm and hand. Accessed 20 November 2023 from http://www.handcare.org.
จิรวัฒน์ มูลศาสตร์. การควบคุมผู้ป่วยด้วยวิธีการทางกายภาพการควบคุมผู้ป่วยด้วยวิธีการทางกายภาพ (physical restraints) ในโรงพยาบาลทั่วไป-แนวทางปฏิบัติและข้อพิจารณาทางคลินิก. สรรพสิทธิเวชสาร. 2563; 41(2): 79-89.
รัตนาภรณ์ ประยูรเต็ม, มนูญ หมวดเอียด, ธัญญาภรณ์ อาภรณ์, และเรณุมาศ บุญกำาเนิด. ผลลัพธ์การใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันความเสี่ยงสำาหรับผู้ป่วยที่ได้รับการผูกยึดร่างกาย ในหอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย 2 โรงพยาบาลสงขลานครินทร์. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 2561; 32(1): 831-40.
Sahathevan MMed, Hamidon MMed, T Maniam MD, and Raymond MD. Peripheral neuropathy secondary to traction injury resulting from the use of physical restraints. Neurology Asia. 2010; 15(3): 267-9.
Caillaud M, Richard L, Vallat JM, Desmoulière A, and Billet F. Peripheral nerve regeneration and intraneural revascularization. Neural Regeneration Research. 2019; 14(1): 24-33. DOI: 10.4103/1673-5374.243699.
Benjamin K. Part 2 Distinguishing physical characteristics and management of brachial plexus injuries. Advances Neonatal Care. 2005; 5(5): 240-51. DOI: 10.1016/j.adnc.2005.06.001.
จุฑาทิพย์ กิ่งแก้ว, มาลาตี รุ่งเรืองศิริพันธ์, ดุสิดา สันติคุณาภรณ์, และนาตยา จุลลา. การรับรู้ของบุคลากรทางการพยาบาลต่อการจำกัดพฤติกรรมผู้ป่วยจิตเวชด้วยการผูกยึด. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2561; 32(2): 113-29.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2025 วารสารการศึกษาและวิจัยการสาธารณสุข

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.