วารสารสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม https://so12.tci-thaijo.org/index.php/src <p><strong>ISSN:</strong> 2822-1117 (Online)</p> <p><strong>กำหนดออก :</strong> 2 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม </p> <p><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ :</strong> วารสารฯ มีนโยบายรับตีพิมพ์บทความคุณภาพสูงทางด้านสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม รวมถึงสหวิทยาการด้านการศึกษา โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ คณาจารย์ นักศึกษาและนักวิจัยทั้งในและนอกสถาบันการศึกษา</p> <p><strong>คำชี้แจงในการตีพิมพ์เผยแพร่บทความ</strong></p> <p>1. บทความที่ส่งมารับการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จะต้องไม่เคยตีพิมพ์มาก่อน หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารหรือแหลงวิชาการอื่นๆ</p> <p>2. ทุกบทความจะได้รับการตรวจสอบทางวิชาการจาก<strong>ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) จำนวน 3 ท่าน</strong> ในลักษณะปกปิดความลับของทั้งสองฝ่าย (Double blinded)</p> <p>3. ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีข้อผูกพันด้วยประการใดๆ ทั้งปวง</p> th-TH [email protected] (Phramaha Samart Thanissaro, Dr.) [email protected] (Dr.Natiprada Chaisin) Sun, 24 Dec 2023 21:13:43 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 กิจกรรมส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ เรื่องอาณาจักรไทยสมัยรัตนโกสินทร์สาระประวัติศาสตร์โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านปรอผาโด้ จังหวัดตาก https://so12.tci-thaijo.org/index.php/src/article/view/722 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อหาประสิทธิภาพบทเรียนสำเร็จรูปเรื่องอาณาจักรไทยสมัยรัตนโกสินทร์ สาระประวัติศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านปรอผาโด้ จังหวัดตาก ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนเรื่องประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้สื่อพัฒนา การเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระประวัติศาสตร์ เรื่องประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระประวัติศาสตร์ เรื่อง ประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัย นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านปรอผาดโด้ กิจกรรมส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ เรื่องอาณาจักรไทย สมัยรัตนโกสินทร์ สาระประวัติศาสตร์ โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านปรอผาโด้ จังหวัดตาก สังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษาประถมศึกษา ตาก เขต 2 จำนวน 33 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ (1) บทเรียนสำเร็จรูปวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระประวัติศาสตร์เรื่อง อาณาจักรไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 3 ชุด (2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง อาณาจักรไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน(4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมส่งเสริมทักษะการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระประวัติศาสตร์ เรื่องอาณาจักรไทยสมัยรัตนโกสินทร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านปรอผาโด้ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และ t-test (Dependent Samples)</p> <p><strong> ผลการวิจัยพบว่า</strong></p> <p> 1) การจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป สาระประวัติศาสตร์ เรื่อง อาณาจักรไทยสมัยรัตนโกสินทร์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผลการวิจัยปรากฏ พบว่านวัตกรรมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 91.70 /90.15 