การศึกษาสภาพการสื่อสารเชิงอารมณ์เพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม

Main Article Content

อภิญรัตน์ สุนทรพรพันธ์
ศุภศิริ บุญประเวศ
สุขุม เฉลยทรัพย์
สุภาภรณ์ ตั้งดำเนินสวัสดิ์

บทคัดย่อ

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการสื่อสารเชิงอารมณ์เพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 288 คน ได้มาจากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างให้เหมาะสมกับตัวแปรตามกรอบแนวคิดในการวิจัย เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามการสื่อสารเชิงอารมณ์เพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.96 และค่าความตรงเท่ากับ 0.67-1.00 การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า


               การสื่อสารเชิงอารมณ์เพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความสามารถในการสื่อสาร 2) ความสามารถทางอารมณ์ 3) การสื่อสารเชิงอารมณ์ และ 4) ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม และสภาพการสื่อสารเชิงอารมณ์เพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ด้านภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาได้แก่ ด้านการสื่อสารเชิงอารมณ์ และด้านความสามารถในการสื่อสาร ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความสามารถทางอารมณ์

Article Details

How to Cite
สุนทรพรพันธ์ อ., บุญประเวศ ศ., เฉลยทรัพย์ ส., & ตั้งดำเนินสวัสดิ์ ส. (2024). การศึกษาสภาพการสื่อสารเชิงอารมณ์เพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม. วารสารการบริหารการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษา, 4(3), 143–155. https://doi.org/10.2822.EAI202431673
บท
บทความวิจัย

References

กิตติศักดิ์ กาญจนครุฑ. (2567). การพัฒนารูปแบบผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผล สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 10(2), 60-68.

จุฑามาศ ดีแป้น. (2563). การตัดสินใจของผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ฐิติพร ศุภสิทธิ์ธำรง. (2566). EQ (Emotional quotient) ความฉลาดทางอารมณ์. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2567,

จาก https://www.medparkhospital.com/lifestyles/eq-emotional-quotient.

ทัศนีย์ เจนวิถีสุข. (2554). การสื่อสารเชิงพุทธกับการเปลี่ยนแปลงเชิงสังคม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ธีร ชัยสุทธิ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการสื่อสารความพึงพอใจต่อการสื่อสารและประสิทธิผลของการสื่อสารภายในองค์กรของผู้ปฏิบัติงานสังกัดสำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต (นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและสังคม) มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธีรวีร์ แพบัว. (2564). ทักษะการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู โรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 8(1), 55-68.

ธวัชชัย ศรีสุภา. (2558). การสื่อสารและการพัฒนาความสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นันทนา นันทวโรภาส. (2564). การสื่อสารแบบรั่วๆ ของท่านผู้นำ อาจนำไปสู่วิกฤติยิ่งกว่า ? คุยกับ รศ.ดร.นันทนา ผู้นำระดับโลกที่ดีสื่อสารยังไง ?. หนังสือพิมพ์มติชนสุดสัปดาห์, 4(2564), 1-3.

พัณณ์ชิตา รุ่งหิรัญธนากิตติ์. (2559). ความฉลาดทางอารมณ์ ความสามารถในการสื่อสาร ความผูกพัน และความพึงพอใจในงาน และบรรยากาศในองค์กรที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของ พนักงานบริษัทเอกชนใน กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิมหาบัณฑิต (บริหารธุรกิจ). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ไพโรจน์ ญัตติอัครวงศ์. (2562). การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์กับผู้บริหารยุคใหม่. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 7(2), 12-26.

รัชนี จอมศรี. (2565). แนวทางการพัฒนาการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจของผู้บริหารสถานศึกษา ในกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพศูนย์การศึกษาพิเศษ กลุ่มเครือข่ายที่ 9. วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต

(การบริหารจัดการการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วลัยพร ศรีรัตน์. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์. วารสารวิชาการร้อยแก่นสาร, 6(10), 408-422.

วิชชา จันทร์ทอง. (2564). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยการสื่อสาร ความฉลาดทางอารมณ์ และ ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานจากที่บ้านของพนักงานบริษัท ฟิลิปส์ประเทศไทย จำกัด. สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การจัดการ). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิไลลักษณ์ รู้กิจ. (2567). ภาวะผู้นําเชิงคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคการเปลี่ยนแปลงของโลก. วารสารมณีเชษฐาราม วัดจอมมณี, 7(2), 427-446.

วิศิษฎ์ เกตุรัตนกุล. (2566). รูปแบบการสื่อสารเพื่อสร้างความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานรากในเขตภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 7(2), 237-250.

สิงห์คำ ยอดปานันท์. (2562). ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหาร การเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุนิสา โกยดี. (2559). การสื่อสารในองค์กร. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อับดุลฮาเร็ม ยูโซ๊ะ. (2565). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

เอกชัย ลวดคำ. (2565). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

เอกรงค์ ปั้นพงษ์. (2566). พลังการสือสารผ่านแนวคิดอำนาจละมุน (Soft power) ของประเทศญี่ปุ่นใน หนังสือการ์ตูนยอดต่พิมพ์อันดับ 1 ของโลก “วันพีซ”. วารสารนิเทศศาสตร์ปริทัศน์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต, 27(2).

Boomsma, A., & Hoogland, J. J. (2001). The robustness of LISREL modeling revisited. Structural equation models: Present and future. A Festschrift in honor of Karl Jöreskog,2(3), 139-168.

Brown, M. E., & Treviño, L. K. (2006). Ethical leadership: A social learning perspective for construct development and testing. The Leadership Quarterly, 17(6), 595-616.

Ceyda Başoğul. (2016). Role of Emotional Intelligence in Conflict Management Strategies of Nurses. Asian Nursing Research, 10(2016), 228-233.

Goleman, D. (1995). Emotional intelligence: why it can matter more than IQ. New York: Bantam.

Griffin, Ricky W., and Gregory Moorhead. (2014). Organizational Behavior Managing People and Organizations. (11th ed.). Ohio: Cengage Learning.

Robbins, S.P., and Judge, T. (2013). Organization behavior. Upper Saddle River, New Jersey: Pearson.

Solomon, D. H., & Theiss, J. A. (2012). Interpersonal communication: Putting theory into practice. SAGE Publications.

The Oxford Review. (2024). Affective Communication: Definition and explanation. สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2567, จาก https://oxford-review.com/oxford-review-encyclopaedia-terms/affective-communication.