สันติภาพกับพุทธศาสนา: การพิจารณาเชิงแนวคิดจากมุมมองของโยฮัน กัลตุง

Main Article Content

ณัฐพล จารัตน์

บทคัดย่อ

บทความนี้วิเคราะห์บทบาทของพุทธศาสนาในการสร้างสันติภาพผ่านกรอบแนวคิดของโยฮัน กัลตุง โดยเปรียบเทียบแนวคิดของพุทธศาสนาและกัลตุง พุทธศาสนาเน้นสันติภาพภายในผ่านการลดกิเลสและพัฒนาจิตใจ ซึ่งเป็นรากฐานของสันติภาพภายนอก ขณะที่กัลตุงเสนอแนวคิดสันติภาพเชิงบวกโดยการลดความรุนแรงทางตรง ความรุนแรงเชิงโครงสร้างและเชิงวัฒนธรรม เพื่อสร้างสังคมที่เป็นธรรม และสำรวจความเป็นไปได้ในการบูรณาการแนวคิดทั้งสองเพื่อพัฒนาสันติภาพในสังคมพหุวัฒนธรรม


          โดยพบว่าพุทธศาสนามีข้อจำกัดในบริบทสังคมสมัยใหม่ที่ซับซ้อน ขณะที่แนวคิดของกัลตุงช่วยเสริมให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างมิติทางจิตวิญญาณและสังคม นอกจากนี้ บทความนี้ได้พิจารณาถึงศักยภาพของพุทธศาสนาในการเป็นเครื่องมือแก้ไขความขัดแย้งและลดความรุนแรง พร้อมทั้งวิเคราะห์จุดแข็งและข้อจำกัดของการประยุกต์ใช้แนวคิดดังกล่าว การผสมผสานแนวคิดของกัลตุงและพุทธศาสนานำไปสู่กรอบวิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นสำหรับการสร้างสันติภาพในสังคมที่หลากหลาย ทั้งยังสามารถนำไปใช้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงความขัดแย้งและการสร้างสันติภาพอย่างยั่งยืนในระดับประเทศและสากล

Article Details

How to Cite
จารัตน์ ณ. (2025). สันติภาพกับพุทธศาสนา: การพิจารณาเชิงแนวคิดจากมุมมองของโยฮัน กัลตุง. วารสารปราชญ์ประชาคม, 3(1), 43–57. สืบค้น จาก https://so12.tci-thaijo.org/index.php/watmahasawat_jsc/article/view/1683
บท
บทความวิชาการ

References

กนกพร กลิ่นดอกแก้ว และอดิพล เอื้อจรัสพันธุ์. (2565). ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม: ภาพสะท้อนการถูก

กดทับจากการเรียนรู้ทางสังคมในสังคมไทย. วารสารสุทธิปริทัศน์, 36(1), 1-24.

โคทม อารียา. (1 กันยายน 2567). โคทม อารียา: รำลึกถึงอาจารย์ด้านสันติวิธี โยฮัน กัลตุงและชัยวัฒน์

สถาอานันท์. มติชนออนไลน์. https://www.matichon.co.th/columnists/news_4767659.

เดโชพล เหมนาไลย. (2552). ความรุนแรง: มุมมองจากพุทธศาสนา. วารสารศิลปศาสตร์, 9(2), 155-201.

พระปราโมทย์ วาทโกวิโท (พันธพัฒน์), พระมหาดวงเด่น ฐิตญาโณ (ตุนิน), พระมหาวีระศักดิ์ อภินนฺทเวที

(แสงพงษ์) และสุวรรณี ฮ้อแสงชัย. (2562). วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(10), 4697-4710.

พระมหาหรรษา ธมมหาโส. (2559). สันติศึกษา: พุทธวิถีสู่สันติภาพโลก. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร,

(พิเศษ), 1-9.

พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ. (5 สิงหาคม 2558). นิพพาน: อัตตาหรืออนัตตา?. มหาวิทยาลัยมหาจุฬา

ลงกรณราชวิทยาลัย. https://www.mcu.ac.th/article/detail/14267#:~:text=(๑)%20สอุ

ปาทิ,ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ".

ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี. (2567). ต้นแบบสันติภาพและสันติศึกษาในกรอบคิดของ Johan Galtung:

ความรุนแรงทางตรง ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง และความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม. วารสาร

ความขัดแย้งและ สันติศึกษา, 3(1), 1-15.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2561). พระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพโลก (พิมพ์ครั้งที่ 2).

วัดญาณเวศกวัน.

Johan Galtung. (1967). Theories of Peace: A Synthetic Approach to Peace Thinking. Retrieved

from https://www.transcend.org/files/Galtung_Book_unpub_Theories_of_Peace_- _A_Synthetic_Approach_to_Peace_Thinking_1967.pdf.

Johan Galtung. (1969). Violence, Peace, and Peace Research, Journal of Peace Research,

(3), 167-191.

Johan Galtung. (1985). Peace and Buddhism. Retrieved from

https://www.transcend.org/galtung/papers/Peace%20and%20Buddhism.pdf.

Junichiro Tanabe. (2016). Buddhism and Peace Theory: Exploring a Buddhist Inner Peace.

International Journal of Peace Studies, 21(2), 1-14.

Nathasha Fernando. (2018). Peace in Sri Lanka in a state of decadence. Retrieved from

https://www.ivint.org/peace-in-sri-lanka/.

Sabine Kurtenbach. (2017). No one size fits all – A global approach to peace. Retrieved from

https://www.giga-hamburg.de/en/publications/giga-focus/no-one-size-fits-all-a-

global-approach-to-peace.

Theresa Der-Ian Yeh. (2006). The Way to Peace: A Buddhist Perspective. International Journal

of Peace Studies, 11(1), 91-112.