ประสิทธิผลของการฝึกกิจกรรมบำบัดแบบเข้มข้นที่บ้านในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

ผู้แต่ง

  • นริสา นิวรนุสิทธิ์ งานกิจกรรมบำบัด โรงพยาบาลอุดรธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 41000

คำสำคัญ:

การฟื้นฟูโรคหลอดเลือดสมอง , กิจกรรมบำบัดแบบเข้มข้น, โปรแกรมฝึกมือที่บ้าน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบ Quasi-experimental research เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการฝึกกิจกรรมบำบัดแบบเข้มข้นที่บ้านในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เป็นกลุ่มทดลอง 30 คน กลุ่มควบคุม 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูกิจกรรมบำบัดแบบเข้มข้นสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองกลับไปฝึกที่บ้าน และมีการติดตามการฝึกกิจกรรมบำบัดทางโทรศัพท์ทุกสัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมให้โปรแกรมฝึกแบบมาตรฐานทางกิจกรรมบำบัดที่โรงพยาบาล ทั้งสองกลุ่มได้รับการฝึกเป็นเวลา 60 นาทีต่อวัน 3 วัน ต่อสัปดาห์ ต่อเนื่องนาน 12 สัปดาห์ โดยใช้การวัด Motor assessment scale (MAS) และ The modified barthel activities of daily index (MBAI) การวัดผลก่อนและหลังให้โปรแกรม ข้อมูลทั่วไปวิเคราะห์โดยใช้สถิติพรรณนา จำนวน ร้อยละ ส่วนการเปรียบเทียบภายในกลุ่มใช้ Wilcoxon signed-rank test และ Mann-Whitney U test ใช้เปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า ค่ามัธยฐานของ MAS และ MBAI ก่อนและหลังให้โปรแกรมภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ส่วนค่ามัธยฐาน MAS และ MBAI ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การฝึกกิจกรรมบำบัดแบบเข้มข้นที่บ้านในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสามารถเพิ่มความสามารถของแขนและมือ ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้ ในกรณีผู้ป่วยไม่สะดวกมารับบริการที่โรงพยาบาลสามารถนำโปรแกรมกิจกรรมบำบัดแบบเข้มข้นไปฝึกต่อที่บ้านได้ เป็นการเพิ่มการเข้าถึงการบริการทางการฟื้นฟูสภาพ ทำให้ผู้ป่วยมีความสามารถทางด้านกิจวัตรประจำวันดีขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมควบคุมโรค สำนักโรคไม่ติดต่อ. ประเด็นสารรณรงค์วันอัมพาตโลก ปี 2562. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2566 จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/files/78a5b91d92a079c1a35867c6347a9299.pdf.

สมศักดิ์ เทียมเท่า. อุบัติการณ์โรคหลอดเลือดสมองในประเทศไทย. วารสารประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย. 2565; 39(2): 39-46.

โรงพยาบาลอุดรธานี. รายงานสถิติผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. อุดรธานี. 2566.

ทศพร บรรยมาก. กิจกรรมบำบัดสำหรับผู้ที่มีปัญหาด้านระบบประสาท. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ, ออเร้นท์กรุ๊ปเทคนิคดีไซด์. 2557. หน้า 123-43.

ศรารินทร์ พิทธยะพงษ์. สถานการณ์ ปัญหา และอุปสรรคการดูแลผู้ป่วยหลังการเกิดโรคหลอดเลือด สมองระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้าน.วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 2561; 11(2): 26-39.

Bureau of policy and strategy. Ministry of Public Health. Statistical. Accessed 25 October 2023 from https://ghdx.healthdata.org/organizations/bureau-policy-and-strategy-ministry-public-health-thailand.

ภัทรา วัฒนพันธุ์. การฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและการป้องกันภาวะแทรกซ้อน. วารสารประสาทวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 2556; 1-35.

ปรีดา อารยาวิชานนท์. การฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. สรรพสิทธิ์เวชสาร. 2559; 37(1-3): 1-16.

Nascimento LR, Rocha RJ, Boening A, Ferreira GP, and Perovano MC. Home-based exercises are as effective as equivalent doses of centre-based exercises for improving walking speed and balance after stroke: a systematic review. Journal of Physiotherapy. 2022; 68(3): 174-8. DOI: 10.1016/j.jphys.2022.05.018.

Toh SFM, Chia PF, and Fong NK. Effectiveness of home-based upper limb rehabilitation in stroke survivors: A systematic review and meta-analysis. Frontier in Neurology. 2022; 13: 964196. DOI: 10.3389/fneur.2022.964196.

Sartor MM, Grau-Sánchez J, Guillén-Solà A, Boza R, Puig J, Stinear C, and et al. Intensive rehabilitation programme for patients with subacute stroke in an inpatient rehabilitation facility: describing a protocol of a prospective cohort study. BMJ Open. 2021; 11(10): e046346. DOI: 10.1136/bmjopen-2020-046346.

Jafari J, Kermansaravi F, and Yaghoubinia F. The effect of home-based rehabilitation on adherence to treatment and quality of life of individuals after stroke. Medical-Surgical Nursing Journal. 2020; 9(2): e107716. DOI: 10.5812/msnj.107716.

