การบริหารเพื่อการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนวัดสิงห์ ด้วยกลยุทธ์โรงเรียนดีมีคุณภาพตามมาตรฐาน

Main Article Content

เสกสรร คำสำรวย

บทคัดย่อ

               การบริหารเพื่อการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนวัดสิงห์ ด้วยกลยุทธ์โรงเรียนดีมีคุณภาพตามมาตรฐานมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพและความต้องการการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนวัดสิงห์  2. สร้างกลยุทธ์โรงเรียนดีมีคุณภาพตามมาตรฐาน 3. ศึกษาผลการใช้กลยุทธ์โรงเรียนดีมีคุณภาพตามมาตรฐาน 4. ปรับปรุงพัฒนากลยุทธ์โรงเรียนดีมีคุณภาพตามมาตรฐาน ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา ประชากร ได้แก่ คณะครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองและนักเรียนโรงเรียนวัดสิงห์ จำนวน 1,452 กลุ่มคณะครูและคณะกรรมการสถานศึกษา ดำเนินการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling)  กลุ่มผู้ปกครองและนักเรียน สุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า  1.สภาพการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนวัดสิงห์ตามมาตรฐานการประกันคุณภาพภายใน โดยรวมมีสภาพการดำเนินงาน อยู่ในระดับปานกลาง มีความต้องการดำเนินการ จำนวน 14 ข้อ 2.กลยุทธ์โรงเรียนดีมีคุณภาพตามมาตรฐานของโรงเรียนวัดสิงห์ ประกอบด้วยวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ โครงการ 3.ผลการใช้กลยุทธ์โรงเรียนดีมีคุณภาพตามมาตรฐาน พบว่าการประเมินคุณภาพภายในของโรงเรียนวัดสิงห์ มีผลดีเลิศ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าค่าเป้าหมาย ผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 95.85 ได้รับรางวัล จำนวน 282 รางวัล คณะครูมีผลการประเมินสมรรถนะการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ร้อยละ 96.75 ได้รับรางวัล จำนวน 19 รายการ โรงเรียนวัดสิงห์ ได้รับรางวัล จำนวน 3 รางวัล มีหน่วยงานมาศึกษาดูงาน จำนวน 6 หน่วยงาน นักเรียนได้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระดับ 2 ขึ้นไป ร้อยละ 98.79 คน มีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ระดับดีขึ้นไป ร้อยละ 95.85 คน 4.กลยุทธ์โรงเรียนดีมีคุณภาพตามมาตรฐาน ของโรงเรียนวัดสิงห์ ฉบับปรับปรุง ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ โครงการ ตัวชี้วัดความสำเร็จ

Article Details

How to Cite
คำสำรวย เ. (2024). การบริหารเพื่อการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนวัดสิงห์ ด้วยกลยุทธ์โรงเรียนดีมีคุณภาพตามมาตรฐาน. วารสารการบริหารการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษา, 4(3), 96–109. https://doi.org/10.2822.EAI202431552
บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ.(2561).กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561. ราชกิจจานุเบกษา. เลม 135 ตอนที่ 11 ก. หน้า 12-38.

กิติมา ปรีดีดิลก. (2542). การบริหารและการนิเทศการศึกษาเบื้องต้น. อักษราพิพัฒน์.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2546). การคิดเชิงกลยุทธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 4). ซัคเซส มีเดีย.

จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2561). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. ทวีพริ้นท์ (1991) จำกัด.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(1), 7-19.

ต่อศักดิ์ บุญเสือ. (2561). กลยุทธ์การบริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. รายงานการวิจัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2. (เอกสารอัดสำเนา).

ถิรฉัตร คงจันทร์. (2560). รายงานการพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาของโรงเรียนสตรีภูเก็ต. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2539). การวางแผนเชิงกลยุทธ์. คณะกรรมการปฏิรูประบบราชการสำนักนายกรัฐมนตรี.

ธงชัย สันติวงษ์. (2537). กลยุทธ์การจัดการ. รุ่งแสงการพิมพ์.

นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์. (2557). หลักการและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. ตีรณสาร.

ปียานันต์ บุญธิมา. (2561). การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียนวัดห้วยม้าโก้ง ด้วยแนวคิดแบบไคเซ็น. งบประมาณสนับสนุนสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ปีงบประมาณ 2561.

พิมพ์นารา เสาวนิต. (2562). รูปแบบการบริหารระบบการประกนัคุณภาพสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2553). การวิจัยพัฒนารูปแบบ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร. 2(4), 9-11.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2559). การวิจัยและพัฒนาการศึกษาไทย. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 8(2), 1-18.

สมคิด บางโม. (2552). องค์การและการจัดการ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). วิทยพัฒน์.

สมพงษ์ จุ้ยศิริ. (2545). กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ ในประมวลสาระชุดวิชา การวางแผนกลยุทธ์ และการควบคุม

เล่ม 1. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2559) .คู่มือการประเมินคุณภาพ ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). คู่มือการดำเนินงานตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษา.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2552). คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม. ออฟเซ็ท พลัส จำกัด.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2554). แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

สุนันทา ศรีพุฒ. (2563). การพัฒนารูปแบบการนำผลการประเมินคุณภาพภายในไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

อารีรัตน์ ดิษฐปาน. (2563). การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนเอกชนจังหวัดกระบี่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

อุทัย บุญประเสริฐ. (2545). การศึกษาแนวทางการบริหารและการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School - Based Management). คุรุสภา.

David, F. R. (2007). Strategic management. Prentice-Hall International.

Good C.V. (1993). Dictionary of Education. McGraw-Hill.

Hoy, W. K. & Miskel, C. G. (2001). Education and Administration Theory, Research and Practice. McGraw Hill.

Inalegwu, O. M. (2018). Strategies for Enhancing Quality Assurance in Business Education Programme in Federal Colleges of Education in Kano State for Sustainable Development. Nigerian Journal of Business Education, 5(1).

Massie, J.L. & Douglas, J. (1981). Management : A Contemporary Introduction. 3rd ed. Englewood Cliffs.

Okoro, P. E. (2018). Perceived Strategies for Enhancing Quality Assurance in Business Education in Delta State. Journal of Science, Technology & Education (JOSTE), 6(1), 231-237.