พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 : กรณีศึกษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองปลิง อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
ทันตสุขภาพ, เบาหวานชนิดที่ 2, สุขภาพช่องปากบทคัดย่อ
โรคเบาหวานและโรคปริทันต์อักเสบมีความสัมพันธ์กันแบบสองทิศทาง โดยเบาหวานกระตุ้นความรุนแรงของปริทันต์อักเสบ และปริทันต์อักเสบส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด จึงจำเป็นต้องศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองปลิง อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 269 คน โดยสุ่มอย่างง่าย เก็บข้อมูลโดยตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ และร้อยละ และทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคสแควร์ และฟิชเชอร์เอ็กแซ็คเทสต์ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 65.8 มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ร้อยละ 38.7 เป็นโรคเบาหวาน 1 – 5 ปี ร้อยละ 46.8 แต่งงานแล้ว ร้อยละ 71.7 สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 69.5 มีอาชีพแม่บ้าน/พ่อบ้าน ร้อยละ 34.2 ไม่สูบบุหรี่ ร้อยละ 80.3 และไม่ดื่มสุรา ร้อยละ 65.4 การทดสอบความสัมพันธ์ พบว่า ระดับการศึกษา ประวัติการสูบบุหรี่ ประวัติการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก ทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก และการได้รับการสนับสนุนจากบุคคลมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ผลการศึกษาสามารถนำมาวางแผนส่งเสริมสุขภาพช่องปาก เพื่อลด ละ เลิก บุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ให้ความรู้และส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก รวมถึงส่งเสริมให้คนใกล้ชิดและบุคลากรด้านสุขภาพเสริมแรง โดยการสนับสนุนให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเองที่เหมาะสมกับภาวะของการเป็นโรคเบาหวานที่เป็นอยู่
Downloads
References
กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูงและปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. นนทบุรี, กระทรวงสาธารณสุข. 2563.
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ. ความชุกโรคเบาหวาน. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2566 จาก https://www.hiso.or.th/thaihealthstat/area/index.php?ma=1&pf=01818101&tm=2&tp=3302.
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. แนวทางการดูแลสุขภาพช่องปากผู้ป่วยเบาหวาน สำหรับทันตบุคลากรและบุคลากรสาธารณสุข. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2566 จาก https://dental.anamai.moph.go.th/th/handbook/download?id=94141&mid=35799&mkey=m_document&lang=th&did=29274.
วรวรรณ อัศวกุล. การส่งเสริมสุขภาพช่องปากกับการป้องกันโรคเบาหวานในผ้สูงอายุ. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2563; 35(3): 362-70.
ปิยะมาศ เอมอิ่มอนันต์. ความสัมพันธ์ของดัชนีมวลกายกับจำนวนฟันปกติที่ใช้งานได้ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์. 2562; 69(4): 483-92.
พัทนิล วัชรพันธ์, และเกวลิน ธรรมสิทธิ์บูรณ์. โรคเบาหวานกับการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อในและเนื้อเยื่อรอบรากฟัน. วารสารคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2557; 2(2): 20-37.
กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. นนทบุรี, กระทรวงสาธารณสุข. 2561.
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 9 ประเทศไทย พ.ศ. 2566. นนทบุรี, กระทรวงสาธารณสุข. 2567.
สำนักข่าวออนไลน์ Hfocus. รร.เบาหวานวิทยา จ.นครราชสีมา ช่วยผู้ป่วยเข้าสู่ระยะโรคสงบไม่ต้องใช้ยา. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2567 จาก https://www.hfocus.org/content/2024/01/29631.
อภิระมณ หลาทอง, และนิยม จันทร์นวล. ผลของโปรแกรมทันตสุขภาพต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปาก และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี. [รายงานสืบเนื่องจากการประชุม]. การประชุมวิชาการระดับชาติ มอบ.วิจัย ครั้งที่ 17 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. อุบลราชธานี. 2566.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองปลิง. รายงานประจำปีงบประมาณ 2562 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองปลิง อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองปลิง. 2563.
Bloom BS. Learning for Mastery. Evaluation Comment. 1968; 1(2): 1-11.
ยููลีธี ลิเก, อรชินี พลานุกูลวงศ์, และสุไรยา หมานระโต๊ะ. ผลของการใช้โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพช่องปากต่อความรู้ ทักษะ พฤติกรรมการดูแลฟันเทียม และปริมาณคราบจุลินทรีย์ในผู้ป่วยเบาหวานที่ใส่ฟันเทียมบางส่วน. วารสารการศึกษาและวิจัยการสาธารณสุข. 2567; 2(2): 107-23.
เปรมฤดี ศรีสังข์, ธนัญญา ตาชูชาติ, วรัญญา ถาวันจันทร์, ศุภศิลป์ ดีรักษา, และวิภาดา จิตรปรีดา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลท่าคันโท อําเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารทันตาภิบาล. 2565; 33(1): 99-112.
ศรุตา แสงทิพย์บวร. ประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร่วมกับการดูแลสุขภาพช่องปากฉบับย่อต่อระดับน้ำตาลในเลือดและสภาวะปริทันต์ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 : การทดลองทางคลินิกแบบมีกลุ่มควบคุม. วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์. 2562; 69(4): 417-30.
Wong FM. Factors associated with knowledge, attitudes, and practices related to oral care among the elderly in Hong Kong community. International journal of environmental research and public health. 2020; 17(21): 8088.
Bashiru BO, Ernest A, and Egodotaire OJ. Oral health knowledge and attitude as determinants of oral health behavior in a sample of old people in Port Harcourt, Rivers State, Nigeria. European Journal of Preventive Medicine. 2017; 12(3): 45-50.
ตวงพร กตัญญุตานนท์, วรรณรัตน์ จงเจริญ, สุวิมล พันธ์จันทร์, พัชรา จันทมนตรี, เพ็ญศิริ เอกนุ่ม, อรพรรณ ศิริวัฒน์, และคนอื่นๆ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยเบาหวานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวัดศรีวารีน้อย ตำบลศีรษะจระเข้ใหญ่ อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2562; 28(5): 792-801.
เมธาวี นิยมไทย, และสุพัฒนา คำสอน. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมทันตสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปลักแรด อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ววท.). 2564; 29(1): 168-79.
เครือข่ายบริการ คป.สอ.เมืองตาก. คู่มือการดูและผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยกระบวนการ Motivation Interview (MI). ตาก, เครือข่ายบริการ คป.สอ.เมืองตาก. 2561.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วารสารการศึกษาและวิจัยการสาธารณสุข
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.