บรรณฑวรรณ หิรัญเคราะห์, สุภาภรณ์ ด้วงแพง, และฉันทนา จันทวงศ์. ประสิทธิผลของโปรแกรมการพยาบาลในการฟื้นฟูสมรรถภาพที่บ้านสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบต่อการทำหน้าที่ การรับรู้ภาวะสุขภาพ และคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2560; 11(2): 28-37.

ผกามาศ พิริยะประสาธน์, กรอนงค์ ยืนยงชัยวัฒน์, นพพล ประโมทยกุล, และกฤษณา ครุฑนาค. ผลของการทำกายภาพบำบัดที่บ้านในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเรื้อรังที่ไม่ได้รับการฟื้นฟูแล้ว: การศึกษาเบื้องต้น. ธรรมศาสตร์เวชสาร. 2562; 19: 48-54.

Chen S, Lv C, Wu J, Zhou C, Shui X, and Wang Y. Effectiveness of a home-based exercise program among patients with lower limb spasticity post-stroke: A randomized controlled trial. Asian Nursing Research. 2021; 15(1): 1-7. DOI: 10.1016/j.anr.2020.08.007.

อัญชลี พันธุ์แก้ว, สุทธิพงษ์ ทิพชาติโยธิน, ประเสริฐพร จันทร, เกรียงศักดิ์ ม่วงสุนทร, พัชรินทร์ พุทธรักษา, สมลักษณ์ เพียรมานะ, และคนอื่นๆ. ความน่าเชื่อถือของแบบประเมิน Motor Assessment Scale ฉบับภาษาไทย ในการประเมินการทำงานของแขนและมือในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. เวชศาสตร์ฟื้นฟูสาร. 2550; 17(1): 20-5.

บุษกร โลหารชุน, ปานจิต วรรณภิระ, จินตนา ปาลิวนิช, และกัญญารัตน์ คําจุน. ความน่าเชื่อถือของการประเมินผู้ป่วยอัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมองด้วยแบบประเมิน modified barthel index ฉบับภาษาไทย. พุทธชินราชเวชสาร. 2551; 25(3): 842-50.

กองบริหารสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการฟื้นฟูสมรรถภาพระยะกลาง สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ตามแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2566 จาก https://www.snmri.go.th/snmri-e-library/.

วาริสา ทรัพย์ประดิษฐ์, ขวัญประชา เชียงไชยสกุลไทย, นำพร สามิภักดิ์, และชัชวลัย สนธิกุล. จำนวนชั่วโมงการทำกายภาพบำบัดที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกึ่งเฉียบพลัน. วารสารกายภาพบำบัด. 2565; 44(1): 1-11.

ภาพวิจิตร เสียงเสนาะ, และเฟื่องฟ้า ขอบคุณ. การทบทวนวรรณกรรม การฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในด้านการเดินการทรงตัว การใช้งานแขนและมือด้วยการฝึกแบบเฉพาะเจาะจง. วารสารสมาคมโรคหลอดเลือดสมองไทย. 2565; 21(2): 26-43.

Waddell KJ, Strube MJ, Tabak RG, Joshu DH, and Lang CE. Upper limb performance in daily life improves over the first 12 weeks post-stroke. Neurorehabilitation and Neural Repair. 2019; 33(10): 836-47. DOI: 10.1177/1545968319868716.

อนุชัย พึ่งพระรัตนตรัย. ผู้ป่วย Stroke กับ Golden Period ตอนที่ 1 เวลาทองของการฟื้นฟู. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2566 จาก https://pt.mahidol.ac.th/knowledge/?p=1971.

Kamalakannan S, Gudlavalleti VM, Prost A, Natarajan S, Pant H, Chitalurri N, and et al. Rehabilitation needs of stroke survivors after discharge from hospital in India. Archives of Physical Medicine and Rehabilitation. 2016; 97(9): 1526-32. DOI:10.1016/j.apmr.2016.02.008.

เกศริน เอมกวิชัย. ผลของโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมองและผู้ดูแลระยะเปลี่ยนผ่าน จากโรงพยาบาลสู่บ้านต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การกลับมารักษาซ้ำ และความสามารถในการดูแลผู้ป่วยของผู้ดูแล โรงพยาบาลทั่วไป แห่งหนึ่งของภาคใต้. [วิทยานิพนธ์]. ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2564.

Soares C, Magalhães JP, Faria-Fortini I, Batista LR, Andrea LL, and Faria CD. Barriers and facilitators to access post-stroke rehabilitation services in the first six months of recovery in Brazil. Disability Rehabilitation. 2024; 1-7. DOI: 10.1080/09638288.2024.2310756.

Bernocchi P, Vanoglio F, Baratti D, Morini R, Rocchi S, Luisa A, and et al. Home-based telesurveillance and rehabilitation after stroke: a real-life study. Topics in Stroke Rehabilitation. 2016; 23(2): 106-15. DOI:10.1080/10749357.2015.1120453.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2024