การจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ : แนวทางสำคัญ สู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาประเทศญี่ปุ่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ เป็นแนวทางสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ได้รับการยอมรับและมีผลเป็นที่ประจักษ์ เนื่องจากการศึกษาที่ดีมีคุณภาพย่อมต้องเกิดจากการเตรียมความพร้อมอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ การจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ ซึ่งควรมุ่งส่งเสริม พัฒนา และสร้างสรรค์บริบทการเรียนรู้และพื้นที่ทางการเรียนรู้ ให้เอื้อต่อการพัฒนาผู้เรียนอย่างรอบด้าน โดยอาศัยสภาพแวดล้อมที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เท่าทันการเปลี่ยนแปลง และส่งเสริมผู้เรียนในทุกช่วงเวลา ทั้งนี้ ประเทศญี่ปุ่นได้เห็นความสำคัญของการจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ดังกล่าว ทั้งสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ภายในและภายนอกชั้นเรียน สิ่งเหล่านี้ส่งผลที่ดีต่อคุณภาพการศึกษา ทั้งในด้านครูผู้สอนที่มีความพร้อมในการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมและพัฒนา ด้านผู้เรียนที่มีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในทุกมิติ รวมทั้งด้านสถานศึกษาที่มีสภาพแวดล้อมที่สำคัญต่อการเรียนรู้อย่างอิสระและตรงจุดมุ่งหมายที่กำหนด การจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ดังกล่าว จึงช่วยขัดเกลา เสริมสร้าง และพัฒนาให้คุณภาพการศึกษาของประเทศญี่ปุ่นได้รับการยอมรับในระดับสากล และคุณภาพผู้เรียนที่ถูกหล่อหลอมขึ้นจากสภาพแวดล้อมที่ทำให้เกิดการพัฒนาเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศ เปรียบได้กับแนวทางและกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศญี่ปุ่นให้มีคุณค่าและความหมายที่สำคัญต่อการศึกษา ดังผลเป็นที่ประจักษ์ในปัจจุบัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เจนจิรา จำปี. (2558). การบริหารจัดการชั้นเรียน. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2567. จาก https://www. sites.google.com/site/darunsitpattanarangsan/sara-na-ru/kar-rakankhunphaph-sthan-suksa.
ธเนศ ขำเกิด. (2533). การจัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ดีในโรงเรียน. มิตรครู, 8(4), 30-35.
ไพฑูรย์ ศรีฟ้า. (2555). หลักการบริหารโรงเรียน. กรุงเทพ ฯ : ไทยวัฒนาพาณิช.
วรรณชาติ สิทธิชัย. (2554). หลักการจัดการทั่วไป. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2567. จาก http://www.wch.ac.th/business/ap-uploadfile/20130806125317_Tzp8BH.pdf
แอนนา บรรเทาพล. (2552). การศึกษาการจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียนเทศบาลเมืองจันทบุรี 2 สังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยบูรพา.