ไตรสิกขากับการส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์ไทย บริบทต่างประเทศ : กรณีศึกษา วัดนวมินทรราชูทิศ เฉลิมพระเกียรติ นครบอสตัน สหรัฐอเมริกา

Main Article Content

ณัฐพัชร สายเสนา
ฐิติวัสส์ สุขป้อม
เริงวิชญ์ นิลโคตร
ณัฏฐกรณ์ ปะพาน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์นำเสนอการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสหรัฐอเมริกาได้รับการสนับสนุนและเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีการนำหลักการ "ไตรสิกขา" (ศีล สมาธิ ปัญญา) มาใช้เป็นแนวทางหลักในการเผยแผ่และปฏิบัติธรรม ผลการศึกษาพบว่า 1. ด้านศีล การจัดกิจกรรมทางศาสนาและโปรแกรมอบรมที่เน้นการสร้างคุณธรรมและจริยธรรมในสังคมอเมริกัน 2. สมาธิ การฝึกจิตผ่านการเจริญสติและสมาธิได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย มีการเปิดศูนย์ปฏิบัติธรรมและสอนสมาธิทั้งในรูปแบบดั้งเดิมและออนไลน์ และ 3. ด้านปัญญา มีการส่งเสริมการศึกษาพุทธธรรมผ่านการจัดสัมมนา บรรยาย งานวิจัย และการตีพิมพ์หนังสือ งานเขียนต่าง ๆ การเผยแผ่พระพุทธศาสนานี้ยังได้ประโยชน์จากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศและการสนับสนุนจากองค์กรระหว่างประเทศ ส่งผลให้เกิดการขยายตัวและมีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตของพุทธศาสนิกชนในต่างประเทศ การปรับตัวให้เข้ากับสภาพการณ์ในท้องถิ่นช่วยให้พระพุทธศาสนาเข้าถึงและได้รับการยอมรับในวงกว้าง การปฏิบัติศีลเน้นการควบคุมกาย วาจา ใจ ซึ่งช่วยสร้างสังคมที่มีคุณธรรมและจริยธรรม การฝึกสมาธิเป็นการพัฒนาจิตใจให้มีความมั่นคงและสงบสุข ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีในสังคมที่มีความเครียดสูง การส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนาผ่านการเผยแผ่ธรรมะช่วยเสริมสร้างความเข้าใจในหลักธรรมและการสร้างสัมพันธภาพในสังคม การปรับตัวให้เข้ากับบริบทท้องถิ่นส่งผลให้พระพุทธศาสนาเข้าถึงและได้รับการยอมรับในวงกว้าง ทั้งนี้ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยใช้หลักไตรสิกขาได้สร้างผลกระทบเชิงบวกในด้านสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมือง และการดำเนินชีวิตชาวพุทธในสหรัฐอเมริกา

Article Details

How to Cite
สายเสนา ณ., สุขป้อม ฐ., นิลโคตร เ., & ปะพาน ณ. (2025). ไตรสิกขากับการส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์ไทย บริบทต่างประเทศ : กรณีศึกษา วัดนวมินทรราชูทิศ เฉลิมพระเกียรติ นครบอสตัน สหรัฐอเมริกา . วารสารปราชญ์ประชาคม, 3(1), 86–101. สืบค้น จาก https://so12.tci-thaijo.org/index.php/watmahasawat_jsc/article/view/1750
บท
บทความวิชาการ

References

คมชัดลึก. (2553). หน่อพันธุ์พุทธฯ ในมะกัน จากมุม...พระครูวิเทศพรหมคุณ (พระ ดร.มหาวินัย).

https://www.komchadluek.net/amulet/62096

คมชัดลึก. (2557). วัดนวมินทรราชูทิศ'ในดินแดนพระบรมราชสมภพ'ในหลวง.

https://www.komchadluek.net/amulet/187197

เดลินิวส์ออนไลน์. (2567). สมโภชการพัทธสีมา 10 ปี “วัดนวมินทรราชูทิศ” วัดไทยต่างแดนใหญ่สุดในโลก... .

https://www.dailynews.co.th/news/3545160/

ตัวแทนคณะสงฆ์รูปที่ 1. (22 มิถุนายน 2567). ไตรสิกขากับการส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนาของคณะ

