ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใส่หมวกนิรภัยของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาที่ขับขี่รถจักรยานยนต์ไปโรงเรียน อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • ชนวีร์ ตั้งสุข สำนักงานสาธารณสุขอำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80250

คำสำคัญ:

ความรู้, ทัศนคติ, นักเรียนระดับมัธยม, พฤติกรรมการใส่หมวกนิรภัย

บทคัดย่อ

สาเหตุการตายของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ คือ การบาดเจ็บที่ศีรษะที่เกิดจากแรงกระแทกกับศีรษะ ขณะเกิดอุบัติเหตุ การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการใส่หมวกนิรภัยของนักเรียน และ 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใส่หมวกนิรภัยของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาที่ขับขี่รถจักรยานยนต์ไปโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาที่ขับขี่รถจักรยานยนต์ไปโรงเรียน จำนวน 225 คน ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ตรวจสอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน มีค่า IOC ระหว่าง 0.67 – 1.00 แบบทดสอบความรู้มีค่า KR-20 เท่ากับ 0.72 ด้านทัศนคติและพฤติกรรม ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาช เท่ากับ 0.764 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า ความรู้เกี่ยวกับอุบัติเหตุและการใส่หมวกนิรภัยมากกว่าครึ่งอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 59.72 (--29-11-665ce0c91c0eb1704d.png= 5.89, S.D. = 1.41) ทัศนคติเกี่ยวกับการใส่หมวกนิรภัยในภาพรวมอยู่ในระดับสูง (--29-11-665ce0c91c0eb1704d.png= 3.74, S.D. = 0.63) พฤติกรรมการใส่หมวกนิรภัยอยู่ในระดับปานกลาง (--29-11-665ce0c91c0eb1704d.png= 3.40, S.D. = 0.50) ตัวแปรอิสระที่ทำนายพฤติกรรมการใส่หมวกนิรภัยได้ คือ ความรู้เกี่ยวกับอุบัติเหตุและการใส่หมวกนิรภัย (β = 0.147, p-value < 0.001) ทัศนคติเกี่ยวกับการใส่หมวกนิรภัย (β = 0.190, p-value < 0.001) และการมีหมวกนิรภัย (β = 0.260, p-value = 0.004) สามารถร่วมกันทนายได้ ร้อยละ 23.4 ฉะนั้น ควรประชาสัมพันธ์ให้ผู้ขับขี่มีความรู้ ทั้งด้านกฎหมายการขับขี่รถจักรยานยนต์ การเลือกใช้หมวกนิรภัยที่ถูกต้องตามมาตรฐาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องจัดกิจกรรมโดยอาศัยการมีส่วนร่วมระหว่างครอบครัว ชุมชน โรงเรียน และสถานีตำรวจ

Downloads

Download data is not yet available.

References

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร. รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2565. กรุงเทพมหานคร, กระทรวงคมนาคม. 2566.

สำนักอำนวยความปลอดภัย. อุบัติเหตุจราจรบนถนนทางหลวงแผ่นดิน 2566. กรุงเทพมหานคร, กระทรวงคมนาคม. 2567.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช. รายงานอุบัติเหตุจราจร พ.ศ. 2566. นนทบุรี, กระทรวงสาธารณสุข. 2567.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอฉวาง. รายงานอุบัติจราจร พ.ศ. 2566. นครศรีธรรมราช, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช. 2567.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. หมวกนิรภัย คู่มือความปลอดภัยบนท้องถนนสำหรับผู้กำหนดนโยบายและผู้ปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. 2567.

กรมควบคุมโรค. ข้อเสนอแนะเพื่อความปลอดภัยในการเดินทางช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2553 ประเด็น: พฤติกรรมเสี่ยงและการประเมินผลการดำเนินงานควบคุมป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนน. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์. 2553; 41(9): 129-32.

บุพผา ลาภทวี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยของผู้บาดเจ็บจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. [รายงานวิจัย]. งานการพยาบาลผู้ป่วยศัลยกรรมอุบัติเหตุและฉุกเฉิน 1 โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. 2555.

พิเชฐ เจริญเกษ. สุขศึกษากับกระบวนการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. ชลบุรี, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2548.

Faul F, Erdfelder E, Lang AG, and Buchner A. G*power 3: a flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods. 2007; 39(2): 175-91.

Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. 2nd ed. Hillsdale, Lawrence Erlbaum Associates, Publishers. 1988.

สำเริง จันทรสุวรรณ, และสุวรรณ บัวทวน. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. ขอนแก่น, ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2547.

Bloom BS. Learning for mastery evaluation comment. Center for the study of instruction promgrame. Univercity of California at Los Angeles. 1986.

Best JW. Research in education. 3rd ed. Englewod cliffs, Prentice-Hall. 1977.

กุญญาดา เนื่องจำนง. การศึกษาพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา. [รายงานวิจัย]. มหาวิทยาลัยบูรพา. 2562.

วสุนธรา รตโนภาส, อนุสรา เป็กทอง, นิชนิร ลินพล, ทัศนีย์ หมอกเมฆ, และพัชนี วัชนันทวิศาล. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. สักทอง : วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สทวท.). 2561; 5(2): 75-85.

กมลวรรณ คุ้มวงษ์, นิสากร กรุงไกรเพชร, และสุวรรณา จันทร์ประเสริฐ. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมความปลอดภัยในการขับขี่จักรยานยนต์ของนักเรียนชายระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในภาคตะวันออก. วารสารคณะพยาบาล มหาวิทยาลัยบูรพา. 2562; 27(4): 42-52.

ตรีเนตร สาระพงษ์, วาสินี ทีคำเกษ, สุกัลญาณี กิ่งแก้ว, และศราวุฒิ แสงคำ. การสวมหมวกนิรภัยในการขับขี่รถจักรยานยนต์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา: พฤติกรรมและกฎหมาย. วารสารวิชาการเฉลิมกาญจนา. 2559; 3(1): 1-13.

จุฬาลักษณ์ ฐิตินันทิวัฒน์, และนเรศน์ ฐิตินันทิวัฒน์. ปัจจัยคัดสรรตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพที่ส่งผลต่อกับพฤติกรรมการใช้หมวกนิรภัยในการป้องกันอุบัติเหตุของนักเรียนในสังกัดโรงเรียนของเทศบาลเมือง เขตสุขภาพที่ 3. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. 2567; 20(1): 1-12.

กรัณฑวัชร์ ถาไชย. พฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยของผู้ใช้รถจักรยานยนต์ในเขตเทบาลเมืองแสนสุข. [วิทยานิพนธ์]. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา. 2558.

รัชชานนท์ ศรีสุภักดิ์, ประภากร ศรีสว่างวงศ์, และวรรวิษา ตรีสูน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวการณ์สวมหมวกนิรภัยของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 2565; 10(2): 57-64.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02-12-2024