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป สาระประวัติศาสตร์ศาสตร์ เรื่อง อาณาจักรไทยสมัยรัตนโกสินทร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป สาระประวัติศาสตร์ เรื่อง อาณาจักรไทย สมัยรัตนโกสินทร์ โดยรวมอยู่ที่ระดับ มาก ( = 4.15, S.D. = 0.75)</p> สายใจ มหาศาลพิพัฒน์, พัชรี ไกรเกรียงนิยม, จิรายุ โพชี, สุพรรญา สิทธิ์วิไล, ณทิพรดา ไชยศิลป์ Copyright (c) 2023 วารสารสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so12.tci-thaijo.org/index.php/src/article/view/722 Sun, 24 Dec 2023 00:00:00 +0700 การศึกษาเชิงวิเคราะห์สุขภาวะทางปัญญาตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง https://so12.tci-thaijo.org/index.php/src/article/view/713 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สุขภาวะทางปัญญาตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลางรูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์เนื้อหา และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า สุขภาวะทางปัญญาตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง เป็นความสุขที่เกิดจากวิจารณญาณ ได้แก่ สร้างสรรค์ ปรับตัว ร่วมมือ และแสวงหา ในระดับพื้นฐานเป็นความสุขที่เกิดจากการไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ในระดับกลางเป็นความสุขจากการสงเคราะห์เกื้อกูลตนเองและผู้อื่นโดยธรรม ในระดับสูงเป็นความสุขที่เกิดจากที่เกิดจากแก้ปัญหาได้ พัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองและผู้อื่นได้ด้วยวิจารณญาณ</p> อิทธิศักดิ์ เลอยศพรชัย Copyright (c) 2023 วารสารสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so12.tci-thaijo.org/index.php/src/article/view/713 Sun, 24 Dec 2023 00:00:00 +0700 การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือเทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดดอนไก่ดี จังหวัดสมุทรสาคร https://so12.tci-thaijo.org/index.php/src/article/view/723 <p> การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาชุดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 80/80 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ได้รับจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบร่วมแรงร่วมใจ 3) เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนให้เป็นผู้ที่มีความสุข ก้าวทันต่อโลกยุคใหม่ และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพสังคมที่ตนเองอยู่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ตลอดจนชุดกิจกรรมและแบบฝึกหัดต่างๆ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียน และแบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่า (t-test แบบ Dependent)</p> <p> จากการศึกษาการเรียนการสอนแบบร่วมแรงร่วมใจเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมถึงปรับพฤติกรรมนักเรียนที่ขาดความรับผิดชอบในการเรียนของชั้นเรียน จากการสังเกตนักเรียนก่อนการใช้การสอนแบบร่วมแรงร่วมใจมีค่าคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ที่ 12.58 คะแนน แต่หลังจากการใช้การสอนแบบร่วมแรงร่วมใจทำให้คะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 15.38 คะแนน ซึ่งเพิ่มขึ้น 2.80 คะแนน คิดเป็นร้อยละที่เพิ่มขึ้น 22.19% และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนสอบเท่ากับ 2.12 ซึ่งลดลงจากเดิม 0.26 ทำให้ข้อมูลที่ได้มีการกระจายตัวที่ลดลงแสดงถึงคุณภาพของข้อมูลที่ดีผู้เรียนมีคะแนนเกาะกลุ่มใกล้เคียงกันมากขึ้นส่งผลต่อการพัฒนาการเรียนในด้านอื่นๆ ซึ่งจะทำให้สอนทักษะ ต่างๆ ได้ง่ายขึ้น</p> วัชรากร เกตุรักษ์, พระมหาอานนท์ จตฺตมโล, พระครูพิสิฏฐ์สรคุณ, ธิดาพร พรมดวงศรี, ณทิพรดา ไชยศิลป์ Copyright (c) 2023 วารสารสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so12.tci-thaijo.org/index.php/src/article/view/723 Sun, 24 Dec 2023 