สงฆ์ไทยบริบทต่างประเทศ: กรณีศึกษาวัดนวมินทรราชูทิศ เฉลิมพระเกียรติ นครบอสตัน

สหรัฐอเมริกา. (ณัฐพัชร สายเสนา, ผู้สัมภาษณ์)

ตัวแทนคณะสงฆ์รูปที่ 2. (22 มิถุนายน 2567). ไตรสิกขากับการส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนาของคณะ

สงฆ์ไทยบริบทต่างประเทศ: กรณีศึกษาวัดนวมินทรราชูทิศ เฉลิมพระเกียรติ นครบอสตัน

สหรัฐอเมริกา. (ณัฐพัชร สายเสนา, ผู้สัมภาษณ์)

ตัวแทนคณะสงฆ์รูปที่ 3. (22 มิถุนายน 2567). ไตรสิกขากับการส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนาของคณะ

สงฆ์ไทยบริบทต่างประเทศ: กรณีศึกษาวัดนวมินทรราชูทิศ เฉลิมพระเกียรติ นครบอสตัน

สหรัฐอเมริกา. (ณัฐพัชร สายเสนา, ผู้สัมภาษณ์)

ตัวแทนพุทธศาสนิกชน คนที่ 1. (22 มิถุนายน 2567). ไตรสิกขากับการส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนาของ

คณะสงฆ์ไทยบริบทต่างประเทศ: กรณีศึกษาวัดนวมินทรราชูทิศ เฉลิมพระเกียรติ นครบอสตัน

สหรัฐอเมริกา. (ณัฐพัชร สายเสนา, ผู้สัมภาษณ์)

ตัวแทนพุทธศาสนิกชน คนที่ 2. (22 มิถุนายน 2567). ไตรสิกขากับการส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนาของ

คณะสงฆ์ไทยบริบทต่างประเทศ: กรณีศึกษาวัดนวมินทรราชูทิศ เฉลิมพระเกียรติ นครบอสตัน

สหรัฐอเมริกา. (ณัฐพัชร สายเสนา, ผู้สัมภาษณ์)

ไทยรัฐออนไลน์. (2567). จิตใหม่ชีวิตใหม่ กุญแจไขชีวิตปี 2567.

https://www.thairath.co.th/news/local/2752322

พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). (2539). ธรรมกับการศึกษาของไทย (พิมพ์ครั้งที่ 6). มูลนิธิพุทธธรรม.

_______. (2545). พระธรรมทูตไทย เบิกทางสู่อารยธรรมใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 5). มูลนิธิพุทธธรรม.

โพสต์ทูเดย์. (2553). วัดนวมินทรราชูทิศ วัดไทยใหญ่ที่สุดใน U.S.A.

https://www.posttoday.com/lifestyle/300765

ภาณุพงศ์ ไทยใหญ่. (2563). พระพุทธศาสนาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์. วารสารปรัชญาปริทรรศน์, 25(1),

-79.

วิทยาลัยพระธรรมทูต. (2567). ประวัติความเป็นมาวิทยาลัยพระธรรมทูต.

https://odc.mcu.ac.th/?page_id=712

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2560). การศึกษา เพื่อพัฒนาอารยธรรมให้สมนาม สยามสาม ไตรศึกษา 3 พัฒนา 4, (พิมพ์ครั้งที่ 14). มูลนิธิพุทธธรรม.

_______. (2561). การศึกษาเริ่มต้น เมื่อคน ... กินอยู่เป็น (พิมพ์ครั้งที่ 11). กระทรวงศึกษาธิการ.

_______. (2561). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 31). โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ

ราชวิทยาลัย.

_______. (2562). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย (พิมพ์ครั้งที่ 53). สำนักพิมพ์ทบพัน.

สมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา. (2567). ทำเนียบวัดที่สังกัดสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา.

https://thectu.org/

อุทิส ศิริวรรณ. (2560). สถานการณ์พระพุทธศาสนาในโลกตะวันตก. ธรรมธารา วารสารทางพระพุทธศาสนา,

(2), 80-141.

Gethin, R. (1998). The foundations of Buddhism. Oxford University Press.

Harvey, P. (2013). An introduction to Buddhism: Teachings, History and Practices. Cambridge University Press.

Keown, D. (2013). Buddhism: A very short introduction. Oxford University Press.

McMahan, D. L. (2008). The making of Buddhist modernism. Oxford University Press.