การพัฒนาโปรแกรมการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบร่วมกับแนวทางการพัฒนากรอบความคิด เพื่อเสริมสร้างกรอบความคิดเติบโต และความเป็นนวัตกร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาโปรแกรมการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบร่วมกับแนวทางการพัฒนากรอบความคิด (2) สร้างและตรวจสอบคุณภาพของโปรแกรม ฯ (3) ทดลองใช้โปรแกรม ฯ และ (4) ประเมินผลโปรแกรม ฯ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 31 คน ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการ โปรแกรม ฯ คู่มือการใช้โปรแกรมฯ แบบบันทึกภาคสนาม แบบประเมินกรอบความคิดเติบโต แบบประเมินความเป็นนวัตกร แบบบันทึกการเรียนรู้ และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเข้าร่วมโปรแกรม ฯ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ t-test Dependent Samples และ t-test one Samples ผลการวิจัยพบว่า
1) ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาโปรแกรม ฯ ประกอบด้วย สภาพปัญหาและความต้องการ สาระการเรียนรู้ และกระบวนการส่งเสริมกรอบความคิดเติบโตและความเป็นนวัตกร 2) โปรแกรม ฯ ประกอบไปด้วย 5 องค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ สาระการเรียนรู้ กระบวนการจัดการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล (3) นักเรียนมีกรอบความคิดเติบโตหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองใช้โปรแกรม ฯ อย่างมีนัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีคะแนนความเป็นนวัตกรของนักเรียนหลังการทดลองใช้โปรแกรมคิดเป็นร้อยละ 83.40 ซึ่งมีค่าสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (4) นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ของโปรแกรม ฯ อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
ขัติยา ปิยะรังสี, ศักดา สวาทะนันทน์, น้ำผึ้ง อินทะเนตร,และ อุไรวรรณ หาญวงค์. (2565). คุณลักษณะของนวัตกรรุ่นเยาว์. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 22(2), 438–458. https://doi.org/10.14456/lartstu.2022.30
ชนิตา รุ่งเรือง และเสรี ชัดแช้ม. (2559). กรอบความคิดเติบโต: แนวทางใหม่แห่งการพัฒนาศักยภาพมนุษย์. วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา: 14(1), 1-13.
ดวงเดือน อ่อนน่วม. (2529). รูปแบบโปรแกรมการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ในชั้นประถมศึกษา. รายงานการวิจัย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นภาภรณ์ เจียมทอง และเปรมพล วิบูลย์เจริญสุข. (2566).การจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้ความคิดเชิงออกแบบสำหรับนักเรียนประถมศึกษา. Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(4), 572 - 586
รัฐนันท์ รถทอง และมลรักษ์ เลิศวิลัย. (2565). การศึกษาออนไลน์และการศึกษาแบบผสมผสาน. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(1), 417 – 429
วสันต์ วรรณรัตน์. (2564). การพัฒนาโปรแกรมการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาไทยตามแนวทาง การออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากลส าหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต (การศึกษาพิเศษ). มหาวิทยาลยัศรีนครนิทรวิโรฒ
วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (2562). การถอดบทเรียนเพื่อการเปลี่ยนแปลง. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2567, จาก http://www.curriculumandlearning.com/upload/Books/Lesson Learned toTransform_1577326265.pdf
ศิริพร รุ่งสุวรรณ. (2559). ผลของโปรแกรมการฝึกทักษะชีวิต เพื่อลดการดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นนอกระบบการศึกษาที่มีพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ จังหวัดนครนายก. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สงัด อุทรานันท์. (2532). พื้นฐานและหลักการพัฒนาหลักสูตร. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มิตรสหาย
ดลฤดี บุญชู และศรสลัก นิ่มบุตร. (2563). โปรแกรมจิตวิทยาเชิงบวกกับการเสริมสร้างการปรับตัวทางสังคมของนักเรียนที่เปลี่ยนผ่านจากประถมศึกษาสู่มัธยมศึกษา. วารสารราชพฤกษ์, 21(2), 32 – 48.
Anderson, M.J. (2006). Distance-Based Tests for Homogeneity of Multivariate Dispersions. Biometrics, 62, 245-253. https://doi.org/10.1111/j.1541-0420.2005.00440.x
Boyle. (1981). Planning Better Programs. McGraw-Hill Book Company, New York, U.S.A.
Chance, R.C. (2014). The Relationship Between Mindset, Goal Orientation, and Happiness Among Minority Science Students (Master’s thesis). California: California State University.
Dweck, C. S. (2006). Mindset: The New Psychology of Success. New York: Random House Publishing Group. https://adrvantage.com/wp-content/uploads/2023/02/Mindset-The-New-Psychology-of-Success-Dweck.pdf
Joyce, B. and M. Weil. (1996). Models of teaching. Boston: Allyn and Bacon
Piaget, J. (1960). The General Problem of the Psychobiological Development of the Child. In J. Tanner, & B. Inhelder (Eds.), Discussions on Child Development (Vol. 4, pp. 3e27). London: Tavistock.
The Standford d.school Bootcamp Bootleg (HPI). (2010). Check this out — It’s the d.school bootcamp bootleg. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2567, จาก https://hpi.de/fileadmin/user_upload/fachgebiete/d-school/documents/01_GDTW-Files/bootcampbootleg2010.pdf
Tim Brown. (2018). Design Thinking. Harvard Business Review 86(6) :84-92, 141