00:00:00 +0700 การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สื่อ Power Point ประกอบการสอน เรื่องวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านปรอผาโด้ จังหวัดตาก https://so12.tci-thaijo.org/index.php/src/article/view/724 <p>งานวิจัยฉบับนี้ มีจุดมุ่งหมาย (1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สื่อ Power Point ประกอบการสอน เรื่องวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สื่อ Power Point ประกอบการสอน เรื่องวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านปรอผาโด้ จังหวัดตาก ปีการศึกษา 2565 โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกต ข้อมูลด้านการเรียน และการทดลองใช้สื่อการสอนกับนักเรียน</p> <p> การใช้แรงจูงใจโดยเสริมแรงบวกโดยให้คำชมเชยแก่นักเรียนรวมทั้งดูแลด้านการเรียนให้มีความสนใจในการอ่านและสนใจในการเรียน และติดตามจากการเข้าสอนทำให้นักเรียนมีความกระตือรือร้น ต่อการเรียนมากขึ้น มีความเอาใจใส่ต่อการเรียน รับผิดชอบและสนใจเรียนมากขึ้น ทำให้บรรยากาศการเรียน ภายในห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตั้งใจเรียนและมีผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้น</p> อเนชา บุญเกตุ, สุภัทร เกษตานุภาพ, กมลพรรณ แสนอยู่, เสาวลักษณ์ พัฒนอาชา, ณทิพรดา ไชยศิลป์ Copyright (c) 2023 วารสารสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so12.tci-thaijo.org/index.php/src/article/view/724 Sun, 24 Dec 2023 00:00:00 +0700 การศึกษาเชิงวิเคราะห์พุทธธรรมเชิงประสบการณ์สำหรับพัฒนาสุขภาวะทางปัญญา https://so12.tci-thaijo.org/index.php/src/article/view/714 <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์พุทธธรรมเชิงประสบการณ์สำหรับพัฒนาสุขภาวะทางปัญญารูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์เนื้อหา และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า พุทธธรรมเชิงประสบการณ์มีกระบวนการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาด้วยการนำหลักธรรมมาปฏิบัติ สำรวจจิตใจตนเอง เข้าใจ ยอมรับ เพื่อนำไปสู่การปล่อยวางซึ่งทิฏฐิมานะ เป็นเหตุให้เกิดการเปิดใจที่จะรับฟังและทำความเข้าใจวิถีการปฏิบัติของคนอื่น กลุ่มอื่น ศาสนาอื่น โดยอาศัยรูปแบบกิจกรรมที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดพื้นที่แห่งการเรียนรู้ร่วมกัน นำไปสู่การสร้างสรรค์ ปรับตัว ร่วมมือ และแสวงหา องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัย ได้แก่ SATI MODEL ประกอบด้วย S = Survey (สำรวจ) A = Analysis (วิเคราะห์ความเป็นไปได้) T = Tools (เครื่องมือ) I = Inner Transformation (อำนวยการเรียนรู้เพื่อให้เข้าถึงคุณค่าและศักยภาพในตัวเองจากการตระหนักรู้ภายใน)</p> วัชรารัศมิ์ สุนทรวนาเวศ ฌ Copyright (c) 2023 วารสารสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so12.tci-thaijo.org/index.php/src/article/view/714 Sun, 24 Dec 2023 00:00:00 +0700 “ฮีตสิบสอง” ความร่วมสมัยแห่งวิถีชีวิตชาวอีสาน https://so12.tci-thaijo.org/index.php/src/article/view/566 <p>อดีตส่องปัจจุบันปัจจุบันส่องอนาคตเช่นเดียวกับสังคมและวัฒนธรรมย่อมมีการเปลี่ยน แปลงอยู่ตลอดเวลาเพราะความต้องการของมนุษย์ไม่มีที่สิ้นสุดและสภาพแวดล้อมก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆแต่การเปลี่ยนแปลงจะเร็วหรือช้านั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยที่มาเกี่ยวข้องกันเช่นเดียวกับประเพณีฮีตสิบสองนั้นก็เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาฮีตสิบสองความร่วมสมัยแห่งวิถีชีวิตชาวอีสานเป็นการเอาคำสอนพระพุทธศาสนามาผสมผสานให้เข้ากับวิถีชีวิตของชาวอีสานในการอยู่ร่วมกันในสังคมปัจจุบัน</p> <p> ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของฮีตสิบสองในสังคมปัจจุบันคือสังคมหลังยุคโควิดการเปลี่ยนแปลงทางการสื่อสารตามกระแสโลกในปัจจุบันที่เทคโนโลยีและอินเทอร์เนตเข้ามามีบทบาทในชีวิตของมนุษย์เราผู้คนสามารถเชื่อมต่อและติดต่อสื่อกันได้อย่างไร้พรมแดน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือคนในสังคมปัจจุบัน