การติดตามและประเมินผลการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มุ่งเน้นศึกษาและประเมินผลกระทบของการระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะถดถอยทางการเรียนในรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ปรับเปลี่ยนไป เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดทำให้ผู้เรียนต้องเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์หรือที่บ้านมากขึ้น มีปัญหาไม่ต่อเนื่องในการเรียนรู้ และทักษะที่เคยมีอยู่เกิดการถดถอย ทำให้ผู้เรียนขาดโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาทักษะ เกิดความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงเทคโนโลยี และเกิดปัญหาสุขภาพจิตจากการขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ส่งผลกระทบต่อระบบการศึกษาทั่วโลกอย่างรุนแรง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนการสอนจากการเรียนในห้องเรียนมาเป็นการเรียนออนไลน์หรือการเรียนรู้ด้วยตนเองที่บ้าน ทำให้ผู้เรียนขาดโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงการศึกษา เกิดปัญหาการประเมินระดับความรู้และทักษะของผู้เรียนแต่ละคน เพื่อวางแผนการเรียนการสอนที่เหมาะสม นอกจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องปรับตัวเพื่อสนับสนุนการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียน โดยการจัดสรรงบประมาณอย่างทั่วถึง การพัฒนาวัสดุอุปกรณ์สนับสนุนการเรียนการสอน การสร้างความร่วมมือกับผู้ปกครอง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
การติดตามและประเมินผลการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนจะทำให้เข้าใจถึงสภาพปัญหา ผลกระทบ และแนวทางการแก้ไขปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียน จะช่วยให้ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง สามารถวางแผนและดำเนินการเพื่อสนับสนุนการฟื้นฟูการศึกษาให้ผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับภาวะถดถอยทางการเรียนที่เกิดจากการระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. (2565). ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้. กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2567, จาก https://www.bangkokbiznews.com
ณัฐนิช ธรณธรรมกุล. (2565). การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ จากภาวะการเรียนรู้ถดถอย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ศิลปกรรมศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตรีนุช ไพชยนตวิจิตร และ สรัลชนา ธิติสวรรค์. (2565). ผลกระทบการแพรระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
ต่อการศึกษา. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2567, จาก http://www.eco.ru.ac.th/images/document/article/TreeNut/publish02-02.pdf
ทรงยศ รังสรรค์มณีนิล และพร้อมพิไล บัวสุวรรณ. (2567). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการเพื่อฟื้นฟู ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของผู้เรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรปราการ. วารสารรัชต์ภาคย์, 17(53), 120 - 138.
เทศบาลตำบลห้างฉัตรแม่ตาล. (2561). การติดตามและประเมินผล. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2567, จาก https://www.maetan.go.th
เทฬหวิชญ์ ฐิติรัตน์สกุล. (2564). ปิดโรงเรียน เร่งฟื้นฟูการศึกษา แก้ปัญหา Learning Loss. Workpoint Today. สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2567, จากhttps://workpointtoday.com/policylab-learning-loss/
นรรธพร จันทร์เฉลี่ย เสริบุตร. (2564). ภาวะความรู้ถดถอย (Learning Loss) ที่ต้องเร่งแก้ไขในมุมมองของ CEO Starfish Education. สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2567, จาก www.starfishlabz.com
__________. (2564). มาตรการฟื้นฟูความรู้ถดถอยในเด็ก (Learning Loss). Starfish Education. สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2567, จาก https://www.starfishlabz.com
ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค. (2564). สำรวจผลกระทบหลัง COVID-19 จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของการศึกษาโลก. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2567, จาก https://www.eef.or.th/article1-02-01-211
ยศวีร์ สายฟ้า. (2565). Learning Loss ภาวะการเรียนรู้ถดถอย. สถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2567, จาก https://research.eef.or.th/learning-loss-recession
รจิต พุ่มพฤกษ์. (2566). การศึกษาแนวทางเพื่อฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ภายหลัง สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในภาวะปกติถัดไป. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
วิชา ขันติบุญญานุรักษ์ และชนิดา มิตรานันท์. (2567). ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้หลังสถานการณ์การแพร่ระบาด
COVID-19 ของผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนเรียนรวม: ปัญหาและการช่วยเหลือ. วารสารคุรุศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 5(1), 83 - 100.
วิริยาภรณ์ อุดมระติ. (2566). การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อส่งเสริมและฟื้นฟูพัฒนาการของเด็กปฐมวัย หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2567, จาก http://core-website.com/public
สหพันธ์สภากาชาดและสภากาชาดเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ. (2558). การติดตามและประเมินผล. ห้องสมุดความยืดหยุ่น, ทรัพยากรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2567, จาก https://www.rcrc-resilience-southeastasia.org
สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2557). การติดตามและประเมินผล. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2567, จาก https://www.opsmoac.go.th/km-km_org_center-files-391991791879
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). การติดตามการดำเนินการฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2567, จาก https://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/2042-file.pdf
อมราพร พรพงษ์. (2562). หน่วยที่ 10 การติดตามและประเมินผล. สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2567, จาก https://www.rncc.ac.th/index.php/teach-doc/55-2019-12-16-06-29-30
อุดม วงษ์สิงห์. (2565). จาก Learning Loss สู่ Learning Recovery ฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการศึกษา ในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงหลังโควิด-19. สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2567, จาก https://www.eef.or.th/news-learning-loss-learning-recovery-081122
House, A., et al. (2020). Mood disorders in the year after first stroke. British. Journal of Psychiatry, 158, 83-92.
Borg G.A.V. (1982). Psychological bases of perceived exertion. Medicine and Science in Sports and Exercise 14, 377-381