กระบวนทัศน์ใหม่ในสถานการณ์โควิด-19 บนพื้นฐานหลักธรรมาภิบาล

Main Article Content

ศรุตานนท์ ชอบประดิษฐ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนทัศน์ใหม่ ซึ่งเป็นตัวกำหนดเงื่อนไขครอบงำความคิดของบุคคลในการกำหนดปัญหาและวิธีที่ใช้ในการวิจัยและอยู่ในบริบททางสังคม วัฒนธรรมความนิยมต่างๆ ครอบคลุม ซึ่งสถานการณ์ใหม่ๆ นั้น ได้จึงจำเป็นต้องปรับหาแนวคิดและหามุมมองใหม่ๆ เพื่อจะสามารถอธิบายปรากฏการณ์อันใหม่ได้คือ เวลาที่ต้อง “ปฏิรูป” แนวคิดใหม่สร้างทฤษฎีใหม่และวิธีการประเมินใหม่ๆ


          กระบวนการปฏิบัติตามแนวคิด AIC ได้แก่ 1) A: Appreciation คือ “การทำให้ทุกคนเกิดการยอมรับและชื่นชมคนอื่นโดยไม่รู้สึกหรือแสดงการต่อต้านหรือวิพากษ์วิจารณ์”ในกระบวนการขั้นนี้ทุกคนจะมีโอกาสแสดงออกอย่างทัดเทียมกันด้วยภาพข้อเขียนและคำพูดว่าเขาเห็นสถานการณ์ในปัจจุบันเป็นอย่างไรและเขาอยากจะเห็นความสำเร็จในอนาคตเป็นอย่างไรซึ่งจะทำให้ทุกคนมีโอกาสใช้ข้อเท็จจริงเหตุผลและความรู้สึกตลอดจนการแสดงออกในลักษณะต่างๆตามข้อเท็จจริง 2) I: Influence คือการใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่แต่ละคนมีอยู่มาช่วยกันกำหนดวิธีการสำคัญหรือยุทธศาสตร์ (Strategy) ที่จะทำให้บรรลุวิสัยทัศน์ร่วมหรืออุดมการณ์ร่วมของกลุ่มได้อย่างดีที่สุด ในขั้นนี้ทุกคนมีโอกาสทัดเทียมกันที่จะให้ข้อคิดเห็นว่า วิธีการสำคัญที่จะทำให้บรรลุวิสัยทัศน์ร่วมหรืออุดมการณ์ร่วมนั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง 3) C: Control คือ การนำ “วิธีการสำคัญ” มากำหนดเป็น “แผนปฏิบัติการ” (Action Plan) อย่างละเอียดว่า ทำอะไร มีหลักการและเหตุผลอย่างไรมีกำหนดเวลาอย่างไร ใครรับผิดชอบเป็นหลัก ใครต้องให้ความร่วมมือจะต้องใช้งบประมาณค่าใช้จ่ายเท่าไร จากแหล่งใด จะมีรายได้จากการดำเนินงานดังกล่าวหรือไม่ ถ้ามีประมาณเท่าไร และรายละเอียดอื่นๆ ตามที่เห็นว่าควรระบุไว้ในขั้นนี้ สมาชิกกลุ่มแต่ละคนจะเลือกเองว่า สมัครใจจะเป็นผู้รับผิดชอบหลักในเรื่องใด จะเป็นผู้ให้ความร่วมมือในเรื่องใด จะเป็นผู้ร่วมคิดแผนปฏิบัติการข้อใด เป็นการกำหนด “ข้อผูกพัน” (Commitment) ให้ตนเองเพื่อ “ควบคุม” (Control)ให้เกิดการกระทำอันจะนำไปสู่การบรรลุผลที่เป็นเป้าหมายหรืออุดมการณ์ร่วมกันของกลุ่มในที่สุด ดังนั้นในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในปัจจุบันนั้น เป็นกระบวนทัศน์ใหม่กับสถานการณ์ของผู้นำและผู้ร่วมงานของภาครัฐเพื่อบรรลุผลสำเร็จบนพื้นฐานหลักธรรมาภิบาลต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมควบคุมโรค.(2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php. [20 พฤศจิกายน 2563].

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.(2558). รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทยปี 2558. กรุงเทพฯ: บริษัท เท๊กซ์แอนเจอร์นัลพับบลิเคชั่น จำกัด.

เจตวัชร์ พาตา. (2550). กระบวนการจัดการชมรมผู้สูงอายุโดยประยุกต์ใช้การจัดการของ Henri Fayol ร่วมกับเทคนิคการวางแผนแบบมีส่วนร่วม (A-I-C) ในเขตเทศบาลอากาศอำนวยจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ประเวศ วะสี. (2557). กระบวนทัศน์ใหม่กับการเรียนรู้ของชุมชน. กรุงเทพฯ: โครงการ เสริมสร้างการเรียนรู้ เพื่อชุมชนเป็นสุข.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศรุตานนท์ ชอบประดิษฐ์. (2563). วิกฤตโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างไร. วารสารชัยภูมิปริทรรศน์, 3(2), 1-14.

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์.(2556). ผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพจากหลากทัศนะ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http ://suthep.ricr.ac.th [20 มีนาคม 2556].

Bass, B.M., & Avolio, B.J. (1993). Transformational leadership: A response to critiques. In M.M.

Bass, B.M., & Avolio, B.J. (2006). Transformational leadership. Mahwah, NJ: Erlbaum.

Kuhn, T.S. (1970). The structure of scientific revolutions. 2nd Edition, Chicago Uni. The University of Chicago Press.