มีปฏิสัมพันธ์แบบตัวต่อต่อหรือมีความใกล้ชิดกันน้อยลงแม้จะอยู่ท่ามกลางผู้คนจำนวนมากมีเพื่อนนับร้อยคนในโซเชียลมีเดียแต่ผู้คนกลับรู้สึกเหงาและรู้สึกเหมือนกับว่าอยู่คนเดียวมากขึ้นทุกวันจึงส่งผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงฮีตสิบสองต่อวิถีในชุมชนชาวบ้านเห็นว่าความมีน้ำใจไมตรีของในชุมชนลดลงสัมพันธภาพของสมาชิกในครอบครัวก็เปลี่ยนแปลงไปและการเคารพนับถือกันน้อยลงซึ่งแท้การนำฮีตสิบสองมาเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาสังคมนั้นจึงเหมาะสมซึ่งทุกคนควรร่วมมือกันเพื่อสร้างชุมชนให้เป็นชุมชนต้นแบบอันจะส่งผลให้มีการสร้างงานเกิดขึ้นในชุมชนผลของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมต่อฮีตสิบสองในสังคมปัจจุบันมีมากขึ้นเนื่องจากการสื่อสารในสังคมปัจจุบันฮีตสิบสองคือคำตอบและเหมาะสมกับสังคมสมัยใหม่</p> พระมหานิพิฐพนธ์ จิรวฑฺฒโน Copyright (c) 2023 วารสารสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so12.tci-thaijo.org/index.php/src/article/view/566 Sun, 24 Dec 2023 00:00:00 +0700 กระบวนทัศน์ใหม่ในสถานการณ์โควิด-19 บนพื้นฐานหลักธรรมาภิบาล https://so12.tci-thaijo.org/index.php/src/article/view/785 <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนทัศน์ใหม่ ซึ่งเป็นตัวกำหนดเงื่อนไขครอบงำความคิดของบุคคลในการกำหนดปัญหาและวิธีที่ใช้ในการวิจัยและอยู่ในบริบททางสังคม วัฒนธรรมความนิยมต่างๆ ครอบคลุม ซึ่งสถานการณ์ใหม่ๆ นั้น ได้จึงจำเป็นต้องปรับหาแนวคิดและหามุมมองใหม่ๆ เพื่อจะสามารถอธิบายปรากฏการณ์อันใหม่ได้คือ เวลาที่ต้อง “ปฏิรูป” แนวคิดใหม่สร้างทฤษฎีใหม่และวิธีการประเมินใหม่ๆ</p> <p> กระบวนการปฏิบัติตามแนวคิด AIC ได้แก่ 1) A: Appreciation คือ “การทำให้ทุกคนเกิดการยอมรับและชื่นชมคนอื่นโดยไม่รู้สึกหรือแสดงการต่อต้านหรือวิพากษ์วิจารณ์”ในกระบวนการขั้นนี้ทุกคนจะมีโอกาสแสดงออกอย่างทัดเทียมกันด้วยภาพข้อเขียนและคำพูดว่าเขาเห็นสถานการณ์ในปัจจุบันเป็นอย่างไรและเขาอยากจะเห็นความสำเร็จในอนาคตเป็นอย่างไรซึ่งจะทำให้ทุกคนมีโอกาสใช้ข้อเท็จจริงเหตุผลและความรู้สึกตลอดจนการแสดงออกในลักษณะต่างๆตามข้อเท็จจริง 2) I: Influence คือการใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่แต่ละคนมีอยู่มาช่วยกันกำหนดวิธีการสำคัญหรือยุทธศาสตร์ (Strategy) ที่จะทำให้บรรลุวิสัยทัศน์ร่วมหรืออุดมการณ์ร่วมของกลุ่มได้อย่างดีที่สุด ในขั้นนี้ทุกคนมีโอกาสทัดเทียมกันที่จะให้ข้อคิดเห็นว่า วิธีการสำคัญที่จะทำให้บรรลุวิสัยทัศน์ร่วมหรืออุดมการณ์ร่วมนั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง 3) C: Control คือ การนำ “วิธีการสำคัญ” มากำหนดเป็น “แผนปฏิบัติการ” (Action Plan) อย่างละเอียดว่า ทำอะไร มีหลักการและเหตุผลอย่างไรมีกำหนดเวลาอย่างไร ใครรับผิดชอบเป็นหลัก ใครต้องให้ความร่วมมือจะต้องใช้งบประมาณค่าใช้จ่ายเท่าไร จากแหล่งใด จะมีรายได้จากการดำเนินงานดังกล่าวหรือไม่ ถ้ามีประมาณเท่าไร และรายละเอียดอื่นๆ ตามที่เห็นว่าควรระบุไว้ในขั้นนี้ สมาชิกกลุ่มแต่ละคนจะเลือกเองว่า สมัครใจจะเป็นผู้รับผิดชอบหลักในเรื่องใด จะเป็นผู้ให้ความร่วมมือในเรื่องใด จะเป็นผู้ร่วมคิดแผนปฏิบัติการข้อใด เป็นการกำหนด “ข้อผูกพัน” (Commitment) ให้ตนเองเพื่อ “ควบคุม” (Control)ให้เกิดการกระทำอันจะนำไปสู่การบรรลุผลที่เป็นเป้าหมายหรืออุดมการณ์ร่วมกันของกลุ่มในที่สุด ดังนั้นในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในปัจจุบันนั้น เป็นกระบวนทัศน์ใหม่กับสถานการณ์ของผู้นำและผู้ร่วมงานของภาครัฐเพื่อบรรลุผลสำเร็จบนพื้นฐานหลักธรรมาภิบาลต่อไป</p> ศรุตานนท์ ชอบประดิษฐ์ Copyright (c) 2023 วารสารสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so12.tci-thaijo.org/index.php/src/article/view/785 