WATNONGGO Model : รูปแบบการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาโดยยึดหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาโดยยึดหลักการแบบมีส่วนร่วม ยึดหลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ผ่านการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยน้อมนำหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี มาเป็นฐานรากการบริหาร สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ โดยขับเคลื่อนการบริหารงานโดยทฤษฎีเชิงระบบ และพัฒนาด้วยวงจรการบริหารงานคุณภาพ PDCA เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา มีการบริหารจัดการโดยใช้หลักการกระจายอำนาจ การมีส่วนร่วม และหลักธรรมาภิบาล ตามเงื่อนไขคุณธรรม มีการกำกับ นิเทศติดตามและประเมินผลอย่างรอบคอบ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ มุ่งสู่ความเป็นสถานศึกษาแห่งความพอเพียง สามารถพึ่งพาตนเองได้ มีความยั่งยืน เห็นความสำคัญของผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรของสถานศึกษาพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง และมีการทำงานร่วมกันเป็นทีมโดยมุ่งเน้นผลลัพธ์ขององค์กร เพื่อสร้างองค์กรที่มีคุณภาพ และเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาที่ดียิ่งขึ้นต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 - 2579, (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ:
บริษัท พริกหวาน กราฟฟิค จำกัด.
ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2555). ประมวลสาระชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพประกาศนียบัตรบัณฑิตทางการศึกษา.
(พิมพ์ครั้งที่ 5). นนทบุรี: มหาวิทยาสุโขทัยธรรมาธิราช.
ทำนอง ภูเกิดพิมพ์. (2551). แนวคิดการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของชุมชน. กรุงเทพฯ :
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปัทนีญา รอดแก้. (2559). กระบวนการในการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนปฏิบัติการ. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 13(2), 61 - 78.
สัมฤทธิ์ กางเพ็ง. (2545). รูปแบบการมีสวนรวมในสถานศึกษา. วารสารวิชาการ, 4, 9 - 10
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2563.โรงพิมพ์ชุมนุมการเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.