ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดูแลสุขภาพเบื้องต้นของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พงษ์เพชร ดูจี่ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 50180
  • ฉัตรศิริ วิภาวิน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 50180
  • สามารถ ใจเตี้ย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 50180

คำสำคัญ:

การดูแลสุขภาพเบื้องต้น, เทศบาลตำบลขี้เหล็ก, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดูแลสุขภาพเบื้องต้น และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดูแลสุขภาพเบื้องต้นของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจำนวน 109 คน ในเขตเทศบาลตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามและการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและเชิงวิเคราะห์ด้วยสถิติ Chi-square และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า การดูแลสุขภาพเบื้องต้นของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รวมเฉลี่ยทั้งหมดอยู่ในระดับปานกลาง (--29-11-66e7e70ee4c363b013.png= 3.31, S.D. = 0.47) ทั้งนี้มีปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดูแลสุขภาพเบื้องต้นของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ได้แก่ การประชุมและการอบรมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ และการได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับการดูแลสุขภาพเบื้องต้นของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value = 0.009 และ 0.022 ตามลำดับ) การศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะ ให้ศึกษาสถานการณ์สุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้ข้อมูลสุขภาพที่แท้จริงเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง และจัดอบรมการดูแลสุขภาพเบื้องต้นให้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในด้านการดูแลสุขภาพทางกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ เพื่อให้มีความตระหนักถึงการดูแลสุขภาพของตนเอง

Downloads

Download data is not yet available.

References

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. จำนวน อสม. จำแนกตามระดับการศึกษาตามรายจังหวัด. สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2566 จาก https://www.thaiphc.net/phc/phcadmin/administrator/Report/OSMRP00014.php.

Gokhale CN, Simon SS, Hadaye RS, and Lavangare SR. A cross-sectional study to screen community health volunteers for hip/knee-osteoarthritis and osteoporosis. Journal of Family Medicine and Primary Care. 2019; 8(6): 2101-5. DOI: 10.4103/jfmpc.jfmpc_261_19.

สุชาดา อินทรกำแหง ณ ราชสีมา, สมตระกูล ราศิริ, และธิติรัตน์ ราศิริ. บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขไทย. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ. 2564; 7(2): 80-97.

Rajaa S, Sahu SK, and Thulasingam M. Contribution of community health care volunteers in facilitating mobilization for diabetes and hypertension screening among the general population residing in urban puducherry - An operational research study. Journal of Family Medicine and Primary Care. 2022; 11(2): 638-43. DOI: 10.4103/jfmpc.jfmpc_1316_21.

ไพรัช คำพรมมา. รูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของอาสสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลเหล่าอ้อย อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน. 2563; 5(2): 146-52.

สมชาย นิลแก้ว, และอมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ. การรับรู้ด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเขตอำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2563; 3(3): 28-38.

สามารถ ใจเตี้ย, สิวลี รัตนปัญญา, ณัทธร สุขสีทอง, ศศิกัญญ์ นําบุญจิตต์, รัฐพรรณ สันติอโนทัย, จันจิราภรณ์ สท้านไตรภพ, และคนอื่นๆ. การพัฒนากิจกรรมเสริมความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อการใช้ประโยชน์ภูมิปัญญาสมุนไพรพื้นบ้านในการดูแลสุขภาพ.วารสารสาธารณสุขมูลฐาน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ). 2566; 38(1): 27-36.

อภิชาติ จิตรวิบูลย์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารการศึกษาและวิจัยการสาธารณสุข. 2567; 2(2): 150-65.

Krejcie RV, and Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 1970; 30(3): 607-10. DOI: 10.1177/001316447003000308.

Cortina JM. What is coefficient alpha? An examination of theory and applications. Journal of Applied Psychology. 1993; 78(1): 98-104. DOI: 10.1037/0021-9010.78.1.98.

วิลาวรรณ คริสต์รักษา. ผลของโปรแกรมการจัดการภาวะวิกฤตทางจิตใจจากอุทกภัยต่อความรู้และความสามารถในการดูแลตนเองของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. [วิทยานิพนธ์]. ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2557.

ปัญจนาฏ วรวัฒนชัย. การคิดเชิงบวก. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. 2565; 16(2): 191-223.

เบญจวรรณ บัวชุ่ม. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลป่างิ้ว อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย. วารสารกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. 2563; 16(3): 49-58.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-06-2024