ศาสตร์แห่งการตีความและการประยุกต์ในสังคมไทย

Main Article Content

เสรี พงศ์พิศ

บทคัดย่อ

บทความนี้ต้องการเสนอความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับศาสตร์แห่งการตีความ (hermeneutics) ซึ่งเป็นทั้งปรัชญาและวิธีวิทยาที่มีความสำคัญในการเข้าใจชีวิต สังคม โลก อดีตและปัจจุบัน เป็นฐานคิดเพื่อการกำหนดอนาคต ด้วยวิสัยทัศน์ที่อยู่บนความเป็นจริง ซึ่งล้วนแต่มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่เป็นบริบท  ศาสตร์แห่งการตีความมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่งไม่ได้ตั้งคำถามเพียงว่าอะไรเป็นอะไร ในลักษณะเป็นการบรรยาย (descriptive) หรืออธิบาย (explain) แต่เป็นการตีความ (interpret) เป็นการตั้งคำถามและหาคำตอบว่า “ทำไม” จึงจะเข้าใจส่วนอื่น ๆ โดยเฉพาะ “อย่างไร” เป็นกระบวนการเข้าถึงความหมายลึกกว่าพื้นผิว ซึ่งไม่ได้ใช้แต่เพียง “เหตุผล” เท่านั้น แต่ ใช้ “ความรู้สึกนึกคิด” องค์รวมของคน และเข้าใจทั้งองคาพยพ ซึ่งเป็นอะไรมากกว่าทุกส่วนประกอบรวมกัน จุดอ่อนของงานวิจัยทั่วไปในเมืองไทย คือ ขาดกรอบมโนทัศน์ (conceptual framework) ซึ่งมีสาเหตุมาจากไม่มีฐานคิดทางปรัชญาที่หนักแน่นชัดเจน ซึ่งทำให้วิธีวิทยาวิจัยหละหลวมไปด้วยนับเป็นจุดอ่อนของวงการศึกษาไทยในทุกระดับ โดยเฉพาะการวางรากฐานตั้งแต่ประถม มัธยม และอุดมศึกษา เห็นข้อจำกัดนี้มากที่สุดในวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ที่มักเน้นแต่ “รูปแบบ” ซึ่งแม้แต่ชื่อก็มักเริ่มด้วยคำนี้ ทำให้ละเลย “เนื้อหาและกระบวนการ” ซึ่งต้องมีเครื่องมือหรือคอนแซปต์ที่ดี เหมือนการสร้างบ้านหลังใหญ่จะมีเพียงค้อนกับเลื่อยคงไม่พอ ต้องมีเครื่องมืออื่น ๆ เช่นเดียวกับงานวิจัยที่ต้องมีคอนแซปต์จำนวนมาก เพื่อกำหนด “กรอบ เกณฑ์ ตัวชี้วัด” ได้อย่างเหมาะสม ทำให้ไปถึงผลลัพธ์ที่ต้องการ ได้ข้อสรุปที่สังเคราะห์เป็นแนวคิดใหม่ หรือมุมมองใหม่ได้

Article Details

How to Cite
พงศ์พิศ เ. (2023). ศาสตร์แห่งการตีความและการประยุกต์ในสังคมไทย. วารสารปราชญ์ประชาคม, 1(1), 12–41. สืบค้น จาก https://so12.tci-thaijo.org/index.php/watmahasawat_jsc/article/view/270
บท
บทความวิชาการ

References

เดวิด โบห์ม. (2550). ว่าด้วยความสร้างสรรค์. สวนเงินมีมา.

พจน์ สะเพียรชัย และคณะ. (2555). อุดมศึกษาเพื่อชีวิตและชุมชน. เจริญวิทย์การพิมพ์.

พุทธทาสภิกขุ. (2557). ภูเขาแห่งวิถีพุทธธรรม. อมรินทร์.

_______. (2515). ภาษาคน ภาษาธรรม (พิมพ์ครั้งที่4). สุขภาพใจ.

_______. (2528). ใจความแห่งคริสตธรรมเท่าที่พุทธบริษัทควรทราบ. สวนอุศมมูลนิธิ.

เสรี พงศ์พิศ. (2529). คืนสู่รากเหง้า. เทียนวรรณ.

_______. (2555). ปรัชญาชีวิตคิดนอกกรอบ. พลังปัญญา.

_______. (2525). ปรัชญาประวัติศาสตร์ของเฮเกล. คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

_______. (2523). มาร์ติน ไฮเดกเกอร์ ปรัชญาคืออะไร. คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

_______. (2533). ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการพัฒนาชนบท (เล่ม1-2). อมรินทร์ปริ้นท์ติ้ง.

_______. ภูมิปัญญาชาวบ้าน. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เล่ม 19

_______. (2548). ร้อยคำที่ควรรู้. พลังปัญญา.

_______. (2550). เศรษฐกิจพอเพียงเกิดได้ถ้าใจปรารถนา. พลังปัญญา.

Beaufret, J. (1977). Erinnerung an Heidegger. Verlag Guenter.

Derrida, J. (2013). Deconstruction from phenomenology to ethics. Polity Press.

Dilthey W. (2016). Selected works. vol.1-6, Princeton University Press.

_______. (2021). The essence of philosophy. Hassell Street Press.

_______. (2021). Philosophy of existence: Introduction to Weltanschauungslehre. Hassell

Street Press.

Eleade M. (2018). The myth of the eternal return: Cosmos and history. (2nd ed.). Princeton University Press.

Foucault M. (1980) Power knowledge: Selected interviews and other writings 1972-1977. Pantheon Books.

_______. (1982). The archaeology of knowledge: And the discourse on language. vintage.

Gadamer Hans-Georg. (1975). In John Cumming & Garret Barden (Eds.), Truth and method. Bloomsbury Publishing.

_______. 1976. In David Linge (Ed.), Philosophical hermeneutics. Berkeley: University of California Press.

Heidegger Martin. (1976). Was ist das die philosophie?. Verlag Guenter Neske Pfullingen.

_______. (1962). Being and time. Harper & Row Edition, 1962 reprint 2019 แปลจาก

Sein und Zeit.

Hegel Friedrich. (1977). Phenomenology of sprit. Oxford University Press.

Husserl Edmund. (2014). Ideas for a pure phenomenology and phenomenological philosophy: First book: General introduction to pure phenomenology. Hackett Publishing Company.

Pascal Blaise. (2011). Pensées. CreateSpace Independent Publishing Platform.

Ricoeur Paul. (1974). The conflict of interpretation: Essays in hermeneutics. Northwestern University Press,

_______. (1981). Hermeneutics and human sciences essays on language, action, and interpretation. ed., trans John B. Thompson Cambridge University Press.

_______. (1978). Existence and hermeneutics. In Charles E. Reagan, & David Stewart (Eds.), The philosophy of Paul Ricœur: An anthology of his work. Beacon Press.

Schleiermacher. (1996). On religion: Speeches to its cultured despisers. (2nd ed.). Cambridge University Press.

Seri Phongphit, (1978). The problem of religious language: A study of Buddhadasa Bhikhu and Ian Ramsey, as models for mutual understanding of Buddhism and Christianity. Munich University.

Seri Phongphit. (1987). Back to the roots. Bangkok.

Wittgenstein Ludwig. (2010). Tractatus logico-philosophicus. Book Jungle.

Wittgenstein Ludwig. (2009). Philosophical investigation (4th ed.). Wiley-Blackwell.