ประสิทธิผลของโปรแกรมการดูแลหญิงตั้งครรภ์ต่อภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ด้านความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติตัวของหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์โรงพยาบาลลำทับ จังหวัดกระบี่

ผู้แต่ง

  • สุกัลยา ลือศิริวัฒนา โรงพยาบาลลำทับ อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ 81190

คำสำคัญ:

การปฏิบัติตัว, ความรู้, ทัศนคติ, ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลองนี้ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการดูแลหญิงตั้งครรภ์ต่อภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดด้านความรู้ ทัศนคติ ผลการปฏิบัติตัวของหญิงที่มาฝากครรภ์โรงพยาบาลลำทับ จังหวัดกระบี่ จำนวน 24 ราย กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ในอำเภอลำทับที่มารับบริการแผนกสูติกรรมโรงพยาบาลลำทับ อายุครรภ์ 28 - 34 สัปดาห์ ได้รับการดูแลตามโปรแกรมการดูแลหญิงตั้งครรภ์ต่อเนื่องคนละ 2 สัปดาห์ คำนวณโดยใช้โปรแกรม G*Power เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่โปรแกรมการดูแลหญิงตั้งครรภ์ต่อภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามความรู้ 3) แบบสอบถามทัศนคติ 4) แบบสอบถามการปฏิบัติตัว และ 5) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการดูแลหญิงตั้งครรภ์ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Paired t-test ผลการวิจัย พบว่า หลังการใช้โปรแกรมหญิงตั้งครรภ์มีความรู้ ทัศนคติ และผลการปฏิบัติตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) ดังนั้นโปรแกรมการดูแลหญิงตั้งครรภ์ต่อภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดควรดำเนินการตามโปรแกรมต่อไปในโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่องในมารดาตั้งครรภ์ทุกรายอย่างครอบคลุม เพื่อป้องกันการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด และลดภาวะแทรกซ้อนจากการคลอดก่อนกำหนดได้อย่างทันท่วงที

Downloads

Download data is not yet available.

References

ธีระ ทองสง. สูติศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร, บริษัทลักษมีรุ่ง. 2564. หน้า 247-59.

Cunningham FG, Leveno KJ, Bloom SL, Spong CY, Dashe JS, Hoffman BL, and et al. Williams obstetrics. 24th ed. New York, McGraw-Hill Education. 2018. p. 829-41.

Ding XX, Wu YL, Xu SJ, Zhu RP, Jua XM, Zhang SF, and et al. Maternal anxiety during pregnancy and adverse birth outcomes: Asystematic review and meta-analysis of prospective cohort studies. Journal Affect Disorder. 2014; 103-59.

สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์. นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ 2560 - 2569 ว่าด้วยการส่งเสริมการเกิดและการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ. สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2567 จาก http://rh.anamai.moph.go.th/th/.

อุ่นใจ กออนันตกุล. การคาดการณ์การคลอดก่อนกำหนดเพื่อป้องกันรักษา. บทความวิชาการสูตินรีแพทย์สัมพันธ์. 2562; 28(1): 8-15.

จิราจันทร์ คณฑา. การรับรู้เกี่ยวกับการคลอดก่อนกำหนดและพฤติกรรมการป้องกันการคลอดก่อนกำหนดของหญิงตั้งครรภ์. วารสารราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุรินทร์. 2561; 10(19): 188-200.

ศิริพรรณ กุลดี. ข้อมูลสถิติการคลอดก่อนกำหนดของจังหวัดกระบี่ 2564-2566. [รายงานสืบเนื่องจากการประชุม]. การประชุมงานอนามัยแม่และเด็กจังหวัดกระบี่ ครั้งที่ 3 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกระบี่. กระบี่. 2566.

วิไลรัตน์ วิศวไพศาล, บุญช่วย ศรีธรรมศักดิ์, และสาธิษฐ์ นากกระแสร์. ปัจจัยที่มีผลต่อการทำนายการคลอดก่อนกำหนดในหญิงตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลตำรวจ. วารสารพยาบาลตำรวจ. 2559; 8(2): 83-90.

Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. 2nd ed. Hillsdale, Lawrence Erlbaum Associates Publishers. 1988.

ปิยะพร กองเงิน, วิไลลักษณ์ วงศ์อาษา, และกาญจนา สมบัติศิรินันท์. ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจแก่สตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนดและสามีต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพจำนวนของการคลอดก่อนกำหนด และทารกน้ำหนักน้อย. วารสารสภาการพยาบาล. 2559; 31(3): 67-82.

เสาวภา วิชาดี. รูปแบบการเรียนของผู้เรียนในมุมมองของทฤษฎีการเรียนรู้แบบประสบการณ์. วารสารนักบริหาร. 2554; 31(1): 175-80.

ประไพรัตน์ แก้วศิริ, ศิริภรณ์ เหมะธุลิน, พิมลพรรณ อันสุข, และพรรณยุพา เนาว์ศรีสอน. การส่งเสริมศักยภาพแก่สตรีตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะเสี่ยงต่อการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. วารสารศรีนครินทร์เวชเวชสาร. 2563; 35(2): 238- 45.

คณะมนุษย์ศาสตร์. เครื่องมือที่ใช้ในการวัดและประเมินผล. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://human.yru.ac.th/huso/main.php.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

22-11-2024