Sun, 24 Dec 2023 00:00:00 +0700 กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ https://so12.tci-thaijo.org/index.php/src/article/view/520 <p> กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์คือการจัดการศึกษาให้ทันสมัยไม่ให้ผู้เรียนเบื่อการเรียนในวิชาประวัติศาสตร์เป็นการนำแนวคิดแบบใหม่ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการปฏิรูปการศึกษาในปัจจุบัน ด้วยมุมมองที่ว่าผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันและต่างก็มีเอกลักษณ์ของตนดังนั้น การจัดหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ย่อมต้องมีการปรับเปลี่ยนให้คำนึงถึงลักษณะดังกล่าวการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วสร้างความวิตกกังวลและความไม่มั่นคงในหมู่ผู้สอน</p> <p> ซึ่งถือเป็นความท้าทายที่จะเรียนรู้กลยุทธ์ใหม่ในฐานะที่เป็นผู้นำการศึกษา ครู อาจารย์ต้องยอมรับที่จะเรียนรู้และแก้ปัญหาที่อาจจะเกิดจากทฤษฎีใหม่ๆ ที่เข้ามาอย่างมีสติ ครูต้องเป็นตัวอย่างของผู้ที่มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต การศึกษาจะต้องเรียนรู้วิธีการคิดนอกกรอบและพัฒนามากขึ้น งานของผู้สอนไม่ได้เป็นเพียงแค่ปรับแต่งสภาพที่เป็นอยู่ถ้าหากจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนในระบบโรงเรียนเราควรจะแสวงหาความจริงจากหลายมิติในฐานะที่เป็นมนุษย์เรามีความซับซ้อนหลายแง่มุมชีวิตที่ไม่สามารถจำกัดอยู่เพียงรูปแบบเดียว มนุษย์ชอบความจริงแต่ก็ต้องอาศัยอยู่บนของการเรียนรู้จากความหลากหลายของแหล่งที่มา ขณะเดียวกันครูผู้สอนควรจะได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบใหม่ๆเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะนำไปสู่การพัฒนาทักษะของมนุษย์ของพวกเขา อีกทั้งผู้สอนต้องเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกับชุมชนที่หลากหลายมากขึ้นและเห็นพ่อแม่เป็นแหล่งของการเรียนรู้และการสนับสนุนมากกว่าการแทรกแซง</p> พระปรัชญา ชยวุฑฺโฒ (ถิ่นแถว) Copyright (c) 2023 วารสารสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so12.tci-thaijo.org/index.php/src/article/view/520 Sun, 24 Dec 2023 00:00:00 +0700 การแก้ปัญหาทางสังคมเพื่อการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน https://so12.tci-thaijo.org/index.php/src/article/view/519 <p>การเปลี่ยนแปลงทางสังคมในปัจจุบันทำให้การดำรงชีวิตยากขึ้นหากเราไม่สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมสมัยใหม่ได้เนื่องจากสังคมปัจจุบันนั้นมีการแข่งขันกันสูงมากไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจในระดับครัวเรือน ระดับชุมชนและระดับประเทศเพื่อแก้ปัญหาความอยู่รอดของครอบครัวทำให้เราต้องเรียนรู้ในเรื่องเทคโนโลยีที่เราไม่คุ้นเคย เพราะปัญหาในสังคมปัจจุบันคนที่ล้าหลังคือคนที่ไม่ยอมปรับตัวและยอมรับในสิ่งใหม่ๆหากเราต้องการที่จะแก้ปัญหาในการดำรงชีวิตในสังคมปัจจุบันเราต้องเรียนรู้ทั้งเศรษฐกิจ การตลาด การผลิต เพื่อพัฒนาต่อยอดทางความคิดที่จะนำไปสู่สังคมที่ยั่งยืนและสามารถไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้</p> <p> ทำให้ชุมชนต้องนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันทั้งในครอบคัวและส่งเสริมให้ชุมชนเรียนรู้ในการใช้เทคโนโลยีเพราะการสร้างอัตลักษณ์ของชุมชนสมัยใหม่หลังจากวิกฤตโควิด-19ทำให้ผู้คนหันไปสนใจการซื้อขายผ่านออนไลน์ไม่ว่าจะเป็นการท่องเทียวการซื้อสินค้าในชุมชนหรือส่งเสริมท้องถิ่นในการเป็นแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นนั้นๆ เป็นการสร้างอัตลักษณ์ชุมชนให้เข้มแข็งส่งเสริมการมีงานทำ ทำให้คนรุ่นใหม่ไม่ย้ายถิ่นฐานสู่สังคมเมืองเพราะการแก้ปัญหาทางสังคมที่ยั่งยืนเริ่มต้นที่ครอบครัว</p> พระฉลวย เทวสโร (บุญม่วง) Copyright (c) 2023 วารสารสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so12.tci-thaijo.org/index.php/src/article/view/519 Sun, 24 Dec 2023 00:00:00 +0700